แม่ต้องรู้จัก “ไอพีดี” โรคร้ายในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไอพีดี โรคร้ายในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ

รู้ไหม? เชื้อนี้อยู่ในร่างกายเรา

โรคไอพีดี (IPD) เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อชนิดแพร่กระจายที่อันตราย มักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ เรียกว่าเป็นพาหะ แต่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะแพร่กระจายออกไปเช่นเดียวกับโรคหวัด โดยพบว่าอัตราการเป็นพาหะของเชื้อจะสูงมากในเด็กโดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 50  ถ้าเชื้อนี้เข้าสู่เด็กเล็กซึ่งยังมีภูมิต้านทานต่ำก็จะติดเชื้อง่าย

เชื้อนิวโมคอกคัสอันตรายแค่ไหน?

โรค IPD ถือเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความพิการและการตายทั่วโลก โดยเชื้อนิวโมคอคคัส สามารถทำให้ติดเชื้อรุนแรงได้ในอวัยวะหลายระบบ เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบ (โรคหูน้ำหนวก) ปอดบวม (ปอดอักเสบ) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดรุนแรงที่มีการลุกลามเข้าสู่สมองหรือกระแสเลือด หากรักษาไม่ทันท่วงที เด็กสามารถเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง

เด็กกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไอพีดี?

เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรค ไอพีดี ครอบคลุมตั้งแต่ เด็กที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีโรคประจำตัว ไปจนถึงเด็กที่มีสุขภาพดีแต่อยู่รวมกับเด็กอื่นจำนวนมาก และเด็กสุขภาพดีที่อายุยังน้อยก็สามารถติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ ดังนี้

– เด็กที่มีสุขภาพดีอายุน้อยกว่า 2 ปี

– เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับเรื้อรัง

– เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี

– เด็กที่อยู่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน

– เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว

– เด็กที่เคยมีประวัติติดเชื้อในหู

– เด็กที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ

โรคไอพีดี มีอาการอย่างไร?

โรค ไอพีดี จะมีอาการไข้เหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไป แต่ถ้าการติดเชื้อรุนแรงลุกลาม ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง ส่วนในเด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคนี้ต้องมีการตรวจเพาะเชื้อ จากการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง

2. การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อค และเสียชีวิตได้

3. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว

4. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไอพีดี ป้องกัน ดีกว่า รักษา อย่างไร คลิกอ่านหน้าต่อไป

โรคไอพีดีรักษาอย่างไร?

การติดเชื้อนิวโมคอคคัส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบสามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบลุกลาม ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

การติดเชื้อแบบลุกลาม จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เด็กชัก เกิดความพิการของสมองปัญญาอ่อนได้ ถึงแม้ว่าโรค IPD จะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ปัจจุบันพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัส บางสายพันธุ์มีการดื้อยา ทำให้การรักษาลำบากมากขึ้น และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้เกิดความพิการ และเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันโรคไอพีดี จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคไอพีดี

1. การฉีดวัคซีนไอพีดี เสริมภูมิคุ้มกันตั้งแต่วัยทารก

วัคซีนสำหรับโรคไอพีดีสามารถฉีดได้ ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ ถึง 9 ปี แต่การฉีดวัคซีนป้องกันให้ได้ผลดีที่สุด ต้องฉีดตั้งแต่ยังเป็นทารก

วัคซีน นิวโมคอคคัส คอนจูเกต วัคซีนชนิด 7 สายพันธุ์ (เรียกย่อๆ ว่า pcv 7) สามารถครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัสที่สำคัญ 7 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคสำคัญ ที่พบบ่อยและมักจะดื้อยา

คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก คือ ให้ฉีดวัคซีนชนิด pcv 7 ตามคำแนะนำของต่างประเทศ คือ อายุ 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน (4 ครั้ง)

วัคซีนนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการเกิดโรคติดเชื้อ ไอพีดี ในทารกและเด็กเล็ก ทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อพาหะในโพรงจมูกและลำคอของเด็ก ทำให้ลดการแพร่กระจายเชื้อนิวโมคอคคัสไปยังเด็กอื่นๆ และบุคคลใกล้เคียง และยังลดอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะต่อเชื้อนิวโมคอคคัสด้วย

สำหรับเด็กที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีน 1 ครั้ง

2. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่ไปสู่ลูก

3. สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดีโดยการล้างมือบ่อยๆ ปิดปากจมูกทุกครั้งที่มีอาการจามหรือไอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสัมผัสผู้ป่วย หรือสถานที่ที่มีเด็กจำนวนมาก เช่น สถานเลี้ยงเด็ก

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thaihealth.or.thwww.manager.co.th

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

อุทาหรณ์! โดนญาติเห่อทั้งอุ้มทั้งหอม ลูกป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

แม่รู้ไหม? เป่า กัดอาหารป้อนลูกเสี่ยงติดเชื้อฟันผุได้