อายุกับความสามารถในการมีบุตร: ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า

หลายคนมักคิดว่าการมีลูกในช่วงอายุ 30 เป็นช่วงที่เหมาะสม ด้วยฐานะการเงิน หน้าที่การงานที่มั่นคงซึ่งเอื้อให้คุณสามารถสร้างครอบครัวที่ดีได้โดยไม่ต้องกังวล แต่ข่าวร้ายคือความสามารถการตั้งครรภ์ของผู้หญิงในวัยสามสิบตอนต้นและสามสิบตอนปลาย นั้นแตกต่างกันอย่างมาก

ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 30 กว่า

ข้อดีของการตั้งครรภ์วัย 30 กว่า

การมีลูกช่วงอายุสามสิบถือเป็นช่วงที่เหมาะสมทั้งในแง่ของการเงินและในทางปฏิบัติ เนื่องจากคุณได้ทำงานมานานพอสมควร คุณจึงอาจมีรายได้มากกว่าและมีฐานะดีกว่าตอนที่คุณอายุ 20 นอกจากนี้คุณก็ยังมีตารางชีวิตที่ยืดหยุ่นกว่าคนอายุ 40 ซึ่งอาจจะมีตำแหน่งสูงกว่า และอาจไม่สามารถลางานยาว ๆ เพื่อไปมีลูกได้

คุณแม่ในวัย 30 ยังมีแรงพอที่จะเลี้ยงลูกเล็ก ๆ ได้ ผู้หญิงในวัยนี้มักจะรู้จักตัวเองดีกว่าในช่วงวัย 20 อีกทั้งยังสามารถปรับตัวได้ดีกว่าผู้หญิงวัย 40

ข้อเสียของการตั้งครรภ์วัย 30 หน้าถัดไป

ข้อเสียของการตั้งครรภ์วัย 30 กว่า

ช่วงอายุ 35 คือจุดพลิกผันสำคัญในแง่ของการมีลูก ผู้หญิงในช่วงอายุ 30 ต้น ๆ จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากกว่าผู้หญิงในวัย 20 และมีโอกาสที่จะแท้งบุตรหรือเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมมากขึ้น แต่ความสามารถในการมีบุตรของผู้หญิงจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่อายุ 35 เป็นต้นไป ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้ผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี ที่ตั้งครรภ์ตรวจน้ำคร่ำ สุ่มตรวจเนื้อเยื้อรก หรือตรวจครรภ์อย่างละเอียด

นอกจากนี้อัตราเสี่ยงในการแท้งบุตรและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็ยังเพิ่มมากขึ้นตามอายุอีกด้วย ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่ต้องทำการผ่าคลอดสูงกว่าอีกด้วย 40% ของคุณแม่ในวัยนี้มีโอกาสที่ต้องทำการผ่าคลอด เทียบกับ 30% สำหรับคุณแม่ในวัย 20 ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอัตราการผ่าคลอดที่สูงขึ้นมีสาเหตุมาจากปัญหาในการตั้งครรภ์ เช่น ทารกอยู่ในภาวะเครียด หรือปวดท้องคลอดนานเกินไป ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยกว่าในคุณแม่ที่มีอายุมาก

แน่นอนว่าร่างกายของผู้หญิงแต่ละคนก็แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามแพทย์แนะนำว่าถ้าคุณอายุ 35 ปี และต้องการมีบุตร คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการมีมากกว่า 1 คน

 

โอกาสมีลูกสำเร็จ

โอกาสแท้งบุตรจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุ 30 จากประมาณ 15% ในช่วงอายุ 30-34 ปี เป็น 20% ในช่วงอายุ 35-39 ปี โอกาสที่ผู้หญิงในวัย 30 มีจะให้กำเนิดบุตรที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 1 ใน 950 และโอกาสจะเพิ่มเป็น 1 ใน 365 เมื่อคุณอายุ 35 ปี

นอกจากนี้คุณแม่ในวัย 35-39 ปี ยังมีโอกาสได้ลูกแฝดมากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้หญิงวัยอื่น ๆ โดยปกติคุณจะตกไข่ครั้งละ 1 ฟองใน 1 รอบเดือน แต่เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมน FSH (Follical stimulating hormone) ในร่างกายของคุณจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจไปกระตุ้นให้ร่างกายตกไข่มากกว่า 1 ฟอง ดังนั้นถึงแม้ว่าผู้หญิงที่มีอายุมากจะตั้งครรภ์ได้ยากกว่า แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็มีโอกาสได้ลูกแฝดมากกว่าเช่นกัน หลายคนอาจจะอยากได้ลูกแฝดเพราะเหมือนเป็นความสุขคูณสอง แต่ความเป็นจริงแล้วการตั้งครรภ์แฝดจะเพิ่มความเสี่ยงมากมาย

ข้อดีข้อเสีย: ตั้งครรภ์อายุ 20 กว่า

ตั้งครรภ์วัย 40: มีลูกตอนแก่จะดีมั้ยน้อ?

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team