เตือนระวัง 3 ภัยเงียบ อันตรายจากหลอดฟลูออเรสเซนต์! งานวิจัยชิ้นหนึ่งในเยอรมันประกาศเตือนว่า หลอดประหยัดไฟประเภทหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบจะปล่อยไอปรอทกระจายในอากาศสูงถึง 20 เท่า ถ้าหลอดไฟแตก ก๊าซพิษจะรั่วไหลปนเปื้อนในอากาศและสิ่งแวดล้อม องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา (EPA) ถึงกับออกประกาศขั้นตอนการจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่แตกอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันประชาชนจากอันตรายใกล้ตัว เตือนระวัง 3 ภัยเงียบ อันตรายจากหลอดฟลูออเรสเซนต์! คุณพ่อ คุณแม่ อาจคาดไม่ถึง ถึงอันตรายจากหลอดประหยัดไฟประเภทหลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) หลอดฟลูออเรสเซนต์ส่วนประกอบ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ให้แสงสว่างนวลสบายตา มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดแบบมีไส้ (Incandescent lamp) ถึง 8 เท่า และให้ความสว่างมากกว่าในกำลังวัตต์ที่เท่ากัน
หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีส่วนประกอบหลัก คือ แก้ว ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วย ขั้วหลอดทำจากอลูมิเนียม ผงฟอสเฟอร์สำหรับเคลือบผิวหลอดเพื่อการเรืองแสง นอกจากนี้ ภายในหลอดยังบรรจุด้วยสารปรอท จึงทำให้ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย
รู้หรือไม่ หลอดฟลูออเรสเซนต์อาจทำให้…
- เวียนหัว
- ปวดหัวแบบมาเป็นชุด ๆ เวลาเดิมทุกวัน (cluster headache)
- ปวดไมเกรน
- ชัก
- อิดโรย เหนื่อยล้า
- ไม่มีสมาธิ
- มะเร็ง
ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในหลอดฟลูออเรสเซนต์
- สารปรอท
เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย แขวนลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน และสามารถตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน การแตกของหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะทำให้ไอปรอทระเหยออกสู่สิ่งแวดล้อม หากสูดดมเข้าไป จะทำให้สารปรอทเข้าไปสะสมในร่างกาย และเกิดผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ การทิ้งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ รวมไปกับขยะ มูลฝอยทั่วไป จะทำให้สารปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ แพร่กระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อม และหากปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำและเข้าสู่วงจรอาหาร จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก และยากต่อการแก้ไขในภายหลัง
พิษเฉียบพลันเมื่อเข้าสู่ร่างกาย
– เกิดแผลพุพอง
– เนื้อเยื่อภายในอักเสบ มีเลือดออก
– อุจจาระเป็นเลือด
– เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก
– ปวดท้อง และมีอาการอาเจียน
– หมดสติ
พิษเรื้อรัง
– สัมผัสได้ถึงรสโลหะ
– เนื้อเยื่อช่องปากอักเสบ
– เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนเพลีย
– เนื้อเยื่ออวัยวะภายในถูกทำลาย
– ไตเสื่อม ปัสสาวะน้อยหรือปัสสาวะไม่ออก
– ระบบประสาทถูกทำลาย ความจำเสื่อม
– หูเสื่อม ไม่ได้ยินเสียง สายตามัว มองเห็นไม่ชัด พูดจาไม่ชัด ไม่เป็นคำ มือเท้าชา
– มีอาการหงุดหงิด และมีอาการทางจิต
– กล้ามเนื้อใบหน้า มือ และเท้าสั่นกระตุก
– เป็นโรคผิวหนังหรือผดผื่นได้ง่าย
- สารก่อมะเร็ง
งานวิจัยชิ้นใหม่จากแล็บวิจัย ALAB เบอร์ลิน รายงานว่า หลอดประหยัดไฟมีส่วนประกอบที่เป็นสารก่อมะเร็งหลายตัว เช่น
ฟีนอล (phenol) – ผลึกสีขาวที่ได้จากน้ำมันดิน มีฤทธิ์กรดอ่อน มักใช้ในอุตสาหกรรมเคมีหลายประเภท เช่น ยา น้ำยาทำความสะอาด ยากำจัดศัตรูพืช สีย้อม
เนฟทาลิน (Naphthalene) – สารประกอบสีขาวที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิน มีกลิ่นฉุน ระเหิดได้ ใช้ทำลูกเหม็นและเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมี เช่น สี กระดาษสำเนา
สไตริน (Styrene) – สารไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสารตั้งต้นใช้ทำกล่องโฟม
- รังสี UV
หลอดประหยัดไฟปล่อยทั้งรังสี UVB และ UVC ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนังและสายตา รังสีเหล่านี้จะไปรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผิวหนังชะลอการสังเคราะห์วิตามินดี 3 ถ้ามีรังสียูวีสะสมมาก ๆ อาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้
ต้องทำอย่างไรถ้าหลอดฟลูออเรสเซนต์แตก! คลิกอ่านวิธีเก็บซากหลอดไฟที่ถูกต้องในหน้าต่อไปเลยค่ะ
สำคัญมาก ต้องรู้ !!
ถ้าเกิดเผลอทำหลอดประหยัดไฟแตก ห้ามใช้เครื่องดูดฝุ่น ห้ามหยิบเศษหลอดไฟด้วยมือเปล่า ต้องจัดการเก็บกวาดตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ดังนี้
อย่าเพิ่งรีบเก็บ ให้ทุกคน (รวมถึงสัตว์เลี้ยง) ออกจากห้องให้หมดก่อน
- ปิดแอร์ แล้วเปิดประตู หน้าต่างทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที
- เตรียมอุปกรณ์ : เทปกาว กระดาษ และซองพลาสติกแบบซองยา
- ใช้กระดาษโกยเศษแก้วและเศษผงอย่างระมัดระวัง แล้วเก็บเศษผงที่เหลือให้สะอาดหมดจดด้วยเทปกาว จากนั้นนำของทั้งหมดใส่ในซองพลาสติกที่เตรียมไว้
- เอาขยะไปทิ้งในถังขยะอันตราย
- เปิดหน้าต่างทิ้งไว้ให้อากาศระบายต่ออีก 3-4 ชั่วโมง
นอกจากนี้ เราต้องช่วยกันทิ้งหลอดไฟที่เสื่อมสภาพให้ถูกวิธีด้วย ห้ามทิ้งหลอดไฟปนกับขยะทั่วไป เพราะหลอดไฟอาจโดนกระแทกแตกแล้วสารปรอทจะกระจายปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อผู้ที่สัมผัสโดยตรงและผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง วิธีทิ้งที่ถูกต้อง คือ ห่อกระดาษป้องกันอย่างแน่นหนา แล้วทิ้งลงในถังขยะอันตราย รอให้โรงงานกำจัดขยะนำกลับไปรีไซเคิล
หากยังมีข้อสงสัย โปรดคลิกอ่านแนวทางการจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ในประเทศไทย
ที่มา : healthawarenessforall.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
ระวัง! เทียนหอม, น้ำหอมปรับอากาศอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์
ทานยาพาราเซตามอลครั้งละ 2 เม็ด อันตรายที่หลายคนอาจยังไม่รู้
10 น้ำยาซักผ้าเด็ก ฆ่าเชื้อโรค ผ้าหอม ไม่เป็นอันตรายต่อลูก