13 สารเคมีอันตรายที่พบในของเล่นเด็ก!!

เรียกได้ว่า ของเล่นกับเด็กน้อย เป็นสิ่งที่คู่กันมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ว่าได้ ไม่มีบ้านไหนที่มีเด็กแล้วจะไม่มีของเล่น เพราะความสำคัญของเล่นคือประโยชน์ในการช่วยเสริมพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อยได้ดี แต่พ่อแม่ควรระวังถึงแม้ของเล่นจะมีประโยชน์แต่ก็พบอันตรายได้จากของเล่นเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การซื้อของเล่นให้กับลูกน้อย พ่อแม่อาจจะพิจารณาถึงความชอบ ความทีสีสันของของเล่น จนลืมไปว่าไม่ใช่ของเล่นทุกชิ้นที่เหมาะสำหรับลูก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีอายุต่ำว่า 3 ปี เพราะของเล่นบางอย่างมีสารเคมีอันตรายที่อาจส่งผลต่อลูกน้อยได้

13 สารเคมีอันตรายที่พบอยู่ในของเล่นเด็ก!!

ของเล่นต่าง ๆ ที่อาจมีสารเคมีอันตรายปะปน อ่านต่อ >>

ของเล่นต่าง ๆ ที่อาจมีสารเคมีอันตรายปะปน

ตุ๊กตา อาจจะมีสารเคมีอันตรายได้หลากหลาย เนื่องจากตุ๊กตาบางประเภทอาจผลิตจากพลาสติก กำมะหยี่และอุปกรณ์ยัดไส้ด้วยเส้นใย หรือมีส่วนประกอบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตุ๊กตาหมีขนยาวหรือขนสังเคราะห์ที่จะประกอบไปด้วยสารหน่วงการติดไฟ ที่เป็นพิษและแพ้ได้ง่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อตุ๊กตาผ้าหรือตุ๊กตาที่เป็นธรรมชาติ โดยสังเกตจากฉลาก GS ฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก่อนนำมาให้ลูกเล่นควรซักและตากให้แห้ง

ของเล่นไม้ โดยเฉพาะของเล่นไม้ที่กาวเป็นส่วนประกอบ มีแนวโน้มที่จะใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ สารชักเงา สีที่มีตะกั่ว และสารโลหะหนักอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรเลือกของเล่นไม้แบบเรียบ ๆ ที่ไม่ได้ทาสีและเคลือบเงา หรือมีส่วนที่ติดกาวให้น้อยที่สุด

ของเล่นพลาสติก เช่น ของเล่นยางสังเคราะห์ ลูกบอล ของเล่นอาบน้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะอ่อน จะมีสารพทาเลต (Phathalate) ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของฮอร์โมน หรือของเล่นพลาสติกอาจจะมีสารโลหะหนัก และสารพิษอื่นๆ ปนเปื้อนแฝงอยู่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรเลือกของเล่นที่เป็นแบบยางธรรมชาติ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นสารเคมีรุนแรง หรือมองมองหาฉลาก “ปลอดพีวีซี PVC-Free” หรือ “ปลอดสารพทาเลต Phathalate-Free” ก่อนซื้อ

เลือกของเล่นที่ปลอดภัยอย่างไรให้ลูกน้อย

  • อ่านฉลากก่อนซื้อ ดูฉลากและทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน หรือสอบถามพนักงานขายว่าของเล่นชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กช่วงอายุเท่าไร และซื้อของเล่นให้ถูกตามช่วงวัยที่ระบุไว้ดีที่สุด
  • ตรวจดูส่วนประกอบสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งบนฉลากจะมีส่วนประกอบหรือสารเคมีที่ทำของเล่นให้ดูว่า มีส่วนใดที่ทำมาจากสารเคมีที่เป็นพิษบ้างหรือไม่ ของเล่นที่ดีควรไม่มีพิษ เช่น ปราศจากสีเคมี หรือหลีกเลี่ยงของเล่นที่ไม่มีฉลาก ราคาถูก เพราะมักจะมีสารเคมีที่เป็นอันตราย
  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีสารเคมีรุนแรง หรือของเล่นประเภทที่มีกลิ่นหอม
  • เลือกของเล่นชิ้นใหญ่และมีผิวเรียบสำหรับเด็กเล็ก ต้องมั่นใจว่าของเล่นที่ควรให้ลูกน้อยเล่นควรมีขนาดใหญ่กว่ากระดาษทิชชู ซึ่งเกินกว่าที่เด็กจะเอาเข้าปากได้ และของเล่นควรมีลักษณะเป็นผิวเรียบ ไม่มีรอยคมแหลมใด ๆ เพื่อทำให้เกิดอันตรายต่อลูกได้

โดยธรรมชาติของเด็กตัวเล็ก ๆ แล้ว มักจะมีความสงสัยอยากทดลอง ไม่รู้ว่าสิ่งไหนกินได้หรือกินไม่ได้ การชอบเอาของเล่นเข้าปากจึงเป็นการตอบสนองต่อความอยากรู้ของเด็ก อันตรายจากของเล่นจึงมักจะเกิดจากความไม่รู้ของลูก ดังนั้นนอกจากการเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละชิ้นจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรระวังเป็นอย่างมาก และต้องคอยดูแลในขณะที่ลูกเล่นของเล่นอยู่เสมอ.

ขอบคุณที่มา : www.consumerthai.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้
วิธีเลือกของเล่นให้ลูกอย่างสมวัย

บทความโดย

Napatsakorn .R