“ฝังเข็มยาคุม” ดีหรือไม่ อะไรควรระวังบ้าง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังมองหาทางเลือกการคุมกำเนิด หรือใครที่ชอบลืมกินยาคุมบ่อยๆแต่ยังไม่พร้อมที่จะทำหมัน การฝังเข็มยาคุมเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ฝังเข็มยาคุมจะดีหรือไม่ มีผลข้างเคียงมากน้อยอย่างไร อะไรเป็นข้อควรระวังบ้าง มาหาคำตอบประกอบการตัดสินใจไปพร้อมกันค่ะ

ยาฝังคุมกำเนิดคืออะไร

ยาฝังคุมกำเนิดหรือที่เรียกกันติดปากว่าการฝังเข็มคุมกำเนิดคือการวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสุงสุดรองจาการไม่มีเพศสัมพันธุ์เลยทีเดียว โดยใช้หลอดยาขนาดเล็กประมาณไม่เกิน 4.3 x 0.25 เซนติเมตรฝังเข้าไปบริเวณใต้ผิวหนังของท้องแขนข้างไม่ถนัดของคุณผู้หญิง ในหลอดยาที่ใช้ฝังเข้าไปจะบรรจุฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โปรเจสติน (Progestin) เพียงอย่างเดียว จึงไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเหมือนการกินยาเม็ดคุมกำเนิด เมื่อฝังเข้าไปแล้วก็จะค่อยๆปล่อยฮอร์โมนชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายช่วยป้องกันการตั้งท้องได้นาน 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดและปริมาณของฮอร์โมนที่ฝังเข้าไป

ฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากแท่งยาฝังคุมกำเนิดจะมีผลทำให้ไข่ไม่พัฒนาและไม่เกิดการไข่ตก และทำให้เมือกที่ปากมดลูกเหนียวข้นขึ้นทำให้อสุจิผ่านเข้าไปในมดลูกยากขึ้นและยังทำให้เยื่อบุผนังมดลูกบางทำให้ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไม่อาจเกาะกับผนังมดลูกได้จึงทำให้ไม่ท้อง

ฝังเข็มคุมกำเนิดแล้วป้องกันการตั้งท้องได้ทันทีหรือไม่

การฝังยาคุมกำเนิดสามารถคุมกำเนิดได้ทันทีหากฝังช่วง 5 วันแรกของการมีรอบเดือน แต่หากฝังในวันถัดไปหรือช่วงหลังวันหมดประจำเดือนจะป้องกันการตั้งท้องได้หลังจากฝังเข็มประมาณ 7 วันขึ้นไป คุณแม่หลังคลอดสามารถฝังเข็มยาคุมได้ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด และวัยรุ่นหญิงอายุ 10-20 ปีสามารถเข้ารับการฝังเข็มยาคุมฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศเพื่อป้องกันการท้องไม่พึงประสงค์และลดปัญหาแม่วัยใส ตามพ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรค์ในวัยรุ่นปี 2559 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

ข้อดีของการฝังเข็มยาคุมกำเนิด

  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันการท้องได้มากกว่าการกินยาคุม ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นช่วยป้องกันการตั้งท้อง
  • สะดวกและช่วยคุมกำเนิดได้ยาวนานถึง 3-5 ปี แล้วแต่ขนิดและขนาดของฮอร์โมนที่ฝังเข้าไป
  • ไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการมีเพศสัมพันธุ์
  • สามารถฝังเข็มยาคุมได้ทันทีหลังแท้งลูก คลอดลูกหรือระหว่างในนมลูก ปลอดภัยและไม่มีอันตรายต่อแม่และเด็ก
  • ในช่วงปีแรกของการฝังยาคุม มีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และช่วยให้คนที่มีปัญหาประจำเดือนมามากมีประจำเดือนน้อยลง
  • มีส่วนช่วยยับยั้งการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เพราะฮอร์โมนในเข็มฝังช่วยให้เมือกที่คอมดลูกเหนียวข้นขึ้นจึงช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าสู่ปากมดลูกได้,ลดโอกาสตั้งท้องนอกมดลูก,ป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก,ลดความเสี่ยงภาวะเลือดจาง
  • ไม่ส่งผลต่อการทำงานของตับ
  • เมื่อถอดเข็มออกสามารถกลับมามีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุม เพราะฮอร์โมนค่อยๆกระจายในปริมาณน้อยจึงไม่เกิดการสะสมในร่างกาย

ข้อเสียของการฝังเข็มยาคุม

  • การถอดและฝังเข็มยาคุมจำเป็นต้องใช้หมอที่มีความเชี่ยวชาญต้องฉีดยาชา ไม่อาจทำด้วยตัวเองได้
  • ในช่วงปีแรกของการฝังยาคุมประจำเดือนอาจมาไม่ปรกติ หรือมาน้อย บางคนประจำเดือนมาถี่ หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอยตลอดทั้งเดือนทำให้ต้องใส่ผ้าอนามัยตลอดเวลา แต่เมื่อผ่านไปสักระยะอาการต่างๆจะค่อยยดีขึ้น
  • อาจพบก้อนเลือดคลั่งบริเวณที่กรีดฝังยาคุม
  • ไม่อาจป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ได้
  • บางรายอาจพบแท่งยาเลื่อนจากตำแหน่งเดิมท(พบได้น้อย)

(ขนาดหลอดยาฝังคุมกำเนิด)

ผลข้างเคียงจาการฝังยาคุม

  • อาการที่พบมากที่สุดหลังฝังยาคุมคือมีเลือดออกกะปริิดกะะปรอย หรือมีตกขาวมาก บางรายอาจมีประจำเดือนมามากกว่าปรกติหรือประจำเดือนขาดไปเลยก็ได้ จำเป็นต้องกินยาคุมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 05มิลลิกรัมวันละ 1 เม็ดประมาณ 7-10 วันเพื่อลดอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย
  • อาจมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดประจำเดือนมากใช่ช่วง 2-3เดือนแรก
  • ในระยะแรกอาจมีอาการปวดบริเวรที่ฝังยาคุม แผลที่กรีดฝังยาคุมอาจอักเสบและเป็นแผลเป็น
  • อารมณ์แปรปรวน,คลื่นไส้,สิวขึ้นหรือปวดหัวได้
  • เจ็บบริเวณเต้านม
  • อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

ข้อควรระวังในการฝังเข็มยาคุม

การฝังเข็มยาคุมจะมีความเสี่ยงในขั้นตอนการฝังและถอดเข็มออกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแต่ก็มีโอกาสเกิดน้อยเพียงแค่ 2 %เท่านั้น เมื่อมีอาการปวดบริเวณที่ฝังยาคุมแบบผิดปรกติ มีการอักเสบ แผลบวม แดง หรือเป็นหนอง,ปวดหัวมากกว่าปรกติ,หายใจลำบาก,แน่นหน้าอกแขนขาอ่อนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

แม้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะสามารถเลือกใช้การฝังเข็มคุมกำเนิดได้แต่ก็มีบ้างกรณีที่ไม่อาจเข้ารับการฝังเข็มคุมกำเนิดได้เช่น ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองตั้งท้อง,คนที่ต้องการให้รอบเดือนมาปรกติ,ผู้ที่พบเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธุ์,เป็นไมเกรน,ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด,ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดง มีภาวะโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรตตับ โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นมะเร็งเต้านม,ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนและผู้ที่แพ้ส่วนประกอบใดๆก็ตามในยาคุมกำเนิด

 

แหล่งข้อมูล

 

https://health.kapook.com/view173845.html

 

บทความโดย

daawchonlada