ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยง ”ปวดคอ” เรื้อรัง
คุณเคยฉุกคิดสักนิดหรือไม่ว่าการก้มดูโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ อาจทำให้กระดูกสันหลังบาดเจ็บถาวร นี่เป็นความจริง เพราะเราเชื่อว่าคุณคงไม่ได้ก้มเช็คมือถือแค่วันละครั้งแน่นอน มีรายงานระบุว่าคนเราจะก้มดูมือถือเฉลี่ยวันละ 110 ครั้ง
นี่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็กจำนวนมากก็มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่เช่นกัน ผู้ปกครองมักสงสัยว่าลูก ๆ ของพวกเขามีอาการเหล่านี้ได้อย่างไร แต่แพทย์ระบุว่าอาการเจ็บปวดเหล่านี้อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังหากผู้ป่วยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากเกินไป
iSlouching และ iGrinding
เมื่อไม่นานนี้มีศัพท์ใหม่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อไว้บรรยายลักษณะท่าทางในการเล่นมือถือหรือแท็บเล็ตโดยเฉพาะ คำแรกคือคำว่า “iSlouching” หรือท่านั่งหลังงอเวลาเล่นแท็บเล็ตหรือมือถือ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังมากกว่าปกติ
แพทย์อธิบายว่าหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กมักมีอาการปวดคอจากการนั่งผิดท่าผิดทาง และอาจทำให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังหากไม่ระวัง และทำให้กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อระหว่างกระดูกสันหลังเสียหายถาวร
ส่วนคำว่า “iGrinding” หมายถึงการขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน กัดฟันระหว่างที่กำลังเล่นเกม ซึ่งทำให้กรามเกิดอาการเจ็บปวด มักเกิดขึ้นได้บ่อยในกลุ่มเด็ก ๆ
การอยู่ในอิริยาบถเหล่านี้นาน ๆ เป็นประจำจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Repetitive strain injury (RSI) หรืออาการบาดเจ็บซ้ำซาก ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือเส้นประสาท อันเกิดจากการเคลื่อนไหวส่วนนั้น ๆ ของร่างกายซ้ำ ๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการที่ยืนยันว่าการเล่นเกมหรือการใช้โทรศัพท์มือถือจะทำให้เกิด RSI
อ่านต่อหน้าถัดไป >>>
5 เคล็ดลับเลี่ยงอาการปวดคอ หลัง และไหล่
เมื่อโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และการใช้คอมพิวเตอร์ทำให้คุณเกิดอาการปวดคอ หลัง และไหล่ เรามีเคล็ดลับวิธีแก้ดังนี้
1. เงยหน้า
วิธีที่จะหลีกเลี่ยงอาการปวดคอที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการก้มหน้านาน ๆ แทนที่จะก้มดูมือถือ เราแนะนำให้คุณยกมือถือขึ้นมาที่ระดับสายตา แรก ๆ อาจจะดูเงอะงะไม่ถนัด แต่สักพักคุณจะเริ่มชิน ถ้าเด็ก ๆ นั่งเล่นแท็บเล็ตบนตัก ให้ยกแท็บเล็ตขึ้นมาตั้งบนโต๊ะแทนจะดีกว่า
2. พักซะบ้าง
ถ้าคุณก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตนาน ๆ คุณควรจะพักยืดเส้นยืดสายบ้าง คนเราไม่ควรนั่งอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่นเดียวกับเด็ก ๆ คุณควรให้เด็ก ๆ พักจากการเล่นแท็บเล็ตเพื่ออกไปวิ่งเล่นหรือออกกำลังกายบ้าง
3. โทรแทนแชท
แทนที่จะแชทกันตลอดเวลา บางครั้งก็ลองเปลี่ยนเป็นการโทรหาเพื่อนแทน คุณจะได้ไม่ต้องก้มหน้าพิมพ์ และได้พักสายตาหรือยืดคอบ้าง
4. ถนอมนิ้ว
การพิมพ์ข้อความทางมือถือมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกได้ ฉะนั้นพยายามหาลูกบอลบริหารนิ้วมาบีบเล่นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อมือ
5. ให้แอพช่วย
ลองโหลดแอพพลิเคชั่นของระบบแอนดรอยด์ที่มีชื่อว่า “Text neck” มาใช้ดู แอพนี้จะโชว์ไฟเขียนเมื่อคุณยกโทรศัพท์ขึ้นมาที่ระดับสายตา และโชว์ไฟสีแดงเมื่อคุณก้มหน้าลง แต่ที่เจ๋งกว่านั้นคือ แอพนี้สามารถส่งรายงานท่าทางการเล่นแท็บเล็ตของลูกไปให้ผู้ปกครองดูอีกด้วย
เหตุผลที่คุณไม่ควรนอนกับสมาร์ทโฟน