การอัลตราซาวด์เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งท้องทั้งหลายคุ้นเคย แต่สำหรับคุณแม่มือใหม่ การอัลตราซาวด์ก็เป็นสิ่งที่แปลกใหม่เช่นกัน วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับการอัลตราซาวด์มาฝากคุณแม่มือใหม่กัน มาดูว่าใน ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง และการอ่านใบอัลตราซาวด์ทำอย่างไร
การอัลตราซาวด์ คืออะไร
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นเสียงในการสร้างภาพลูกในท้องคุณแม่ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านร่างกายคุณแม่ คลื่นเสียงนี้จะสะท้อนกับกล้ามเนื้อ ไขมัน อวัยวะในช่องท้อง และร่างกายของทารก รก น้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของคุณแม่ แล้วสะท้อนกลับมายังอุปกรณ์ตรวจรับเพื่อแปลงเป็นภาพทางหน้าจออีกครั้ง
ใบอัลตราซาวด์บอกอะไรบ้าง
ในสัปดาห์ที่ 6-8 จะมีการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ จำนวนของทารก และดูการเต้นหัวใจ รวมถึงตรวจภาวะการตั้งครรภ์ ว่ามีความเสี่ยงต่ภาวะท้องนอกมดลูก-ท้องลมหรือไม่ ตรวจว่ามีเนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่หรือไม่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการตั้งครรภ์
ในสัปดาห์ที่ 10-14 ในสัปดาห์นี้จะมีการตรวจหาความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรงบางอย่าง วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มอาการ Down Syndrome
สัปดาห์ที่ 18-22 ตรวจดวามผิดปกติหรือความพิการของทารกอย่างละเอียด (Anomaly Scan) ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทรก ตรวจตำแหน่งรก สายสะดีอ และปริมาณน้ำคร่ำ
สัปดาห์ที่ 28-3 ตรวจความผิดปกติของทารกอีกครั้งก่อนคลอด ตรวจการเจริญเติบโต และน้ำหนักตัวของทารก ตรวจสุขภาพทารก การหายใจ และการเคลื่อนไหว
สำหรับตัวอักษรย่อและศัพท์ทางการแพทย์ที่สามารถพบได้ในการอ่านผลคลื่นเสียงความถี่
- BPD = Biparietal diameter คือ ความกว้างของศีรษะ
- HC = Head circumference คือ เส้นรอบวงของศีรษะ
- AC = Abdominal circumference คือ เส้นรอบวงของท้อง
- FL = Femur length คือ ความยาวกระดูกต้นขา
- HL = Humerus length คือ ความยาวกระดูกต้นแขน
- FHR = Fetal heart rate คือ อัตราการเต้นหัวใจของทารก
- ค่าปกติ 110-160 ครั้งต่อนาที
- EFW = Estimated fetal weight คือ ค่าประมาณน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งได้จากการคำนวณตามสมการของ Shepard หรือ Hadlock
- Shepard ใช้ BPD/AC ในการคำนวณ
- Hadlock ใช้ BPD/AC/FL ในการคำนวณ
- EFW percentile คือ ค่าการเปรียบเทียบน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์กับประชากรทารกที่อายุครรภ์เดียวกัน
- ค่าปกติจะอยู่ที่ 10-90 percentile
Loading...You got lucky! We have no ad to show to you!
- ถ้า <10 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวน้อย อาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- ถ้า >90 percentile แสดงว่าทารกมีน้ำหนักตัวมาก อาจมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
- AFI = Amniotic fluid index คือ ปริมาณน้ำคร่ำรวมจากการวัด 4 ตำแหน่ง
- DVP = Deepest vertical pocket คือ ปริมาณน้ำคร่ำที่วัดความลึกได้มากที่สุดจากการวัด 4 ตำแหน่ง
- Placental site คือ ตำแหน่งที่รกเกาะกับมดลูก
- Placenta previa คือ มีรกเกาะต่ำ
- Placental grade คือ ลักษณะของเนื้อรก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์
- Umbilical cord insertion คือ ตำแหน่งที่สายสะดือออกจากรก
- Centric คือ ออกตรงกลางรก
- Eccentric คือ ออกค่อนมาด้านข้างของรก
- Marginal คือ ออกมาที่ขอบรก ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์
- Vertex หรือ Cephalic คือ ทารกท่าศีรษะ
- Breech คือ ทารกท่าก้น
- Transverse lie คือ ทารกท่านอนขวาง
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
Source : mamykid , นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 63 อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของทารกได้หรือไม่
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 44 พาเทาซินโดรมคืออะไร (Patau syndrome)
ภาวะช่องคลอดแห้ง ก่อนวัยอันควร มีวิธีป้องกัน และรักษา ได้อย่างไร