ใบบัวบก สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงามของเอเชีย ที่หลายคนไม่เคยรู้

 

 

 เมื่อพูดถึงบัวบกหลายๆคนคงจะนึกถึงสรรพคุณที่ว่าแก้ช้ำใน จะอกหักมาหรือถูกใครทอดทิ้งมาก็ให้กินน้ำใบบัวบกแก้ช้ำใน แต่เดี๋ยวก่อน…….ในความเป็นจริงแล้วบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมายไม่เฉพาะแค่แก้ช้ำในเพียงอย่างเดียว

ใบบัวบกมีสารประกอบสำคัญๆหลายชนิด อย่าง บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์  ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีกรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และกรดอะมิโน อย่างแอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น จึงได้มีผู้นำสรรพคุณของใบบัวบกมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านสุขภาพและความงาม ดังนี้

 

สรรพคุณทางด้านสุขภาพ

  1. ขับพิษร้อน และความชื้น สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานใบบัวบก เนื่องจากใบบัวบกนั้นมีฤทธิ์ขมเย็น สามารถช่วยสลายความชื้นในร่างกายและขับความร้อนออกมาได้ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากรับประทานมาก ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเย็นจนเกินไปและเป็นอันตรายได้
  2. ระบายความร้อน ความร้อนในร่างกายหากสูงมากเกินไปอาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการไข้ ตัวร้อน กระหายน้ำ ตลอดจนการอักเสบ ดังนั้นการรับประทานใบบัวบกที่มีฤทธิ์เย็น จึงสามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังช่วยขับพิษร้อนออกจากร่างกายได้อีกด้วย
  3. สมานแผลและรักษาโรคผิวหนังบางชนิด หนึ่งในสารสำคัญที่ส่งผลให้ใบบัวบกกลายเป็นสมุนไพรที่มากสรรพคุณก็คือสารไตรเตอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) ที่มีการศึกษากับสัตว์แล้วพบว่าสามารถช่วยสมานบาดแผลได้ สารดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับบาดแผล และช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณบาดแผลมากขึ้น ส่งผลให้บาดแผลค่อยๆ หายดีขึ้นในระยะเวลาที่น้อยลง
  4. แก้ปัญหาเส้นเลือดขอด เมื่อหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นก็ทำให้หลอดเลือดดำเกิดการฉีกขาดและทำให้เลือดไหลออกมาคั่งอยู่บริเวณขา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมที่เรียกว่าอาการเส้นเลือดขอดนั่นเอง
  5. ลดความกระวนกระวาย ช่วยให้จิตใจสงบ สารไตรเตอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในใบบัวบกนั้น นอกจากจะช่วยในการสมานแผลและรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้แล้วก็ยังมีฤทธิ์ในการลดความกระวนกระวายและช่วยกระตุ้นกลไกการทำงานของสมอง โดยมีการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานใบบัวบกมีแนวโน้มที่จะตกใจกับเสียงรบกวนน้อยกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก แต่ก็ต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก จึงยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าควรใช้ปริมาณใดจึงจะได้ผลและไม่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ
  6. ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ใครที่มักจะนอนไม่หลับบ่อยๆ ลองหาใบบัวบกมารับประทานก็ดีเหมือนกันนะ เพราะใบบัวบกไม่เพียงแต่ช่วยลดความกระวนกระวายเท่านั้น แต่ก็ยังช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายลงได้ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น โดยแค่เพียงรับประทานเป็นประจำก่อนนอน ก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
  7. ลดความดันโลหิต  ใบบัวบกเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะใบบัวบกนั้นจะไปทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดภาวะความเครียดอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  8. ลดอาการบวม อาการบวมช้ำมีสาเหตุมาจากการที่ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณดังกล่าวทำงานผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการคั่งของเลือด การรับประทานใบบัวบกไม่ว่าจะเป็นแบบน้ำคั้นดื่ม หรือแบบที่เป็นสารสกัดแคปซูล สามารถช่วยลดอาการบวมช้ำบริเวณบาดแผลได้ รวมทั้งยังลดอาการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการบวมได้อีกด้วย
  9. บำรุงสมอง ใบบัวบกเป็นพืชอีกชนิดที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์สมอง รวมทั้งช่วยคลายความอ่อนล้าของสมอง เพิ่มการทำงานของสมองและความจำ แถมยังสามารถลดภาวะซึมเศร้า และสามารถช่วยยับยั้งอาการของโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นในสมองได้ 
  10. รักษาอาการติดเชื้อ ใบบัวบกเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่ช่วยรักษาโรคไข้หวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งอาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ ได้อีกมากมาย เรียกได้ว่าไม่ว่าจะติดเชื้ออะไรก็ตาม ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาได้หมด แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
  11. บรรเทาอาการอ่อนเพลีย นอกจากรักษาอาการป่วยต่างๆ แล้ว ใบบัวบกยังสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความอ่อนเพลียได้ และถ้าหากรับประทานในช่วงอากาศร้อนด้วยละก็ น้ำใบบัวบกก็สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายและดับกระหายได้เป็นอย่างดี

 

12.. รักษาโรคหนังแข็ง เนื่องจากใบบัวบก มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย จึงสามารถใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคหนังแข็งได้ โดยมีการศึกษากับผู้หญิง 13 คนที่มีอาการของโรคหนังแข็งพบว่า การใช้ใบบัวบกสามารถลดอาการปวดตามข้อ และลดการเกิดหนังแข็ง รวมทั้งทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในปริมาณที่แพทย์ควบคุมเท่านั้น

 

นอกจากประโยชน์ทางด้านสุขภาพแล้ว ใครจะรู้บ้างว่าใบบัวบกก็มีประโยชน์ทางด้านความงามไม่แพ้กัน

สรรพคุณด้านความงาม

1.ต้านริ้วรอย

ใบบัวบกอุดมไปด้วยกรดอะมิโน, เบต้าแคโรทีน, กรดไขมันและไฟโตเคมิคอล สารอาหารที่ผสมผสานกันอย่างดีเยี่ยมนี้ให้ประโยชน์ที่น่าอัศจรรย์สำหรับผิว โดยรวมถึงคุณสมบัติในการต้านริ้วรอยอย่างมีประสิทธิภาพ คอลลาเจนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดูแลผิวให้ตึงและอ่อนเยาว์ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเช่นเดียวกับการสังเคราะห์คอลลาเจนและเนื้อเยื่อผิวที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวของสาวๆ

 2.เร่งการสมานแผลให้เร็วขึ้น

ใบบัวบกมีหน้าที่อันน่าทึ่งอีกอย่างคือสามารถเพิ่มฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในบริเวณที่เป็นแผล, เสริมสร้างความแข็งแรงให้ผิวและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ใบบัวบกมีชื่อเสียงในด้านความสามารถช่วยลดการเกิดสิวและตุ่มแดง สาวๆ จะพบสารประกอบตัวนี้อยู่เสมอในผลิตภัณฑ์รักษาสิวและผลิตภัณฑ์สำหรับผิวที่เป็นสิวง่าย

3.ลดการทำร้ายจากแสงแดด

ใบบัวบกอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการต่อสู้กับความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีของดวงอาทิตย์ เช่น ผิวคล้ำดำและจุดด่างดำ โดยช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมผิวและเสริมสร้างชั้นบนของผิว ใบบัวบกยังมีความสามารถในการปกป้องเซลล์ต่างๆ จากการทำลายของแสงแดดและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลผิว

4.กำจัดเซลลูไลท์ ใบบัวบกช่วยกระชับและทำให้ผิวตึง อีกทั้งช่วยลดรอยแตกลาย เพิ่มความเร็วในการรักษาและช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็น ช่วยคุณได้ค่ะ รวมทั้งช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น และลดการอักเสบอันเกิดจากเซลลูไลท์ได้อีกด้วย

ตัวอย่างใช้บัวบกเพื่อความงาม

การพอกหน้าด้วยใบบัวบก : เลือกใช้ใบบัวบกสด แล้วนำมาล้างทำความสะอาด จากนั้นจึงนำไปหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นหรือบดกับน้ำสะอาด 1 แก้ว นำมาพอกหรืออาจใช้สำลีชุบน้ำใบบัวบกทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น ทำเป็นประจำทุกวันก่อนนอน

 

บำรุงเส้นผมให้ดำเงางามผมดกดำ ผมหงอก ผมร่วง  เอาใบบัวบก 1 กำมือไปตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปหมักผมทิ้งไว้20 นาที แล้วจึงสระออกด้วยแชมพูแบบปกติ ควรทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เส้นผมจะดกดำ และรากผมแข็งแรง ไม่ร่วงง่าย

 

รู้แล้วว่า การทาน หรือ ทา ใบบัวบกนี่ให้ผลดีต่อสุขภาพจริงๆ

บทความโดย

nichnipa