ไอ หายใจหวีด อาการของทารก ที่ต้องรีบไปหาหมอ
ไอ หายใจหวีด หายใจลำบาก อาการทารกแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับลูกน้อยแล้วนะคะ แต่เป็นสัญญาณอันตรายที่แม่ต้องใส่ใจอย่างยิ่ง
คลิปทารกหายใจผิดปกติ
คุณแม่ Sophie Cachia โพสต์คลิปลงอินสตาแกรม sophiecachia_ เป็นคลิปลูกกำลังนั่งหายใจ ลักษณะหน้าอกดูแปลกไป สังเกตได้ว่า ทารกน้อยกำลังหายใจอย่างยากลำบาก สูดหายใจทีแทบจะเห็นซี่โครง
www.instagram.com/p/BaVbwUPBeB8/?taken-by=sophiecachia_
เจ้าตัวน้อยมีชื่อว่า Florence เธอเป็นทารกเพศหญิง มีอายุได้ 9 เดือนแล้ว ซึ่งคุณแม่ได้อัดคลิปไว้เพื่อเปิดให้คุณหมอดู เผื่อว่าลูกน้อยอาการดีขึ้นระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งขณะที่เกิดเหตุ ครอบครัวนี้กำลังท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานในวันหยุดพักร้อน แต่ทารกน้อยก็เกิดอาการผิดปกติเสียก่อนในวันสุดท้ายของทริป
อาการจับหืด (Asthma Attack)
อาการของทารกน้อยเรียกว่า จับหืด (Asthma Attack) โดยคุณแม่จับสังเกตได้ทันที เนื่องจากลูกอีกคนของเธอ Bobby พี่ชายของ Florence ก็เป็นโรคหืด ทุกคนในครอบครัวจึงคุ้นเคยกับสัญญาณบอกโรคนี้เป็นอย่างดี และสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการจับหืดคือ อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ไม่ว่าจะเป็นอากาศหนาวเกินไป หรือร้อนเกินไป
หลังจากที่สามีของเธอรีบพาลูกน้อยไปยังโรงพยาบาล ทารกน้อยก็ได้รับการรักษาอย่างดี อาการล่าสุด หนูน้อย Florence ปลอดภัย จนสามารถกลับไปนอนที่บ้านได้แล้ว
ที่มา : https://www.smartparenting.com.ph/
อ่านอาการของโรคหืดในเด็ก ต่อหน้าถัดไป
โรคหืดในเด็ก
โรคหืด หรือ หอบหืด ผู้ป่วยจะมีการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ หลอดลมของผู้ป่วยหดเกร็ง บวม และมีการสร้างเสมหะมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าภาวะปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก
สาเหตุของโรคหืด
สาเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เด็กที่มีอาการหอบหืดร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้หรือโรคหืดในครอบครัวจะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าเด็กปกติ
สิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น
- ไรฝุ่น
- แมลงสาบ
- ละอองเกสรจากพืช
- เชื้อรา
- สะเก็ดรังแคสุนัขหรือแมว
รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคหืด?
การวินิจฉัยโรคหืดในเด็กโตจะใช้การทำการทดสอบสมรรถภาพปอดมาช่วยการวินิจฉัยโรคหืดร่วมกับประวัติและการตรวจร่างกาย
สำหรับเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถทำการทดสอบสมรรถภาพปอดได้ แพทย์จะวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก ประวัติที่สำคัญคือการมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นและประวัติอาการของโรคหืดที่สำคัญ ได้แก่
- อาการหายใจมีเสียงวี้ด ซึ่งเกิดจากหลอดลมตีบ
- หายใจลำบาก หายใจเร็ว
- มีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ และตอบสนองต่อการได้รับยาขยายหลอดลม
สำหรับเด็กที่มีอาการหืดไม่รุนแรง อาจมีอาการเพียงวิ่งเล่นแล้วเหนื่อยหรือไอ ไอมากตอนกลางคืน-เช้ามืด เมื่อเป็นหวัดจะไอหายช้ากว่าปกติ
อ่านเพิ่มเติม โรคหืดในเด็กเป็นอย่างไร? ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีทำความสะอาดเหงือกทารก ดูแลให้ถูกวิธีอย่างไร ก่อนที่ฟันจะขึ้น
Top 3 มะเร็งในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ภาวนาไม่อยากให้เป็นลูกเรา
โรคแพ้ถั่วปากอ้า โรคพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร อันตรายกับลูกแค่ไหน