ลูกยังไม่ชินกับสภาพแวดล้อมเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้จักวิธี การห่อตัว เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ทำไมต้องรู้วิธี การห่อตัว มีประโยชน์หรือวิธีการอย่างไร
ทำไมต้องห่อตัวทารก ?
- เป็นการช่วยให้ทารกปรับกับสภาพแวดล้อมให้เกิดความคุ้นชิน และช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเหมือนตอนอยู่ในครรภ์
- ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
- รักษาความอบอุ่น ทำให้ทารกรู้สึกไม่หนาว รักษาอุณหภูมิในร่างกาย
- ทำให้ลูกนอนได้ยาวนานขึ้น และลดอาการผวาระหว่างการนอน
- ช่วยพัฒนาระบบสมอง อารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดี
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีห่อตัวทารก แบบที่ถูกต้องทำอย่างไร จำเป็นต้องห่อตัวลูกตอนนอนทุกวันไหม
วิธีการเลือกผ้าห่อตัว
การเลือกผ้าห่อตัวที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลูก นอนหลับไปนยาวนาน ไม่ผวา ลดการร้องไห้
- ขนาดผ้าห่อ ควรใช้ 47×47 จะสามารถใช้ได้นาน เพราะเด็กแต่ละคนขนาดตัวไม่เหมือนกัน
- เส้นใยธรรมชาติ นุ่ม และ ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าใยไผ่ ระบายกาศ และซึมซับน้ำได้ดี ไม่ทำให้ลูกร้อน ไม่เสียดสีหรือบาดผิว
- ใช้ผ้าต้องดูอากาศ เลือกให้เหมาะกับสภาพวะของอากาศ เช่นวันไหนที่อากาศร้อน ก็อาจจะใช้เนื้อผ้าที่บางลง วันไหนที่อากาศหนาว ควรใช้เนื้อผ้าที่หนาพอที่จะรักษาความอบอุ่นให้ลูกได้
ข้อดีขอเสีย ของผ้าฝ้าย กับ ผ้าขนหนู
ผ้าฝ้ายห่อตัวทารก
- ข้อดี คือ จะเก็บความอุณหภูมิได้ดีกว่าและมีการใช้งานได้นานกว่า
- ข้อเสีย คือ เมื่อผ้าฝ้ายที่ห่อตัวเด็กเปื้อนสกปรกจะทำความสะอาดได้ยากกว่า
ผ้าขนหนูห่อตัวทารก
- ข้อดี คือ สามารถดูดซับน้ำได้ดีกว่าผ้าคอตตอน
- ข้อเสีย คือ เมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ เนื้อผ้าจะหลุดลุ่ยเสื่อมสภาพเร็วกว่าผ้าคอตตอน
การห่อตัว 3 วิธี
- ห่อผ้าบริเวณตัว และคลุมศีรษะของทารก เว้นช่วงใบหน้า
- ห่อบริเวณตัว และคลุมถึงส่วนคอของทารก
- ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก
ห่อผ้าบริเวณตัว และคลุมศีรษะของทารก เว้นช่วงใบหน้า
การห่อแบบคลุมศีรษะเหมาะสำหรับเด็กเล็กเมื่อจะอุ้มกลับบ้านหรืออุ้มออกนอกหอผู้ป่วยเพื่อไปแผนกอื่น เช่น ไปห้องผ่าตัดหรือแผนกเอกซเรย์
- ปูผ้าห่อเด็กลงบนเตียงแนวทแยง พับมุมหนึ่งของผ้าลงมาให้เป็นห้าเหลี่ยม
- วางตัวเด็กหงายลงบนผ้าโดยให้ศีรษะของเด็กต่ำกว่ารอยพับของผ้าเล็กน้อย
- ตลบผ้าลงมาปิดหน้าผากของเด็ก
- จับแขนข้างหนึ่งให้แนบลำตัว ดึงชายผ้าด้านเดียวกันลงปิดไหล่แล้วคลุมผ่านลำตัว สอดชายผ้าลงระหว่างลำตัวกับแขนอีกข้างหนึ่งพันไปด้านหลังให้กระชับ
- จับแขนข้างที่เหลือให้แนบลำตัวด้วย แล้วดึงชายผ้าด้านเดียวกันพันรอบตัวเด็กไปด้านหลัง
- ตลบผ้าปลายเท้าสอดเข้าใต้ตัวเด็ก
ห่อบริเวณตัว และคลุมถึงส่วนคอของทารก
การห่อแบบเปิดศีรษะเพื่อให้เด็กนอนนิ่งไม่เอามือมาดึงอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเพื่อทำหัตถการบางอย่าง เช่น ใส่สายยางทางอาหาร ให้น้ำเกลือบนศีรษะ เป็นต้น มีวิธีทำได้ 2 วิธี คือ
- วิธีการทำเหมือนกับการห่อแบบคลุมศีรษะแต่วางเด็กลงบนผ้าให้คอเด็กอยู่ตรงรอยพับของมุมผ้าเท่านั้น
- ปูผ้าลงบนเตียงตามแนวยาว
- วางตัวเด็กนอนหงายลงตรงประมาณจุด 1 ใน 3 ของความยาวผ้าโดยให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกับขอบผ้าด้านบน
- ดึงชายผ้าด้านที่สั้นกว่าพันแขนข้างนั้นจากด้านนอก แล้วสอดชายผ้าลงระหว่างแขนกับลำตัวดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหลัง สอดชายผ้าขึ้นระหว่างลำตัวกับแขนอีกข้างหนึ่ง แล้วพันแขนข้างนั้นอ้อมไปด้านหลัง
- จับปลายผ้าด้านยาวพันรอบลำตัวของเด็ก ห่อให้กระชับ
ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก
การห่อแบบเปิดช่วงอกประโยชน์เหมือนกับการห่อตัวแบบเปิดศีรษะ และเหมาะสำหรับการห่อตัวเพื่อทำหัตถการบริเวณหน้าอก
- ปูผ้าลงบนเตียงตามแนวยาว
- นำเด็กมาวางตรงกึ่งกลางความยาวผ้า โดยให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกับขอบผ้าด้านบน
- สอดชายผ้าด้านหนึ่งขึ้นระหว่างลำตัวเด็กกับแขนข้างหนึ่ง พันผ้าคลุมแขนข้างนั้น อ้อมไปด้านหลังตัวเด็ก ทำเช่นเดียวกันกับแขนอีกข้างหนึ่งหรือดึงชายผ้าด้านหนึ่งมาพันแขนข้างเดียวกันจากด้านนอก แล้วสอดชายผ้าลงระหว่างแขนกับลำตัวเด็ก ดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหลังตัวเด็ก และทำเช่นเดียวกันกับแขนอีกข้างหนึ่ง
ประโยชน์ของผ้าห่อตัวทารก
- ผ้าห่อตัวสามารถช่วยกระชับแขนขาของทารกให้แนบแน่นกับลำตัวไม่ให้เคว้งคว้าง ทำให้ทารกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนอยู่ในท้องแม่
- ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
- ช่วยให้เกิดความอบอุ่น รักษาอุณหภูมิของร่างกายทารก ทำให้ไม่รู้สึกหนาวเย็น
- ช่วยพยุงตัวทารก เนื่องจากเด็กแรกเกิดตัวยังอ่อน คอยังไม่แข็งทำให้อุ้มยาก
- การห่อตัวจะช่วยเพิ่มแรงพยุง และอุ้มง่ายขึ้น เวลาจะเปลี่ยนให้อีกคนอุ้มก็จะง่ายขึ้นด้วย
- ช่วยเรื่องการพัฒนาระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กเล็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากๆ
- การห่อตัว จะช่วยลดปฏิกิริยาที่ไวมากต่อการกระตุ้นจากการถูกสัมผัสครั้งแรก ช่วยให้เด็กปรับตัวกับการถูกสัมผัสได้ดีขึ้น
ห่อตัวผิดอันตรายอย่างไร ?
คุณหมอชาร์ลส์ ไพรซ์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคความผิดปกติเกี่ยวกับข้อสะโพกระดับนานาชาติและกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกอธิบายถึง อาการข้อสะโพกของลูกเจริญเติบโตผิดปกติว่า “ความผิดปกตินี้พบได้บ่อยครั้งในทารก เพราะเบบี๋มีกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกหนาแน่น และจะต้องใช้เวลาค่อยๆ ขยายออกตามธรรมชาติเมื่อขาค่อยๆ ยาว และเหยียดตรงขึ้น หากระหว่างที่ขาลูกน้อยกำลังเหยียดยืดออกเกิดถูกกดทับด้วยผ้าห่อตัวที่แน่นเกินไป ก็อาจส่งผลให้ข้อสะโพกเคลื่อนออกเบ้า จึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ว่านี้ได้
ข้อควรระวังในการห่อตัว
เมื่อห่อตัวลูกแล้วต้องให้ลูกนอนหงายเท่านั้น ห้ามจับตะแคง
เพราะท่านี้เป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดในการนอนสำหรับเด็กทารกที่ถูกห่อตัว ไม่เสี่ยงกับการนอนไหลตาย หรือ ที่เรียกว่าอาการ SIDS ที่ทำให้ทารกหายใจไม่ออกจนเสียชีวิต
- อาการ SIDS โรคไหลตายในเด็ก เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดและกะทันหันทั้งที่ดูมีสุขภาพดี ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะที่เด็กนอนหลับอยู่ และเด็กมักไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนใด ๆ ก่อนการเสียชีวิต สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มักเกิดกับเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาโรคนี้ได้
- ไม่พันตัวลูกแน่นเกินไป
ทารกควรขยับตัวเคลื่อนย้ายสะโพก และขาได้เล็กน้อย เพราะถ้าห่อแน่นเกินไปขาลูกอาจจะอยู่ในท่างอ หรือเหยียดตรงนานเกินไป ทำให้เป็นอันตราย - ควรหยุดห่อตัวลูกหลังอายุ 2 เดือน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กกล่าวว่า เด็กทารกควรได้รับการห่อตัวเพียง 2 เดือนเท่านั้น เพราะร่างกายที่โตขึ้น และสามารถนอนหลับได้ดีจนไม่ต้องใช้การช่วยด้วยการห่อตัวอีก ให้คุณสังเกตลูกว่าพร้อมหรือไม่โดยดูว่า ลูกนอนหลับได้ดี และขยับตัวได้ดี เมื่อมีอาการเหล่านี้ก็ควรหยุดห่อตัวลูกได้
อ่านประสบการณ์จริงของเหล่าคุณแม่เกี่ยวกับ ผ้าห่อตัวทารก
ผ้าห่อตัวทารก ผ้าอ้อม ผ้าเช็ดตัว แบบไหนดี ควรมีกี่ผืนคะ กลัวซื้อมาไม่พอ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แนะนำ 10 ผ้าห่อตัวเด็ก ยี่ห้อไหนดี นุ่มสบาย อ่อนโยนต่อผิวลูกน้อย
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
แนะนำ 10 ถุงนอนเด็ก ดีไซน์น่ารัก ระบายอากาศได้ดี ไม่ระคายเคืองผิวของลูกน้อย
ที่มา : maerakluke, nappibaby