ไข้เลือดออก โรคร้ายประจำหน้าฝน ที่คุณแม่สามารถช่วยปกป้องลูกรักให้ห่างไกลได้

เปิดเทอมครั้งนี้ ลูกรักได้กลับไปเรียนในช่วงหน้าฝนพอดี ซึ่งในฤดูนี้ก็มีเรื่องที่คุณแม่ควรระวังอย่างโรค ไข้เลือดออก แต่ไม่ต้องกังวล เพราะคุณแม่สามารถปกป้องลูกรักให้ห่างไกลโรคร้ายนี้ได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกเปิดเทอมรับหน้าฝน คุณแม่ต้องระวังโรค ไข้เลือดออก

เข้าสู่ช่วงเปิดเทอมของลูกกันมาสักพักแล้ว ซึ่งเปิดเทอมครั้งนี้ ก็ตรงกับช่วงหน้าฝน หรือฤดูฝนพอดิบพอดี ซึ่งในหน้านี้คุณแม่มีเรื่องที่ต้องคอยระวังให้กับลูกรักมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากถนนที่เปียกลื่น แมลงสัตว์ตามฤดูกัดต่อย แต่ที่น่าเป็นห่วงจริง ๆ ก็คงไม่พ้นโรคร้ายอันตรายอย่าง โรค ไข้เลือดออก ที่มีอันตรายถึงชีวิต มีพาหะนำโรคที่รับมือได้ยากและพบได้ทุกที่อย่าง ยุง ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงอาการของโรคนี้ เพื่อที่คุณแม่จะได้คอยสังเกตและระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

ไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร คุณแม่ควรสังเกตอะไรบ้าง

อย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น ว่า โรคไข้เลือดออกนั้น เป็นโรคร้ายที่มีอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรประมาท และรู้จักอาการของโรคนี้กันก่อน ซึ่งโรคนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ไข้เลือดออกระยะแรก ระยะไข้สูง ในระยะแรกของการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ลูกจะมีอาการไข้ขึ้นสูงเป็นเวลาหลายวันประมาณ 5-6 วัน โดยจะมีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่เป็นฤดูระบาดของโรคนี้ หากลูกมีอาการไข้สูงหลายวัน คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟนนะคะ
  • ระยะวิกฤติ เสี่ยงต่ออาการช็อกได้ ในระยะนี้ ลูกจะป่วยเป็นไข้สูงมาแล้วหลายวัน อาการอ่อนเพลียจะมีมากขึ้น อาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ผิวหนังตามหน้าและตัวรวมถึงฝ่ามือฝ่าเท้า อาจดูแดง ๆ หรือตัวลาย ในระยะนี้ อุณหภูมิของไข้จะลดลง จนอาจทำให้คุณแม่เข้าใจผิดว่ากำลังจะหายไข้ ซึ่งจริง ๆ แล้วลูกอาจกำลังเข้าสู่ระยะช็อกที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
  • ระยะฟื้นตัว ในระยะนี้เป็นช่วงเวลาหลังจากที่ไข้ลดลงโดยไม่มีอาการช็อก เกล็ดเลือดในร่างกายของลูกเริ่มกลับมาสูงขึ้น อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ ลูกจะเริ่มมีความอยากอาหารบ้างแล้ว อาการปวดท้องและท้องอืดจะดีขึ้น รู้สึกร่างกายมีแรงมากขึ้น มักพบผื่นแดงและคันตามฝ่ามือฝ่าเท้า โดยไม่มีการลอกตัวของผิวหนัง

เมื่อรู้อาการของโรคแล้ว สิ่งต่อไปที่คุณแม่ควรรู้ก็คือวิธีสังเกตลูก อาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกได้แก่

  1. ไข้ลดลง แต่อาการยังไม่ดีขึ้น เบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
  2. คลื่นไส้ อาเจียนตลอดเวลา
  3. ปวดท้องหนักมาก
  4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายเป็นสีดำ
  5. กระหายน้ำตลอดเวลา
  6. พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ
  7. ตัวเย็น สีผิวคล้ำ หรือตัวลาย
  8. ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลยนานเกิน 4-6 ชั่วโมง

วันแม่ปีนี้ มอบของขวัญให้ตัวเอง ด้วยการป้องกันลูกให้ห่างไกลโรคไข้เลือดออก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องจากสาเหตุของการเกิดไข้เลือดออกนั้นก็คือเจ้าแมลลงตัวร้ายอย่าง ยุงลาย ดังนั้นในโอกาสวันแม่แห่งชาติปีนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงหน้าฝนพอดิบพอดี เราอยากให้คุณแม่ทุกคน มอบของขวัญด้วยตัวเอง ด้วยการป้องกันลูกรักให้ห่างไกลโรคร้าย ด้วยวิธีการป้องกันไข้เลือดออกดังต่อไปนี้ค่ะ

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นการจัดการต้นตอของปัญหา โดยคุณแม่ควรสำรวจแหล่งน้ำขังรอบตัวบ้านและในบ้านา โดยอ่างใส่น้ำ, แจกัน, ที่รองกระถาง หรือแอ่งน้ำนิ่ง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นจุดที่เอื้อต่อการวางไข่ของยุงลาย คุณแม่ควรหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกัน ปล่อยปลาในอ่างน้ำ หรือใส่น้ำเดือดลงไปในแหล่งนั้นทุก 7 วันค่ะ
  • สวมเสื้อแขนยาวและทายากันยุงให้ลูก เมื่อลูกต้องออกไปนอกบ้านตอนกลางคืน การใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวจะช่วยป้องกันได้ และควรทายากันยุงให้ลูกด้วยค่ะ
  • ฉีดสเปรย์กำจัดยุงในบริเวณบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงอาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน คุณแม่ควรฉีดสเปรย์กำจัดยุงทั่วบ้านอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง และสำหรับคุณแม่ที่กำลังสงสัยว่าควรซื้อสเปรย์ยี่ห้อไหนดี เราขอแนะนำ ไบกอน (Baygon) สเปรย์กำจัดยุง มด แมลงสาบ สูตรลาเวนเดอร์ การันตีคุณภาพได้ด้วยชื่อแบรนด์ที่คุ้นเคย อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี กำจัดยุงร้ายได้อย่างอยู่หมัด และไม่ต้องกังวลถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะรุ่นนี้ หอมกลิ่นลาเวนเดอร์ค่ะ

สำหรับคุณแม่ที่สนใจสามารถหาซื้อ ไบกอน สูตรลาเวนเดอร์ ได้ที่ห้างสรรพสินค้าทั่วไปรวมถึง 7-11 ด้วยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team