โรคไข้อีดำอีแดง เกิดจากอะไร? ไข้อีดำอีแดง หรือ Scarlet fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ สเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปเอ (Group A streptococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนบน เช่น คออักเสบ ร่วมกับมีผื่นจากพิษของเชื้อโรค ที่มีลักษณะจำเพาะเจาะจงกับโรค ซึ่งผื่นนี้เป็นที่มาของชื่อว่า”โรคไข้อีดำอีแดง” นั่นเองค่ะ โรคนี้พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน อายุประมาณ 5-15 ปี
อาการของโรคไข้อีดำอีแดง ไข้ดำแดง เป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคไข้อีดำอีแดงจะมีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เจ็บคอ ต่อมทอนซิลบวมแดงหรือมีจุดหนอง มีไข้สูง ร่วมกับผื่นที่มีลักษณะเฉพาะของโรค เป็นเม็ด คลำดูจะหยาบๆ สากคล้ายกับกระดาษทราย โดยเริ่มขึ้นที่บริเวณรอบคอ แล้วกระจายไปทั่วตัวและแขนขา และอาจมีเส้นสีแดงขึ้นที่บริเวณข้อพับด้านใน เช่น ใต้วงแขน หรือ ขาหนีบ หลังผื่นขึ้น 3-4 วัน จะลอกออก จากลำคอ ลงมาเรื่อยๆ จากนั้น มือ เท้า ปลายมือ ปลายเท้า และเล็บจะลอก อาจพบลักษณะแก้มแดง และรอบปากซีด ลิ้นแดงมาก ลักษณะลิ้นเป็นฝ้าหนาขึ้นและมีสีออกชมพูคล้ายผลสตรอเบอรี่ อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ด้วยนะคะ
โรคไข้อีดำอีแดงติดต่อได้ทางไหน?
การติดต่อของโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อเชื้อสเตรปโตคอกคัส กรุ๊ปเอ ผ่านทางเดินหายใจ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก โดยการไอ จาม ทำให้ติดต่อไปยังผู้ที่ใกล้ชิด เช่น ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือในที่ชุมชนอื่นๆ โรคนี้มีระยะฟักตัวของเชื้อโรคประมาณ 1-3 วัน จึงแสดงอาการออกมาค่ะ
คุณหมอจะสามารถวินิจฉัยโรคไข้อีดำอีแดงได้อย่างไร?
คุณหมอจะวินิจฉัยโรคนี้โดยอาศัยการประวัติอาการที่เข้าได้กับโรค และการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยดูจากลักษณะผื่นผิวหนัง ลิ้น และคออักเสบ นอกจากนี้หากอาการไม่ชัดเจนคุณหมออาจทำการเพาะเชื้อจากในคอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อสเตรปโตคอกคัส กรุ๊ปเอได้ค่ะ
การรักษาโรคไข้อีดำอีแดงทำได้อย่างไร?
โรคไข้อีดำอีแดง สามารถรักษาได้ไม่ยากโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน และรักษาตามอาการโดยพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล โดยผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่คุณหมอสั่งเพื่อผลการรักษาที่ดี ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น หูชั้นกลางอักสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบติดเชื้อ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคไข้รูมาติก ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อที่กระดูกและข้อ ติดเชื้อในสมอง หลังรับประทานยาฆ่าเชื้อครบอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก็ลดโอกาสในการแพร่เชื้อไปได้มากแล้วค่ะ
การป้องกันโรคไข้อีดำอีแดงทำได้อย่างไร?
เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสใกล้ชิดหรือหายใจเอาละอองฝอยที่ติดเชื้อเข้าทางระบบทางเดินหายใจ
การป้องกันจึงทำได้โดย การสอนเด็กๆ ให้ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสมหะหรือน้ำลายของผู้ป่วย และที่สำคัญคือไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับเพื่อนที่ป่วยนะคะ
เห็นไหมคะว่าโรคนี้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ
ไข้อีดำอีแดงคืออะไร
ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) หรือที่เรียกกันว่าสการ์ลาติน่าเป็นเชื้อที่เกิดมาจากการเริ่มต้นของผู้ป่วยที่มีคออักเสบ จะมีลักษณะอาการเป็นผื่นแดงตามร่างกาย ผู้ป่วยจะมักมีไข้สูงและมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย และมีการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปเอ (Group A Streptococcus) ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบ ถึง 15 ปี
สาเหตุของไข้อีดำอีแดง
ไข้อีดำอีแดงเกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม A Streptococcus หรือแบคทีเรีย Streptococcus pyogenes ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถมีชีวิตอยู่ในปากและจมูกของผู้ป่วยได้ แบคทีเรียเหล่านี้สามารถผลิตสารพิษหรือพิษที่ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย
อาการของไข้อีดำอีแดง
ผื่นไข้อีดำอีแดง จะเกิดทั่วลำตัว ภายในเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังการมีไข้ ลักษณะผื่นจะเป็นสีแดงมาก ผื่นมีสัมผัสที่หยาบ ผู้ป่วยจะมีหน้าแดงและปากซีด รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้
- ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงเกิน 38 องศา
- มีอาการเจ็บคอ
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ลิ้นเป็นสีแดงที่เรียกว่า (Strawberry Tongue)
- ลิ้นจะเป็นตะปุ่มตะป่ำและมีฝ้าขาวขึ้นในช่วงแรก
- ต่อมทอมซิลโตและอักเสบ
- ปวดศรีษะ
- หนาวสั่น
ไข้อีดำอีแดงสามารถติดต่อได้หรือไม่
ไข้อีดำอีแดงสามารถแพร่กระจายหรือติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อจากจมูก หรือคอ ผ่านละอองจากการไอหรือจาม ของผู้ป่วยที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว บางครั้งอาจจะเกิดจากการใช้แก้วน้ำหรือช้อนร่วมกัน หรือการสัมผัสโดยน้ำมูก เสมหะ หรือน้ำลาย การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายได้สองถึงห้าวันก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการ
นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่ม A Streptococcus สามารถก่อให้เกิดโรคผิวหนังติดเชื้อที่เรียกกันว่าโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ(Cellulitis)
การรักษาไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever)
ไข้อีดำอีแเดงสามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฎิชีวนะ เพื่อจัดการกับเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยา จำพวก:
- ibuprofen
- acetaminophen (Tylenol)
- cephalosporin
- amoxicillin
- clindamycin
- penicillin
ที่มาจาก :https://bupa.co.th/scarlet-fever-0097/
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
โรคที่พ่อแม่ควรทำความรู้จัก : โรคคาวาซากิคืออะไร?
5 โรคฮิตในช่วงหน้าฝน เด็กเล็กและแม่ท้องต้องระวัง