10 ข้อผิดพลาดที่พ่อแม่ไม่รู้ ในช่วงขวบปีเเรกของลูก

10 ข้อผิดพลาดที่พ่อแม่ไม่รู้ ในช่วงขวบปีเเรกของลูก คือเรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ทุกคนเผลอกันได้ เเต่จะดีกว่าไหมหากรู้ไว้ก่อนว่ามีอะไรบ้าง จะได้ไม่พลาดยังไงละคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 ข้อผิดพลาดที่พ่อแม่ไม่รู้ ในช่วงขวบปีเเรกของลูก

เพราะคุณพ่อคุณเเม่มือใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างเลยดูเเล้วน่ากลัวไปหมด จึงทำให้มี 10 ข้อผิดพลาดที่พ่อแม่ไม่รู้ ในช่วงขวบปีเเรกของลูก ได้ยังไงละคะ

1.ตกใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น

ไม่ว่าลูกจะเเหวะนม อาเจียน คาย คุณพ่อคุณเเม่ก็วิตกกังวลไปเสียทั้งหมด ทั้งที่จริงมันเป็นเรื่องปกติของเด็กๆ เเละในขณะที่คุณพ่อคุณเเม่มัวเเต่วิตกกังวลอยู่นั่นเอง ลูกก็จะได้รับอารมณ์ความรู้สึกวิตกกังวลไปด้วย ซึ่งในช่วงขวบปีเเรกนั้นจะทำให้วิตกกังวลไปหมดเสียทุกเรื่อง ลูกนอนไม่ดิ้นเลยหรือดื้นมากไปไหม เเหวะนมมากไปไหม กินอิ่มไหม หากคุณพ่อคุณเเม่ศึกษาการเลี้ยงเด็กมาบ้าง เรื่องพวกนี้ปกติสุดๆ ไปเลยละค่ะ รู้อย่างนี้เเล้วก็วางใจได้เเล้วนะคะ เเล้วหันมาใส่ใจกับเจ้าตัวเล็กดีกว่า

2.ไม่ให้ลูกร้องไห้เลย

งานของพ่อแม่คือไม่ให้ลูกร้องไห้รึเปล่า ? ที่คิดอย่างนั้นนั่นก็เพราะคุณพ่อคุณเเม่คิดว่า เมื่อลูกร้องไห้เเสดงว่าเราต้องทำอะไรผิดไปเเน่ๆ เลย ต้องรีบเเก้ไขโดนด่วน เเต่ความจริงเเล้ว เจ้าตัวเล็กตัดสินใจที่จะร้องไห้ต่างหาก ไม่ใช่ว่าเพราะเปียกฉี่หรือหิวนม เเต่มันคือการที่ลูกต้องการสื่อสารต่างหาก ไม่ได้หมายว่าลูกเศร้าคุณพ่อคุณเเม่ต้องปลอบเเต่เพียงอย่างเดียว เเต่การร้องไห้ที่ยาวนานเป็นชั่วโมง ก็หมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน อย่าง มีไข้ ผื่นคัน อาเจียน ปวดท้อง หรือความผิดปกติอื่นๆ หากไม่เเน่ใจควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลค่ะ

3.ปลุกลูกขึ้นมากินนม

เพราะกลัวลูกหิว เเต่จริงๆ เเล้วหากลูกยอมนอนในช่วงกลางคืนนาน เเละน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ ไม่ได้น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักตกเกณฑ์ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปลุกลูกขึ้นมากินนมค่ะ เเต่ถ้าหากคุณเเม่กลัวน้ำนมจะมาน้อย ปั๊มออกเก็บเอาไว้ก็ได้ค่ะ

4.สับสนระหว่างเเหวะนมกับอาเจียน

เพราะเด็กๆ เเหวะนมเป็นประจำหลังมื้อนม เเต่การอาเจียนหากผิดปกติจากเชื้อไวรัส จะบ่อยกว่านั้น ราวๆ ทุก 30-45 นาที นี่คือความเเตกต่างระหว่างการเเหวะนมกับการอาเจียนค่ะ

5.ลูกมีไข้ไม่ควรให้กินยาเอง

หากลูกมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 38 องศา ในช่วง 3 เดือนเเรก เมื่อวัดไข้ทางทวารหนัก ถือว่าผิดปกติเเละฉุกเฉินค่ะ ยกเว้นว่ามีไข้หลังจากการฉีดวัคซีนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง การให้ยาเองไม่เป็นผลดี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถรับมือกับเชื้อโรคเองได้ หากวัดไข้เเล้วมีไข้สูงก็รับไปหาคุณหมอได้เลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.ติดตั้งคาร์ซีทผิดวิธี

หากซื้อจากร้านที่มีพนักงานติดให้เลยคงไม่น่าห่วงเท่าไรนัก เเต่หากซื้อมาติดเอง คุณพ่อคุณเเม่หลายคนอาจจะติดไม่ถูกวิธี ซึ่งส่งผลเสียที่อันตรายมากๆ ต่อความปลอดภัยของลูกนะคะ ดังนั้นเลือกร้านที่สามารถติดให้ได้เลยเเละเรียนรู้วิธีติดตั้งจากพนักงาน

7.ละเลยการดูเเลช่องปาก

ด้วยความที่ลูกยังไม่มีฟัน คุณพ่อคุณเเม่เลยคิดว่าไม่เป็นไร ในปากลูกยังไม่ต้องดูเเลก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด เเละทำให้สายเกินไปค่ะ ไม่ควรให้ลูกนอนกินนมทันทีที่ฟันเริ่มขึ้น เนื่องจากจะทำให้ส่งผลให้ฟันผุได้ ใช้ผ้าเปียกเช็ดบริเวรด้านในปาก เเละเริ่มใช้เเปรงสีฟันเมื่อลูกอายุ 1 ขวบ ให้ลูกรับฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุจากคุณหมอตามที่คุณหมอนัด

8.ละเลยชีวิตคู่

เเน่นอนค่ะว่า ในขวบปีเเรกของลูก ทุกอย่างคือเรื่องลูก เเต่ความคิดเเบบนั้นทำให้ทั้งคุณพ่อเเละคุณเเม่ละเลยต่อความสัมพันธ์ที่มีให้กัน จนทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งน้อยใจ เเละส่งผลให้พัฒนาเป็นปัญหาชีวิตคู่ได้ในอนาคต ควรให้เวลาต่อกันเป็นประจำ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้วยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9.ทะเลาะกันต่อหน้าลูก

เเม้เเต่เรื่องเล็กๆ เช่น การหยิบข้อง หรือช่วยทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เพราะลูกไม่ว่าเขาจะยังเล็กเเค่ไหนก็รับรู้ความรู้สึกของพ่อกับเเม่ได้ เเม้การขัดเเย้งกันจะเป็นเรื่องปกติของชีวิตคู่ เเต่การโต้เถียงหรือทะเลาะกัน จากเรื่องเล็กมากๆ จะลุกลามเป็นใหญ่โตได้ เเละทำให้ขัดเเย้งกันบ่อยมากขึ้น

10.หาข้อมูลการเลี้ยงลูกจากเเหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

เช่น เขาบอกต่อกันมา โบราณว่า หรืออะไรก็เเล้วเเต่ ทุกวันนี้ข้อมูลในโลกดิจิตอลที่เเชร์ต่อๆ กันมา เป็นการรับสารโดยไม่มีการคัดกรองหรือเเม้เเต่หาต้นตอที่มาของสารนั้น คุณพ่อคุณเเม่ต้องเเน่ใจว่าเนื้อหาที่รับมานั้นมาจากหมอเด็ก ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ หรือเป็นเเหล่งที่มาที่อ้างอิงได้ค่ะ

ที่มา WEBMD

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

8 วิธีรับมือเเบบธรรมชาติ เมื่อทารกโดนยุงกัด

อย่าพลาด… 8 พัฒนาการที่สำคัญของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด