เคล็ดลับ10 เทคนิควิธี ช่วยให้ลูกคุณ “ไม่ต้องเรียนพิเศษ”
เรียนพิเศษกลายเป็นกิจกรรมหลักของเด็กหลายคน แต่การผลักดันให้ลูกเรียนพิเศษเพื่อช่วยให้ลูกเก่งกว่าเด็กคนอื่น ๆ จำเป็นไหม จะทำอย่างไรดีให้ลูก ไม่ต้องเรียนพิเศษ
1. ดูว่าลูกคุณจำเป็นต้องเรียนพิเศษหรือไม่
มี 2 เหตุผลหลัก ๆ ที่เด็กถึงต้องเรียนพิเศษ เหตุผลแรกเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “พื้นฐานของการสอนพิเศษ” นั่นคือ เมื่อนักเรียนเรียนไม่ทันเพื่อนในห้องเรียน นอกจากนี้ การที่เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นอาจทำให้เด็กสูญเสียความสนใจในวิชานั้น ๆ ด้วย ในกรณีนี้ การเรียนพิเศษนั้นมีความจำเป็นเพื่อช่วยให้เด็กกลับมาสนใจเรียนได้ ดังนั้น ควรหาครูสอนพิเศษที่มีคุณสมบัติดีพอที่จะสามารถจูงใจให้ลูกคุณเรียนและรักในวิชานั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุด เป้าหมายของการเรียนพิเศษนั้นคือเพื่อไม่ให้ลูกคุณต้องเรียนพิเศษอีกครั้งในอนาคต เหตุผลที่สองคือ เด็กอาจต้องการการเติมเต็มศักยภาพที่เขามีในตัวและต้องการการฝึกหัดแบบพิเศษประมาณ 2 – 3 เดือนก่อนที่จะมีการสอบครั้งใหญ่ เป้าหมายของผู้สอนพิเศษนั้นก็เพื่อช่วยให้เด็กสามารถรวบรวมความรู้และตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ที่เขาฝึกฝนมาในช่วงที่มีการเรียนพิเศษ
2. เป็นครูสอนพิเศษให้กับลูกและหาวิธีเรียนที่สนุกสนาน
ถามตัวเองว่าเรียนอย่างไรถึงจะสนุก? กุญแจสำคัญคือการสอนแบบไม่ต้องเตรียมตัวก่อนและหาอะไรก็ได้ที่คุณหาได้เป็นเครื่องมือและทำให้การเรียนนั้นสนุก คุณอาจทำกระดาษสีติดรูปเพื่อสอนคำภาษาอังกฤษให้กับลูก พิมพ์ชาร์ตตารางเพื่อให้จำง่าย ใช้การต่อจิ๊กซอเพื่อเรียนรู้การสะกดคำ หรือใช้ไม้ไอศครีมสีสันเพื่อช่วยให้เด็กเล็ก ๆ สามารถเห็นปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ได้ มีอีกหลายวิธีแล้วแต่จินตนาการของคุณเลย
3. ลงทะเบียนในนิตยสารหรือทีวี
นี่เป็นแทคติคที่จะทำให้ลูกของคุณสนใจในวิทยาศาสตร์แบบที่เขาไม่รู้ตัวเลยทีเดียว การลงทะเบียนทางช่อง National Geographic หรือผ่านทางนิตยสารเช่น Horrible Science ซึ่งเป็นนิตยสารที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงต่าง ๆ และวิธีการทดลองที่ให้เด็ก ๆ ทดลองได้เองที่บ้าน และในตอนที่ลูกของคุณเริ่มรู้จักวิทยาศาสตร์เมื่อเขาอยู่ชั้นประถมต้น เขาจะสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ในวิชาเรียนกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ที่บ้านได้แล้ว นอกจากนี้ การลงทะเบียนเพื่ออ่านหนังสือ Reader’s Digest และ Time ก็เป็นเรื่องที่ช่วยลูกของคุณได้ไม่น้อย
4. พาลูกไปห้องสมุด
เรารู้ว่าคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว และในความเป็นจริง มันก็ได้ผลจริง ๆ ด้วย นอกจากจะให้ลูกคุณได้คุ้นเคยกับการอ่านตั้งแต่เขาอายุยังน้อย ห้องสมุดยังเป็นอีกสถานที่ที่ให้ลูกคุณได้ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่เขามีความสนใจอีกด้วย เช่น ลูกสาวคุณอาจสนใจในหนังสือศิลปะและงานฝีมือ ส่วนลูกชายคุณอาจสนใจหนังสือสอนทำอาหาร เป็นต้น เพราะลูกคุณอาจมีสิ่งที่เขาสนใจแต่ยังไม่ได้บอกให้ใครรู้ ดังนั้น การที่คุณสังเกตชนิดของหนังสือที่เขาสนใจอ่านอาจทำให้คุณเห็นแววความชอบของเขาก็ได้
5. กำหนดเวลาเพื่อเรียนรู้เสริมในทุกคืน
คุณควรหารือเรื่องนี้กับลูกของคุณเพื่อตกลงเวลาที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมที่บ้าน เช่น เวลาหนึ่งทุ่ม – สองทุ่มครึ่งทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนสมาธิ เช่น เกมส์ หรือโทรศัพท์มือถือ วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับเด็กเล็ก ๆ เพราะเป็นวิธีที่ช่วยสร้างโครงสร้างชีวิตของเด็กในแต่ละวัน ทำให้เขามีสมาธิมากขึ้นเพราะเขารู้ว่าเขาจะได้พักหลังจากที่เขาเรียนรู้เสร็จ
6. วางแผนปรับตารางเวลาและตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบ
เช่น ทำก่อนที่ลูกจะสอบประมาณ 1 เดือน คุณแม่ท่านหนึ่งนั่งลงคุยกับลูกเพื่อทำรายการหัวข้อที่ลูกต้องสอบ จากนั้นก็บันทึกวันที่ลูกสอบลงในปฏิทินและร่างแผนตารางเวลาขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตั้งเป้าหมายสำหรับการสอบที่กำลังจะมาถึง และจงระลึกไว้เสมอว่าต้องตั้งเป้าตามความเป็นจริงโดยดูที่เกรดของลูกและกระตุ้นให้ลูกตั้งใจทำให้ดีขึ้นในการสอบครั้งนี้อย่างน้อยให้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเกรด
7. อย่าติดสินบนเพื่อให้ลูกทำข้อสอบได้ดี
“ถ้าลูกทำข้อสอบได้ดี แม่จะซื้อของเล่นที่ลูกชอบให้” ฟังดูแล้วคุ้น ๆ หรือไม่? เราต่างก็รู้ว่าการกล่าวคำในลักษณะเช่นนี้รังแต่จะทำให้เกิดความเครียดกับเด็ก แทนที่การสัญญาว่าจะให้รางวัลกับลูกจะเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้กับลูก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิธีนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล เราเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กที่ไม่มีสมาธิในการสอบเพราะพ่อแม่สัญญาว่าจะพาเขาไปเที่ยวประเทศต่างประเทศมาแล้ว ผลที่ตามมาคือเด็กกังวลว่าจะทำได้ไม่ดีพอและเกิดความเครียดขึ้น
8. ให้ลูกที่โตกว่าช่วยสอนหรือติว
เพราะมีลูกถึง 5 คน คุณแม่ญาณีจึงไม่สามารถจ่ายค่าเรียนพิเศษให้กับลูกทั้งหมดได้ ดังนั้น คุณแม่จึงให้ลูกคนที่โตกว่าที่สามารถทำหน้าที่สอนน้องได้ช่วยสอนน้อง ๆ วิธีนี้จะทำให้พวกเขามีความรู้และรู้สึกว่าการเรียนพิเศษที่บ้านนั้นเป็นเรื่องสนุกสนาน แต่คุณต้องแน่ใจว่าลูกคนที่รับผิดชอบสอนน้องนั้นทำงานของเขาเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นกัน เพราะคุณเองก็ไม่อยากให้ลูกคนที่มาช่วยสอนเกิดความเครียดกับหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
9. อย่าใส่ใจกับพ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนแพง ๆ
ถ้าคุณรู้สึกผิดที่เพื่อน ๆ หรือญาติ ๆ ของคุณส่งลูกเรียนโรงเรียนดัง ๆ หรือแพง ๆ ลูกเขาเรียนได้เกรดดีกว่า จ่ายค่าเรียนพิเศษสูงลิบลิ่ว อะไรเทือกนั้น แทนที่คุณจะรู้สึกท้อหรือเครียดไปกับสิ่งเหล่านี้ คุณควรพูดคุยกับครูที่โรงเรียนของลูกหรือใครก็ตามที่สามารถช่วยติวลูกของคุณให้เรียนเก่งขึ้นมาได้
10. เรียนให้สนุก
โอกาสในการเรียนรู้มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นอย่าจำกัดการเรียนรู้ของลูกคุณเฉพาะที่บ้าน ลองค้นหาสถานที่เสริมความรู้ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯหรือตามจังหวัดต่าง ๆ สถานที่ที่จะให้ลูกคุณได้เรียนรู้ไปพร้อมกับการสร้างความสนุกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเขานั่นเอง
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Scholastic.com – 8 Steps to Homeschool Success
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สอนลูกเรื่องเซ็กซ์ ได้หรือยัง? เมื่อไหร่เราควร จะคุยเรื่องเพศกับลูก?
“หาโรงเรียนยากนัก แม่สอนเองก็ได้” บทสัมภาษณ์พิเศษวันแม่ ทำ Homeschool
ประโยชน์ของ การนั่งสมาธิของเด็ก สอนให้ลูกนั่งสมาธิ สอนให้ลูกน้อยนั่งสมาธิ