10 เรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิด

อะไรนะ ที่เป็นเรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิดที่คุณแม่อย่างเราควรทราบ...

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม เป็นโรคผื่นผิวหนังที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด แม้แต่แพทย์ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า โรคนี้เกิดจากอะไร แต่มีการศึกษากล่าวว่า น่าจะเกิดจากผิวมัน เชื้อรา ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ หรือมีสิ่งต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ การระคายเคืองของผิวหนังจากการเกา หรือขัดถู การสระผมด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองของหนังศรีษะ หรือสระผมด้วยน้ำร้อน เป็นต้น โดยโรคที่ว่านี้ จะพบได้ในบริเวณหนังศรีษะ หน้าและลำตัว หากคุณพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ลองปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับลูกก่อน ยกตัวอย่างเช่นยาสระผม แต่ถ้าทำแล้วไม่หาย และดูเหมือนว่าลูกจะมีอาการเพิ่มมากขึ้น หรือเริ่มลาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

2. อุจจาระของลูก ตอนอยู่ในครรภ์ คุณอาจจะคิดว่า อุจจาระลูก เป็นสิ่งสกปรก แต่จริง ๆ แล้ว อุจจาระของทารกแรกเกิดเป็นอะไรที่ไม่สกปรกมากเหมือนกับที่คิด เพราะพวกเขาไม่ได้ทานอะไรนอกจากนมเท่านั้น ซึ่งสิ่งที่คุณควรจะกังวลนั้นไม่ใช่เรื่องความสกปรกหรือสะอาด แต่ควรเป็นสีของอุจจาระมากกว่า เพราะสีของอุจจาระนั้น สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของทารกได้ และเมื่อใดก็ตามที่สีของอุจจาระเป็นสีคล้ำผิดปกติ มีมูกเลือดปน หรือมีสีขาวซีด คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนั่นคือสัญญาณบอกถึงความผิดปกติค่ะ

3. มีเต้านมโต เป็นเรื่องปกติที่ภาวะนี้จะสามารถเกิดได้ในเด็กแรกเกิด ทั้งเพศหญิงและเพศชาย คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ เพราะเต้านมของน้องจะยุบหายไปได้เองภายในสองสัปดาห์ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนที่น้องได้รับมาจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือนั่นเอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวเดียวกับที่กระตุ้นให้เกิดประจำเดือน ขอเพียงอย่าไปบีบหรือจับกระตุ้น เพราะนั่นอาจเป็นอันตรายได้ แต่ถ้าหากน้องมีไข้จากอาการดังกล่าว จงอย่าได้นิ่งนอนใจ ให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาทันที

4. ชอบทำเสียงครวนครางหรือส่งเสียงแปลก ที่เป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะ ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่มาตลอด เมื่อเขาเกิดมาก เขาจะรู้สึกว่าโลกใบใหม่นี้แปลกใหม่และกว้างใหญ่สำหรับเขาเป็นอย่างมาก ดังนั้น คุณแม่ควรที่จะให้การดูแลเขาเป็นพิเศษด้วยการสัมผัส กอด หอมและพูดกับลูกเบา ๆ ว่าคุณแม่อยู่ที่นี่ เขาจะได้รู้สึกอุ่นใจมากขึ้น แต่หากเสียงครางที่ว่านั้น เป็นการส่งเสียงแปลก ๆ เหมือนกับหายใจไม่สะดวก คุณแม่ไม่ควรเพิกเฉยนะคะ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติก็ว่าได้

5. ลูกจามบ่อย การที่ทารกแรกเกิดจะชอบจามบ่อย ๆ นั่นไม่ได้หมายความว่า น้องป่วยหรือเป็นหวัดหรอกนะคะ แต่เป็นเพราะว่า ร่างกายกำลังหาทางทำให้ทางเดินหายใจนั้นโล่งสบายมากขึ้น เว้นแต่ ถ้าลูกมีไข้ น้ำมูก หรืองอแงมากผิดปกติ นั่นแหละ คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์ค่ะ เพราะน้องอาจจะไม่สบายก็เป็นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. ชอบกระตุก ผวา หรือตกใจง่าย ตลอดเวลาเก้าเดือนที่ลูกอยู่ในท้อง ลูกก็จะรู้สึกว่าปลอดภัยอยู่ในบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง แต่พอเขาออกมาสู่โลก ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะรู้สึกตกใจกับเสียงรอบข้าง แม้ว่าจะเป็นเสียงที่เบาก็ตาม ลูกก็อาจจะมีอาการกระตุก ผวา หรือตกใจได้ง่าย อาการดังกล่าวนี้เป็นอาการปกติค่ะ เนื่องจากลูกเริ่มมีการพัฒนาระบบประสาทและการได้ยินมากขึ้น ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะอาการนี้จะสามารถหายไปได้เองเมื่อลูกมีอายุสามถึงสี่เดือนขึ้นไป

7. รูปทรงของศรีษะทารก เนื่องจากกระโหลกศรีษะของทารกยังบาง จึงไม่แปลกถ้าหากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปทรงไป ยกตัวอย่างเช่น หัวแบน เป็นต้น ถ้าหากคุณแม่อยากให้น้องไม่มีศรีษะแบน คุณแม่ก็ควรที่จะให้น้องนอนตะแคง สลับข้างไปมา ส่วนการนอนคว่ำนั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ว่าอาจจะเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กสามเดือนแรก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องเฝ้าลูกอย่างใกล้ชิดเลยละค่ะ

8. อวัยวะเพศบวม เนื่องจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกแรกเกิดทั้งเพศหญิงเพศชายนั้น อาจมีอาการบวมหรือใหญ่กว่าปกติ สำหรับทารกเพศหญิงนั้น จะสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับเพศชาย หากถุงอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งใหญ่ผิดปกติ ก็ต้องใช้เวลานานหน่อย ซึ่งอาจจะเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้ ทั้งนี้ ทารกเพศชายที่คลอดในเวลาที่ครบกำหนดร้อยละ 3 เกิดมาโดยที่มีอัณฑะข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างยังไม่อยู่ในถุงอัณฑะ เด็กทารกชายที่คลอดก่อนกำหนดร้อยละ 30 มีปัญหานี้ อัณฑะที่ยังไม่หล่นลงไปในถุงอัณฑะจะย้ายลงไปในถุงอัณฑะเองได้ในช่วงเดือนแรก ๆ หลังคลอด หากภายในเวลาหนึ่งปีแล้วอัณฑะยังไม่หล่นลงไปในถุงอัณฑะ ให้รีบปรึกษาแพทย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9. มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน อาการเลือดออกเหมือนมีประจำเดือนหรือมีตกขาวในทารกแรกเกิดหรือช่วง 2 เดือนแรกนั้นเป็นเรื่องปกติ สาเหตุเกิดจากการที่ฮอร์โมนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากคุณแม่ สามารถผ่านทางรกไปสู่ตัวลูกได้ โดยที่ในเด็กแรกเกิดนั้นตับยังทำการสลายฮอร์โมนได้ไม่ดีพอ ทำให้ในช่วงแรกคลอดเด็กบางคนที่ได้รับฮอร์โมนมาก หรือร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมน จะมีร่างกายเหมือนวัยสาว กล่าวคือ ช่องคลอดอาจจะมีสีคล้ำขึ้น มีตกขาว หรือมีเลือดออกได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 1- 2 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของเด็กจะกำจัดฮอร์โมนที่ได้จากคุณแม่เมื่อไหร่ โดยเฉลี่ยคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกประมาณ 2 เดือน

10. ตาเหล่หรือเข เนื่องการจากการปรับโฟกัสสายตา แก้วตา เลนส์ตา และการเคลื่อนไหวสายตาของทารก ยังไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอในตอนแรก อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าลูกของเราตาเหล่หรือตาเข ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะลูกอาจจะกำลังขมวดสายตา เพื่อเพ่งมองวัตถุใดอยู่ และอาการดังกล่าวจะหายได้เอง เมื่อทารกมีอายุได้สามหรือสี่เดือน แต่ถ้าลูกไม่ดีขึ้น หรือมีอาการตาเหล่หรือเขตลอดเวลา แนะนำให้คุณแม่รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้หากเรารักษาพวกเขาตั้งแต่เนิ่น ๆ

ที่มา: The Bump

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกหัวเบี้ยวทำไงดี

4 อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิดจากการคลอด

 

 

 

บทความโดย

Muninth