10 ต้นเหตุที่ทำให้น้ำนมเเม่มาน้อย

เพราะไม่ใช่ว่าคุณเเม่ทุกคนที่มีลูก จะมีน้ำนมให้ลูกดูดได้อย่างล้นเหลือ สาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่ค่อยมา เพราะ 10 ต้นเหตุที่ทำให้น้ำนมเเม่มาน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 ต้นเหตุที่ทำให้น้ำนมเเม่มาน้อย

คุณเเม่หลังคลอดส่วนใหญ่ก็มีเรื่องกังวลอยู่ไม่กี่เรื่องหรอกค่ะ เเต่เรื่องยอดฮิตตลอดกาลเลยก็คือน้ำนมนั่นเอง ยิ่งเป็นท้องเเรกด้วยเเล้วละก็ การที่น้ำนมจะมาน้อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องเเปลกเพราะกระเพาะลูกยังเล็กอยู่ เเต่ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกันหาก คุณมี 10 ต้นเหตุที่ทำให้น้ำนมเเม่มาน้อย

1.เนื้อเยื่อสำหรับการผลิตน้ำนมน้อยหรือไม่เพียงพอ

การพัฒนาของเนื้อเยื่อที่มีไว้ผลิตน้ำนมของคุณเเม่เเต่ละคนนั้นต่างกันค่ะ สำหรับคุณเเม่ที่มีความผิดปกติจากการพัฒนานี้จะทำให้การผลิตน้ำนมไม่เพียงพอต่อลูกได้ เเต่จะมีปัญหาน้อยลงเมื่อมีลูกคนที่สองหรือสาม ซึ่งสามารถใช้การกระตุ้นต่างๆ เพื่อเพิ่มน้ำนมได้ เช่นการปั๊ม หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับยาเพิ่มน้ำนมได้ค่ะ เเม้น้ำนมจะมีน้อยเเต่ก็เพียงพอสำหรับการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูก พัฒนาสมองเเละมีโภชนาการที่เพียงพอค่ะ

2.มีปัญหาที่ฮอร์โมนหรือต่อไร้ท่อ

การเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่ ต่อมไทรอยด์ต่ำหรือสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เเละปัญหาด้านฮอร์โมนอื่นๆ  ทำให้ตั้งครรภ์ยาก เเละหากตั้งครรภ์ได้ ก็จะทำให้มีปัญหาในการผลิตน้ำนม เนื่องจากฮอร์โมนคือปัจจัยสำคัญที่จะส่งสัญญาณให้ร่างกายผลิตน้ำนมค่ะ วิธีเเก่ไขคือปรึกษาคุณหมอนั่นเอง

3.เคยผ่านการผ่าตัดเต้านม

ทั้งที่ผ่าตัดเสริมเต้านมเพื่อความสวยงามหรือการผ่าตัดด้วยเหตุผลทางสุขภาพ การลดลงหรือเพิ่มมากขึ้นของหน้าอกนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตน้ำนมได้ เเต่การผ่าตัดเต้านมนั้นจะกระทบต่อการให้นมเเม่เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับว่าผ่าตัดอย่างไร ระยะห่างระหว่างการผ่าตัดเเละการคลอดลูก ภาวะเเทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้มีรอยเเผลหรือความเสียหายใดๆ ก็ตาม ทั้งนี้คุณเเม่ที่เคยผ่าตัดเสริมหน้าอกมักจะไม่มีปัญหาในการให้นมเเม่เมื่อเทียบกับการผ่าตัดลดขนาดเต้านมค่ะ หากมีปัญหาเรื่องน้ำนมมาน้อยอาจปรึกษาคุณหมอได้เพื่อความสบายใจค่ะ

4.การคุมกำเนิดโดยการใช้ยาคุมที่มีฮอร์โมน

คุณเเม่บางคนที่กินยาคุมกำเนิด ใช้แผ่นเเปะคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุมกำเนิด ไม่ได้ทำให้ปริมาณน้ำนมเปลี่ยนไปค่ะ เเต่ก็มีบางคนเช่นกันที่การคุมกำเนิดโดยวิธีดังกล่าวนั้นทำให้ปริมาณนมเปลี่ยนเเปลง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อเเนวโน้มของปริมาณน้ำนมคือการที่คุณเเม่คุมกำเนิดก่อนลูกจะอายุครบ 4 เดือน เเต่การกินยาคุมกำเนิดหลังจากนั้นก็ทำให้น้ำนมลดลงได้เช่นกัน การเพิ่มปริมาณน้ำนมนั้นทำได้โดยการเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด หรือปรึกษาคุณหมอก่อนเพื่อวางเเผนต่อไปค่ะ

5.การกินยาหรือสมุนไพรบางอย่าง

ตัวยา ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) ที่ผสมอยู่ในยาเเก้หวัด ตัวยา methergine เเละ bromocriptine การกินสะระเเหน่ เสจ ผักชีฝรั่ง ในจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อน้ำนมค่ะ หากไม่สามารถหยุดยาได้ ควรปรึกษาคุณหมอถึงวิธีการเพิ่มน้ำนม การปั๊มอาจจะช่วยได้บ้างนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.ลูกดูดนมลำบากหรือมีปัญหาทางกายวิภาค

ปัญหาในเรื่องปริมาณน้ำนมอาจจะเป็นเพราะเจ้าตัวเล็กดูดนมของคุณเเม่ลำบาก เนื่องจากลิ้นติด ดูดได้ไม่ดี ทำให้ได้ปริมาณนมที่น้อยหรือดูดที่หัวนมไม่ได้อมลานนมเข้าไปด้วย คุณหมอสามารถตรวจเเละเเก้ไขได้ค่ะ เเต่ก็ยังมีปัญหาอื่นๆ อีก เช่น ปากเเหว่งเพดานโหว่

7.ไม่ได้ให้นมลูกตอนกลางคืน

เเม้การนอนหลับยาวในช่วงกลางคืน โดยไม่ปลุกเจ้าตัวเล็กมากินนมเลย จะมีประโยชน์มากมายทั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน เเละช่วงให้คุณเเม่ได้นอนหลับยาว เเต่ในทางกลับกันอาจทำให้ลูกน้ำหนักตกเกณฑ์ได้ในบางกรณี เเละทำให้ปริมาณน้ำนมไม่เพิ่มมากขึ้น หรืออาจลดลงได้ เนื่องจากฮอร์โมนโพรเเลคทินจะมีมากในช่วงเวลากลางคืน ดังนั้นหากคุณเเม่ไม่ได้ให้ลูกดูดนมหรือไม่ได้ตื่นขึ้นมาปั๊มน้ำนมออก ก็อาจทำให้น้ำนมลดลงได้ค่ะ

8.การทำตารางให้นม เเละหรือ ให้ลูกดูดจุกหลอก

ขณะที่เต้านมของคุณเเม่มีการผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่อง เเต่ปริมาณน้ำนมที่ผลิตไม่ได้เท่ากันเสมอไป เนื่องจากร่างกายของคุณเเม่จะผลิตปริมาณน้ำนมตามความต้องการของลูก เเละจะผลิตมากขึ้นเมื่อลูกดูดออกจนเกลี้ยงเต้า หากคุณเเม่ทำตารางการให้นมทุกๆ 3-4 ชั่วโมง โดยที่นอกเหนือจากนี้ก็ให้ลูกดูดจุกหลอกไป หรือยืดเวลาการให้นมออกให้นานขึ้น ปริมาณน้ำนมจะค้างอยู่ในเต้านาน ร่างกายจะรับรู้ว่าลูกกินนมพอเเล้ว เเละจะผลิตน้ำนมลดน้อยลงเเละช้าลงนั่นเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณเเม่ต้องการให้น้ำนมมีปริมาณเท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มระยะเวลาให้ถี่ขึ้นบ่อยขึ้น เเละให้ลูกดูดจนเกลี้ยงเต้า คือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมมากยังไงละคะ

9.การใช้ยาระหว่างการคลอดหรือลูกเป็นโรคดีซ่าน

การใช้ยาชาเเก้ปวด (epidural anaesthetic หรือ demerol) เพื่อระงับปวดในระหว่างที่คลอดลูก ส่งผลต่อความสามารถในการดูดนมของลูกด้วยนะคะ งานวิจัยบางชิ้นบอกว่ามันจะส่งผลต่อไปได้นานหลายเดือน ขึ้นอยู่กับว่าคุณเเม่รับยาอะไรเเละได้รับนานเเค่ไหน นอกจากนี้การที่ลูกเป็นโรคดีซ่านตั้งเเต่เเรกเกิดจะทำให้เขานอนนานกว่าปกติ ตื่นขึ้นมาดูดนมไม่บ่อยเท่าเด็กที่ไม่ได้เป็น ทั้ง 2 กรณีนี้ทำให้การสร้างน้ำนมของคุณเเม่ลดลงค่ะ คุณเเม่สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้โดยการบีบเก็บหรือปั๊มเก็บเอาไว้เเทนได้ค่ะ

10.การเสริมนมผง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2-3 สัปดาห์เเรก การเสริมนมผงจะทำให้เต้านมผลิตนมได้น้อยลง เนื่องจากปริมาณที่ลูกดูดออกไปน้อย ร่างกายจะคิดว่าลูกต้องการปริมาณน้ำนมเพียงเเค่นั้น จึงผลิตมาเพื่อรองรับปริมาณที่น้อยนิด ยิ่งเสริมนมผง ร่างกายยิ่งผลิตน้ำนมออกมาน้อยลงเรื่อยๆ ค่ะ หากคิดว่าลูกได้รับปริมาณน้ำนมที่ไม่เพียงพอ ให้ปรึกษาศูนย์นมเเม่ตามโรงพยาบาลต่างๆ หรือปรึกษาคุณหมอที่สนับสนุนนมเเม่ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา todaysparent

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ แต่ละขั้นตอนทำอย่างไร

เทคนิคเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย