ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดตัวยาวประมาณ 48 ซม. มีน้ำหนักประมาณ 2,800 กรัมแล้วนะ ลูกน้อยใกล้ออกมาเจอคุณพ่อคุณแม่เข้าไปทุกที ระยะนี้คุณแม่จึงมีอาการเจ็บท้องหลอกบ่อย ๆ ช่วงนี้ต้องสังเกตตัวเองดี ๆ ดูว่ามีมูกเลือดออกเยอะหรือไม่ หรือว่ามีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดหรือเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าคุณแม่ใกล้คลอดลูกแล้ว
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 37
- ทารกกลับหัวลงมาแล้ว และ ส่วนหัวตอนนี้อยู่ในตำแหน่งช่องเชิงกราน
- ทารกมีผมยาวประมาณ 3.7 ซม.
- ลูกน้อยจะขยับนิ้วมือได้แล้ว แถมยังชอบดูดนิ้วมือตัวเองด้วย
- ทารกจะเริ่มหายใจโดยการสูดเอาน้ำคร่ำเข้าไป
อาการคนท้อง 37 สัปดาห์
- คุณแม่จะรู้สึกอึดอัด นอนไม่ค่อยหลับ และ กังวลเกี่ยวกับการคลอดลูก หากเป็นไปได้ควรหาเวลาพักผ่อนระหว่างวัน
- ตกขาวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอาการปกติของคนท้อง หากพบว่ามีเลือดออกหรือมูกเลือดแสดงว่าใกล้คลอดลูกแล้ว หากมีเลือดออกมาก ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- จะรู้สึกถึงอาการเจ็บเตือนอยู่บ่อย ๆ แรง และ นานขึ้น
การดูแลตัวเองตอนท้อง 37 สัปดาห์
- ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน เพราะมันจะทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น
- สังเกตการดิ้นของลูกน้อยหรือการเคลื่อนไหวของลูกน้อยหรือไม่ เช่น การเตะ การยืดตัว กลิ้งตัว และ กระดิกนิ้ว หากลูกมีการเคลื่อนไหวน้อยลงควรปรึกษาคุณหมอ
- เตรียมฝึกการหายใจ และ บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเตรียมสำหรับไว้ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ
เรื่องที่ควรทำตอนท้อง 37 สัปดาห์
- จัดเตรียมกระเป๋าสำหรับคลอดลูก เพื่อจะได้หยิบทันทีในกรณีเร่งด่วน
- หาผู้ช่วยในการเลี้ยงลูกน้อยที่กำลังคลอดออกมา
อาการแพ้ท้องคืออะไร และ สาเหตุของการเกิดที่แม่ท้องมือใหม่ควรรู้!
-
อาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร?
อาการแพ้ท้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นในคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ไตรมาสแรก โดยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อาการของแต่ละคนจะมีระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกัน คุณแม่ในรายที่อาการหนักจะหนักถึงขั้นทานอาหารอะไรไม่ได้เลยก็มี โดยปกติแล้ว อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดหลังจากตื่นนอนใหม่ ๆ โดยศัพท์ของทางต่างประเทศนิยมเรียกกันว่า Morning Sickness แต่แท้ที่จริงแล้ว อาการแพ้ท้องในคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะช่วงบ่ายหรือเย็นก็ตาม
-
ระยะเวลาในการแพ้ท้องนานเท่าไหร่
อาการแพ้ท้องมักเกิดในช่วงอายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ และ ยังเกิดยาวนานได้อีกประมาณ 6 – 12 สัปดาห์ ด้วยเพราะฮอร์โมนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ เข้าไปรบกวนระบบทางเดินอาหาร จนทำให้คุณแม่รู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอมหรือบางครั้งก็จะอาเจียนร่วมด้วย
-
อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
อาการคนท้องหลัก ๆ ที่หลายคนรู้กันดีก็คือ อาการแพ้ท้องนั่นเอง โดยมีสาเหตุในการเกิดที่ยังไม่ทราบกลไกชัดเจนแน่นอน หากก็พบว่าอาการคลื่นไส้อาเจียนมักเกิดขึ้นจากภาวะต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับฮอร์โมนซึ่งสร้างขึ้นจากรกที่เรียกว่า Chorionic Gonadotropin เพิ่มระดับขึ้นสูงอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ โดยส่งผลให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้เป็นอย่างมาก แต่ภายหลังจากพ้น 3 เดือนไปแล้ว ระดับฮอร์โมนนี้จะลดระดับลง อาการคลื่นไส้อาเจียนก็จะลดน้อยลงหรือหายไปได้
2. อาการคนท้องในคุณแม่ที่มีปัญหาแพ้ท้องมาก บางท่านอาจเกิดขึ้นจากภาวะการตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์แฝด (สังเกตว่ารกจะใหญ่กว่าปกติ) และ ครรภ์ไข่ปลาอุก (รกเจริญผิดปกติแต่ไม่มีตัวเด็กทารก) โดยทั้งสองภาวะนี้จะมีฮอร์โมนจากรกฝังตัวอยู่ภายในกระแสเลือดของแม่ในปริมาณสูง จนทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากกว่าปกติ และ อาการอาจจะยังเป็นอยู่ต่ออีกได้นานกว่าคนที่ตั้งครรภ์ปกติอีกด้วย
3. คุณแม่มีสภาพจิตใจที่ไม่เป็นปกติ เช่น กลัวการคลอด ไม่อยากมีลูก หรือครอบครัวกำลังประสบปัญหาก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเครียด ทำให้จิตใจย่ำแย่ และ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนออกมา ตรงกันข้าม คุณแม่ที่อยากมีลูกหรือมีความรู้สึกดีใจมาก ๆ ก็อาจมีอาการแพ้ท้องขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
อาการคนท้องไม่ได้มีแค่อาการแพ้ท้องเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์แต่เพียงเท่านั้น แต่บางรายยังสามารถเกิดขึ้นในคุณพ่อที่มักมีอาการแพ้ท้องแทนคุณแม่ได้ด้วย โดยมีสาเหตุการเกิดแบบเดียวกัน นั่นก็คือ เกิดจากสภาพจิตใจของคุณพ่อเอง ซึ่งหากอยากจะมีลูกมาก ๆ หรือแม้แต่วิตกกังวลมากจนเกินไปอาการแพ้ท้องแทนคุณแม่ก็ย่อมเกิดขึ้นได้
ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคน อาจจะมีความกังวลก่อนการคลอดเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ไหนจะกลัวเจ็บ กลัวลูกไม่ปลอดภัย และสิ่งที่หลายคนกังวลอย่างมากก็คือการเลือกวิธีการคลอด ซึ่งวิธีที่คนส่วนใหญ่แนะนำก็คือ “การคลอดแบบธรรมชาติ” โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์จะใช้เวลาในการตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์ นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส คือ
- ไตรมาสแรก คือ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
- ไตรมาสที่ 2 คือ 12 – 28 สัปดาห์
- หลังจากนั้นจะเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ซึ่งถือว่าครบกำหนดตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป
ในระยะนี้คุณแม่อาจมีอาการเจ็บท้องคลอด ซึ่งควรรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ
คลอดธรรมชาติคืออะไร?
คลอดธรรมชาติ หมายถึง การคลอดลูกเองโดยที่แม่เบ่งคลอดลูกเองทางช่องคลอด หรือที่เรียกว่าเป็นการคลอดปกติ วิธีนี้เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่แนะนำเพราะดีต่อทารกและแม่ แต่ก็มีบางกรณีที่แม่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ เช่น เด็กไม่กลับหัว เบ่งไม่ออก หรือแม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจต้องใช้วิธีผ่าคลอด หรือใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วย เช่น คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอดออกมา กรณีนี้มักจะพบในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง เบ่งไม่เป็น หรือลูกหัวหมุนผิดทาง แทนที่จะก้มหัวคลอดออกมา กลับแหงนหน้าออกมาแทน เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณแม่คลอดธรรมชาติ ควรจัดกระเป๋าเตรียมคลอดอย่างไร?
สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณแม่กำลังจะคลอด…
เมื่อคุณแม่ตั้งท้องถึงกำหนดครบอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป ก่อนคลอดก่อนคลอดคุณแม่จะมีอาการเหล่านี้ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่จะคลอดแล้ว หากพบ 1 ใน 4 อาการเหล่านี้แนะนำว่าให้รีบไปโรงพยาบาลทันที
- เจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอดจะมีการบีบ และคลายตัวของมดลูกเป็นจังหวะ ในระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะมีการบีบตัวบ้างเป็นระยะอยู่แล้วเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 แต่เป็นอาการที่มาแล้วหายไป เมื่อไรก็ตามที่มดลูกบีบแล้วคลายต่อเนื่อง บีบประมาณ 45 – 60 วินาที แล้วคลายตัวประมาณ 2 – 3 นาที จนครบ 1 ยกเป็นเวลา 10 นาที ถ้าเป็นแบบนี้ 2 – 3 ยกแสดงว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้วซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังอายุ ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์
- มีมูกออกจากช่องคลอด หรืออาจจะมีเลือดปนออกมา โดยปกติมูกจะอุดอยู่บริเวณปากมดลูก พอมดลูกเปิดมูกที่อยู่ปากมดลูกก็จะหลุดออกมา แสดงว่าปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว
- มีน้ำคร่ำออกมา มีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดน้ำคร่ำมาก เพราะคุณแม่บางคนก็มีน้ำคร่ำมาก บางคนก็น้อย แตกต่างกันไป
- รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวม ! ของเตรียมคลอด ปี 2023 เป็นเซต ครบชุด น่ารัก ราคาไม่แพง
คลอดธรรมชาติดีกับแม่และเด็กอย่างไร?
- ข้อดีสำหรับแม่ที่คลอดธรรมชาติ คือ แม่จะฟื้นตัวได้เร็ว เสียเลือดน้อย และน้ำนมมาเร็ว ในช่วงที่คลอดแม่จะเจ็บมาก แต่เจ็บครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากลูกออกมาแล้วหากแม่แข็งแรงดีก็แทบไม่มีอาการเจ็บอีกเลย
- ข้อดีสำหรับลูก คือ เด็กจะได้ผ่านช่องคลอดของแม่ ซึ่งเป็นช่องทางธรรมชาติที่มีงานวิจัยเชื่อว่าทำให้ปอดของเด็กแข็งแรงกว่าการผ่าตัดคลอด
ข้อดีของการ “คลอดธรรมชาติ”
- คุณแม่มีแผลเล็ก บางคนอาจสงสัยว่าทำไมคลอดเองถึงยังต้องมีแผล นั่นก็เป็นเพราะการคลอดธรรมชาติโดยท้องแรกนั้น ปากช่องคลอดจะมีความยืดหยุ่นไม่เยอะเท่าคนที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว จึงทำให้มีแผลที่ฝีเย็บเพื่อช่วยเปิดช่องทางคลอด ซึ่งส่วนใหญ่แผลจะอยู่ที่ประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสรีระของคุณแม่และขนาดของทารกด้วย
- ฟื้นตัวเร็ว เนื่องจากขนาดของแผลที่เล็ก ส่งผลให้คุณแม่ไม่ได้มีอาการเจ็บมากเหมือนอย่างการผ่าตัดทำคลอด คุณแม่จึงสามารถเคลื่อนไหว ลุก นั่ง เดิน ได้คล่อง การฟื้นตัวก็รวดเร็ว
- ลดภาวะเสี่ยงได้ ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนผ่านของตัวทารกผ่านทางช่องคลอด จะมีการรีดน้ำในช่องอกของทารก ทำให้ช่วยลดภาวะการหายใจเร็วหรือเหนื่อยหอบหลังจากที่คลอดได้
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาว่าทารกจะได้รับ Probiotic มากกว่าการผ่าคลอดทางหน้าท้อง จึงเป็นเหมือนการเสริมสร้างภูมิของทารกในครรภ์ ที่เมื่อคลอดแล้วก็จะมีภูมิอย่างต่อเนื่อง
“คลอดธรรมชาติ” มีข้อเสียอย่างไร?
- ไม่สามารถกำหนดเวลาคลอดได้ เช่น อยากให้ลูกคลอดในวันไหน วันที่เท่าไหร่ของเดือน หรือเวลาช่วงไหนของวัน เพราะต้องรอวันที่คุณแม่รู้สึกเจ็บท้องและ ปากมดลูกเปิดเต็มที่จึงจะคลอดได้
- ต้องรอเวลาคลอด ไม่ใช่ว่าเจ็บท้องมาโรงพยาบาลแล้วจะคลอดได้เลย เพราะในการคลอดนั้นมีทั้งระยะเฉื่อยและระยะเร่ง บางคนเจ็บท้องมาโรงพยาบาลแต่ยังอยู่ในระยะเฉื่อย ปากมดลูกเปิดน้อย ก็แปลว่าอย่างน้อยต้องรออีก 4 – 5 ชั่วโมงเพื่อรอให้ปากมดลูกเปิดถึง 10 เซนติเมตร แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการหดรัดตัวของมดลูก ความกว้างของเชิงกราน น้ำหนักตัว และ ขนาดของทารก ว่าสามารถลอดผ่านทางช่องคลอดทางเชิงกรานได้หรือไม่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
น้ำเดินเป็นแบบไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ด
คลอดธรรมชาติ เจ็บแน่เลย มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?
ที่มา : Bangkok Hospital, mamastory