100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 29 ควรเริ่มกินยาคุมเมื่อไร ?

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังคลอดลูกคุณแม่มีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่ม กินยาคุม เมื่อไหร่ แล้วแบบไหนดีแบบไหนเหมาะ เรามาดูกันค่ะว่าคุณแม่ควรเริ่ม กินยาคุม ช่วงไหนหลังจากคลอดแล้ว

 

ยาคุมกำเนิด

การกินยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้กันมากที่สุด มีความปลอดภัยสูง มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ หาซื้อง่าย มีตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีถ้ากินอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ บางยี่ห้อก็มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย ช่วยลดสิว ฝ้า หน้ามันได้ด้วย

 

เริ่มกินยาคุมเมื่อไหร่ ? 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 6 สัปดาห์หลังคลอด ยาคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ดีกว่าถุงยางอนามัย แต่ขณะที่ใช้การคุมกำเนิดวิธีนี้ระดูมักไม่สม่ำเสมอ บางรายระดูมาห่างๆ บางรายไม่มีระดู ซึ่งเป็นผลข้างเคียงปกติจากฮอร์โมน ไม่มีผลต่อสุขภาพหรือความสามารถในการเจริญพันธุ์เมื่อหยุดใช้ยาระดูจะกลับเป็นปกติ

 

การคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ยา หรือฮอร์โมน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุมกำเนิด

  • ถุงยางอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สามารถหาซื้อได้ง่าย และช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของสามีและต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ห่วงคุมกำเนิดที่มีทองแดง เป้นการคุมกำเนิดที่มีประสิธิภาพสูง คุมกำเนิดได้ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วง ไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมน ระดูจึงมาสม่ำเสมอ แต่ในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังใส่ห่วง อาจจะมีระดูมากขึ้นและปวดระดูมากขึ้นได้
    • ข้อเสีย คือบางรายอาจมีประจำเดือนมามากกว่าปกติ และอาจมีเลือดออกกระปริบกระปรอยในระหว่างรอบได้ บางรายก็อาจมีอาการปวดประจำเดือนมากกว่าเดิมได้ อาการเหล่านี้มักเป็นในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นอาการเหล่านี้มักดีขึ้นแล้วหายไปเอง
  • การทำหมัน เป็นการคุมกำเนิดถาวร เหมาะกับครอบครัวที่มีลูกเพียงพอแล้ว สามารถทำหมันได้ขณะผ่าตัดคลอดบุตร หรือหลังคลอดบุตรทางช่องคลอด 24-48 ชั่วโมง
    • ข้อเสีย หากเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา ก็ต้องไปผ่าแก้หมันใหม่อีกที แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตอนทำหมันทำแค่ 10 นาทีเสร็จ แต่เวลาแก้หมัน จะต้องผ่าท้องเข้าไปใหม่ และแก้ยากกว่า ใช้เวลามากกว่ามาก

 

การคุมกำเนิดที่ใช้ยา หรือฮอร์โมน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การฉีดยาคุมกำเนิด  การฉีดยาคุมก็เป็นที่นิยมเป็นอันดับสองรองจากการกินยาคุม มีประสิทธิภาพดี ไว้ใจได้ โอกาสพลาดมีน้อยมากถ้าฉีดตรงเวลา เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ เนื่องจากไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนม ยาฉีดคุมกำเนิดจะเริ่มฉีดใน 4 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าฉีดช้ากว่านี้ก็ไม่ดีนัก เพราะคุณแม่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่อาจมีไข่ตกเร็วเกินคาดก็ได้ การฉีดยาคุมแต่ละครั้งสามารถคุมกำเนิดไปได้นาน 12 สัปดาห์ ฉีดครั้งต่อไปควรฉีดตามกำหนดที่คุณหมอนัด ถ้าลืมหรือไม่ว่างก็ไม่ควรเกินนัดไปกว่า 14 วัน
    • ข้อเสีย คือ บางคนอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ มีประมาณ50 เปอร์เซนต์ ที่ไม่มีประจำเดือนมาเลย อีก 25 เปอร์เซนต์มีประจำเดือนมากระปริบกระปรอยตลอด บางทีก็อาจมีเลือดออกทั้งเดือน ถ้าเลือดออกไม่มากนัก พอยอมรับได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าออกมากออกนานจนมีผลต่อสุขภาพก็เปลี่ยนไปคุมวิธีอื่นจะดีกว่า
      คนที่ฉีดยาคุมแล้วไม่มีประจำเดือนมา ต่อมาก็หยุดฉีดยาประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ สามารถตั้งครรภ์ได้ก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4-6 เดือน หลังหยุดฉีดไปแล้ว
      ข้อเสียอีกอย่างคือฝ้าขึ้นง่ายเวลาโดนแดดจัดๆ เพราะเม็ดสีใต้ผิวหนังจะไวแสงมากขึ้นกว่าปกติ

 

  • ฝังยาคุมกำเนิด ยาคุมชนิดฝังหน้าตาจะเป็นแท่งซิลิโคนอันเท่าหลอดยาคูลป์ ยาวประมาณ 4 ซม. ตัวยาที่บรรจุข้างในเป็นยาชนิดเดียวกันกับยาคุมกำเนิดแบบฉีด แต่เอายานี้มาฝังไว้ใต้ท้องแขนท่อนบน ตัวยาก็จะค่อยๆ ปล่อยออกมา มีผลคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วชนิดและจำนวนหลอด พอครบกำหนดแล้วก็ต้องผ่าเอาออกหรือเปลี่ยนเอาชุดใหม่ใส่เข้าไป
    • ข้อเสีย เนื่องจากเป็นยาคุมแบบเดียวกับยาฉีด คือทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติเหมือนกัน และไม่สามารถเปลี่ยนใจได้เพราะยามีผลนานถึง 3-5 เดือน

 

  • ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย การกินควรกินอย่างสม่ำเสมอ ถ้าลืมมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่าย เนื่องจากมีฮอร์โมนขนาดต่ำ
    • ข้อเสีย มีหลายคนที่กินยาคุมแล้วมีอาการคลื่นใส้อาเจียน ปวดหัว อ้วนบวม ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ถ้าเรียกกันภาษาชาวบ้านก็เรียกกันว่า “แพ้ยาคุม” ซึ่งก็มักพบในยาคุมรุ่นแรกๆ ที่มีปริมาณฮอร์โมนสูง ยาคุมรุ่นใหม่ๆ มักมีปริมาณฮอร์โมนที่ต่ำลง แต่ยังคงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดี แต่ก็มีราคาแพงกว่ารุ่นเก่าๆ มาก ยาคุมชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำก็คืออาจมีปัญหาเรื่องเลือดออกกระปริบกระปรอยในช่วงกลางรอบได้ในบางรายในคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ปวดหัว ไมเกรน โรคตับ เนื้องอกของเต้านม เนื้องอกของระบบสืบพันธุ์ก็ไม่ควรกินยาคุม เพราะฮอร์โมนจากยาคุมก็อาจจะทำให้เนื้องอกโตขึ้นได้

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา :  rakluke.com ,  med.nu.ac.th  

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 28 ยาคุมกำเนิดแบบไหน แม่ให้นมบุตรกินได้ ?

ยาคุมกำเนิดแม่ให้นม ลูกดูดนมแม่ปลอดภัย น้ำนมไม่หด ไม่ลดปริมาณ

ยาคุมฉุกเฉิน ใช้อย่างไร วิธีกินที่ถูกต้อง ยาคุมฉุกเฉินป้องกันการท้องได้จริงหรือ?

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow