พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย

พัฒนาการทารก 4 เดือน ลูกน้อยวัย 4 เดือนสามารถทำอะไรได้บ้าง? ควรเล่นอะไรกับลูกวัยนี้ดี และวิธีเช็คพัฒนาการของลูกน้อยว่าเติบโตสมวัยหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารก 4 เดือน เสริมพัฒนาการเด็ก 4 เดือน ลูกน้อยในวัยนี้จะเริ่มตัวใหญ่ขึ้นแล้ว เขาจะแสดงออกมากขึ้นไม่ว่าจะการยิ้มหรือหัวเราะ ร่างกายที่จ้ำม่ำมากขึ้น เพราะน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จนคุณอดที่จะหอมซักฟอดไม่ได้ แล้วทักษะและพัฒนาการของลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มาดูกันค่ะ

 

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 4 เดือน

ในวัยนี้ทารกจะมีการพัฒนาการทางด้านร่างกายอย่างรวดเร็วอย่างที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน คอก็จะแข็งมากขึ้น ความพยายามในการพยุงศีรษะให้อยู่นิ่ง โดยใช้ข้อศอกดันเข้ากับพื้น หรือความพยายามในการเอามือน้อย ๆ เข้าปาก เห็นอะไรก็อยากจะชิมอยากลิ้มลอง พ่อแม่ต้องระวังไว้ให้ดี อย่าให้ของชิ้นเล็กชิ้นน้อยอยู่ใกล้ตัวลูกเด็ดขาด รวมถึงของเล่นมีเสียง ของเล่นเขย่า โมบายแขวนน่ารัก ๆ หากลูกน้อยชอบหรือสนใจก็อาจจะหยิบเอาเข้าปากได้

เด็กบางคนยังชอบอะไรวิบ ๆ วับ ๆ อย่างเครื่องประดับของคุณแม่ เช่น ต่างหู สร้อยคอ หรือแม้แต่นาฬิกา เวลาที่พ่อหรือแม่อุ้มก็อดใจไม่ได้ที่จะคว้ามาอม หรือส่องจ้องดูอย่างสงสัย ที่ลูกเป็นแบบนี้ เพราะว่าเขาเริ่มมีความคล่องแคล่ว และมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อบริเวณมือที่ดีขึ้นในช่วง พัฒนาการทารก 4 เดือน

 

 

1.พัฒนาการทางความคิด ความรู้ ความเข้าใจ เด็ก 4 เดือน

ไม่ใช่แค่ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ด้านความรู้ความเข้าใจลูกน้อยก็ยังมีพัฒนาการที่รวดเร็วด้วยเช่นกันจนบางทีคุณต้องประหลาดใจ เพราะเขาสามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้ว่า มีความสุข ชอบหรือไม่ชอบ หรือเสียใจ นั่นแสดงว่าลูกน้อยจะสามารถแสดงความรักต่อพ่อแม่ได้บ่อยขึ้น เวลาที่คุยกับลูกคุณก็จะได้เห็นรอยยิ้มที่น่ารักไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ เด็กยังสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ได้ดีขึ้น การประสานงานระหว่างสายตากับมือก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำความรู้จักกับคนรอบข้างได้ และรู้ว่าตอนนี้ทุกคนกำลังเรียกชื่อเขาอยู่และรู้ว่าใครกำลังพูดด้วย

 

2.พัฒนาการทางสังคม ของทารก 4 เดือน

เมื่อลูกน้อยเข้าใจอารมณ์ต่างๆ มากขึ้น รู้จักแสดงความรักซึ่งเป็นพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ทำให้เขาลูกจักที่จะแสดงอารมณ์และตอบสนองอารมณ์ของตัวเองออกมาไม่ว่าจะยิ้มบ่อยขึ้น หัวเราะมากขึ้น กลายเป็นเด็กอารมณ์ดีในทุกๆ วัน การแสดงออกมานี้ ยังมาพร้อมกับน้ำตาด้วยในบางสถานการณ์

เคยไหมที่เล่นกับลูกอยู่แล้วมีคนโทรเข้ามา หรือต้องหยุดไปทำอย่างอื่น พฤติกรรมที่พ่อแม่เปลี่ยนไปฉับพลันนี่เองที่อาจทำให้ลูกเสียใจและร้องไห้ออกมา เพราะเขาต้องการที่จะเล่นสนุกกับคุณต่อนั่นเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อีกหนึ่งสิ่งที่พ่อแม่จะเห็นว่าลูกน้อยทำได้ดีคือ การเลียนแบบ ไม่ว่าคุณจะทำหน้าแบบไหน มีท่าทางยังไง หรืออาการแบบไหน โดยเฉพาะท่าทางที่ปรากฎบนให้หน้าของคุณ ลูกน้อยก็จะจดจำและเลียนแบบมันออกมา ลองทำดูสิคะ

 

 

3.พัฒนาการสื่อสาร ของทารกวัยนี้

ก่อนจะพูดอะไรกับลูกหรืออยากให้ลูกพูดออกมาอย่างไร ต้องอย่าลืมว่าส่วนหนึ่งมาจากการซึมซับพฤติกรรมมาจากพ่อแม่ แม้แต่การร้องเพลงก็เช่นกัน และเสียงเพลงนี้แหละที่จะเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งบอกว่าเสียงเพลงจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีการพูดได้เร็วขึ้น โดยคุณอาจจะร้องระหว่างอาบน้ำให้ลูก หรือจับลูกมาวางบนตักแล้วร้องก็ได้นะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำพูดที่ใช้กับลูกก็ควรเป็นคำง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น ขอบคุณ ขอ ถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่เข้าใจความหมายในตอนนี้ แต่ในอนาคตลูกน้อยจะเข้าใจคำเหล่านี้แน่นอนค่ะ

 

โภชนาการของทารก 4 เดือน

มีคุณหมอหลายท่านบอกว่าควรให้ลูกน้อยได้กินอาหารเสริมเมื่ออายุ 6 เดือน แต่คุณก็สามารถฝึกให้ลูกกินอาหารเสริมเร็วกว่านั้นได้ หากปรึกษาคุณหมอแล้ว เนื่องจากความพร้อมของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน หากคุณแม่ต้องการจะฝึกให้ลูกกินอาหารเสริมตั้งแต่วัยนี้ แนะนำให้คุณจับที่ศีรษะลูกก่อน แล้วเริ่มตักอาหารเข้าปาก ซึ่งอาหารที่ให้ลูกนั้นควรมีธาตุเหล็กและนมแม่เป็นส่วนประกอบด้วยค่ะ

 

กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ กิจกรรมเล่นกับลูก เสริมพัฒนาการทารก 4 เดือน

1.เอื้อมมือให้สุดแขน

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกสามารถยกแขนทั้งสองข้าง ขึ้นมาเล่นโดยเหยียดแขนออกห่างจากลำตัว
  • อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ: กรุ๋งกริ๋ง
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
    1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้าง ๆ
    2. คุณแม่ยื่นหน้าเข้าไปพูดคุยกับลูกหรือยื่นของเล่นในระยะที่ลูกจะเอื้อมมือไปถึง หรือแขวนโมบายให้ลูกเล่นในระยะที่ลูกเอื้อมมือถึง

 

2.ไกวไปไกวมา

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกสามารถมองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้เป็นมุม 180 องศา
  • อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ : ลูกบอลผ้าสักหลาดสีแดง
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
    1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงายโดยศีรษะอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัว
    2. คุณแม่ถือของเล่น ห่างจากหน้าลูกประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด)
    3. คุณแม่เขย่าหรือแกว่งของเล่นเพื่อกระตุ้น ให้ลูกสนใจจ้องมอง จากนั้นเคลื่อนของเล่น อย่างช้า ๆ เป็นแนวโค้งไปทางด้านซ้าย
    4. ทําซ้ำโดยเปลี่ยนเป็นเคลื่อนของเล่นจากทางด้านซ้ายไปด้านขวา
    5. ถ้าลูกยังไม่มองตาม ให้คุณแม่ช่วย ประคองหน้าลูกเพื่อให้หันหน้ามามองตาม

 

3.เสียงมหาสนุก

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกสามารถหันตามเสียงได้
  • อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ : กรุ๋งกริ๋ง (ชนิดเสียงดัง)
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
    1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย หรืออุ้ม ลูกนั่งบนตัก โดยหันหน้าออกจากคุณแม่
    2. เขย่าของเล่นด้านข้างลูก ห่างจากลูก ประมาณ 30 – 45 ซม. (1 ไม้บรรทัดครึ่ง)
    3. รอให้ลูกหันมาทางของเล่นที่มีเสียง ให้คุณแม่พูดคุยและยิ้มให้ลูก
    4. ถ้าลูกไม่หันมามองของเล่น ให้ประคองหน้าลูกเพื่อให้หันตามเสียง
    5. ค่อยๆ เพิ่มระยะห่างจนถึง 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด) หมายเหตุ ขณะฝึกอย่าให้มีเสียงอื่นรบกวน

 

 

4.สัมผัสรัก

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกสามารถเปล่งเสียง เพื่อแสดงความรู้สึก
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
    1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูกในระยะห่างประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
    2. คุณแม่พูดคุย เล่น หัวเราะกับลูก หรือ สัมผัสจุดต่าง ๆ ของร่างกายลูก เช่น ใช้นิ้วมือ สัมผัสเบา ๆ ที่ฝ่าเท้า ท้อง เอว หรือใช้จมูก สัมผัสหน้าผาก แก้ม จมูก ปากและท้องลูก โดยการสัมผัสแต่ละครั้ง ควรมีจังหวะหนัก เบา แตกต่างกันไป

 

5.รักยิ้ม

  • ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกยิ้มทักคนที่คุ้นเคย วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
    1. คุณแม่ยิ้มและพูดคุยกับลูก เมื่อทํากิจกรรมต่างๆ ให้ลูกทุกครั้ง
    2. อุ้มลูกไปหาคนที่คุ้นเคย เช่น พ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย คุณแม่ยิ้มทักคนที่คุ้นเคยให้ลูกดู
    3. พูดกระตุ้นให้ลูกทําตาม เช่น “ยิ้มให้คุณพ่อซิลูก” “ยิ้มให้…ซิลูก”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ติดตามพัฒนาการทารกขวบปีแรก

 

 

ที่มาข้อมูล : theAsianparent SG

บทความโดย

Khunsiri