โรคโมยาโมยา ชื่อแปลกแต่น่ากลัว

โรคโมยาโมยาคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน มาทำความรู้กับโรคชื่อแปลกนี้กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้องซีดีป่วยเป็นโรคโมยาโมยา

โรคโมยาโมยาเป็นโรคที่พบน้อยมากในประเทศไทย คาดว่าจะพบ 1 รายในประชากรหนึ่งล้านคน แต่พบได้บ่อยกว่าในประเทศญี่ปุ่น คือประมาณ 3 คนต่อประชากร 100,000 คน พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ ในเด็กช่วงอายุ 10 ปีแรก มักในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย

โรคโมยาโมยาคืออะไร?

โรคโมยาโมยาเป็นโรคที่เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง ตรงบริเวณ Circle of Willis ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงบริเวณใต้สมองที่มาหล่อเลี้ยงสมองและก้านสมอง ชื่อโรค “โมยาโมยา” เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า กลุ่มควันบุหรี่ เพราะจากการตรวจภาพของหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสีดูเส้นเลือดของผู้ป่วยจะพบเส้นเลือดเส้นเล็กๆ ที่ผิดปกติซึ่งมาช่วยเลี้ยงสมองแทนหลอดเลือดที่เกิดการอุดตันเป็นลักษณะคล้ายกลุ่มควันบุหรี่อยู่รอบๆ เส้นเลือดแดงที่มีการอุดตัน

อะไรเป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคโมยาโมยา?

สาเหตุของโรคโมยาโมยานี้ยังไม่ทราบได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ปัจจุบันมีการศึกษาพบตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคแล้ว นอกจากนี้พบว่าปัจจัยทางด้านความผิดปกติของภูมิคุ้มกันอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค และมีโรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรคโมยาโมยา ได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ, กลุ่มอาการดาวน์, โรคติดเชื้อวัณโรค

กลไกการเกิดโรคโมยาโมยาเป็นอย่างไร?

กลไกการเกิดโรคโมยาโมยานี้คือ มีการหนาตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นผิดปกติตรงบริเวณ Circle of Willis ทำให้ค่อยๆ มีการตีบของหลอดเลือดจนหลอดเลือดอุดตัน จึงต้องมีหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ข้างเคียงมาช่วยเลี้ยงสมองที่ขาดเลือดนี้ แต่ถ้าปริมาณเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ก็จะเกิดภาวะสมองขาดเลือด นอกจากนั้น หลอดเลือดข้างเคียงหรือหลอดเลือดที่ตีบ ก็อาจเกิดการโป่งพองของผนังหลอดเลือด ทำให้มีโอกาสเกิดการแตกของผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง ส่งผลให้มีเลือดออกในสมองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคโมยาโมยามีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคโมยาโมยาอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสมองขาดเลือดหรือเลือดออกในสมอง เช่น ในผู้ใหญ่และเด็กโตอาจมาด้วยอาการ ปวดศีรษะ, ความจำลดลง, ชัก, มีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ ในเด็กเล็กอาจร้องกวนผิดปกติ หรือซึมลง ไม่ค่อยดูดนมหรือเล่น

คุณหมอสามารถวินิจฉัยโรคโมยาโมยาได้อย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยมาพบคุณหมอด้วยอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ดังกล่าวข้างต้น คุณหมอจะสอบถามประวัติอาการต่างๆ ตรวจร่างกายระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบประสาท มีพบความผิดปกติที่น่าสงสัยก็จะส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองซึ่งอาจพบว่าจะมีลักษณะของสมองขาดเลือด หรือเลือดออกในสมอง แล้วคุณหมอก็จะส่งตรวจภาพของหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมด้วยการฉีดสี ซึ่งจะพบลักษณะจำเพาะ คือ หลอดเลือดที่ใต้สมองมีลักษณะคล้ายกลุ่มควันบุหรี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาโรคโมยาโมยาทำได้อย่างไร?

การรักษาโรคโมยาโมยา ทำได้ด้วยการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดสมองระหว่างหลอดเลือดสมองที่อุดตันกับหลอดเลือดสมองที่ปกติ เพื่อแก้ปัญหาการอุดตันของหลอดเลือด การใช้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดสมอง

การพยากรณ์โรคของโรคโมยาโมยาเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากภาวะเลือดออกในสมอง โดยทั่วไปโอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กมีประมาณ 4.3% และผู้ใหญ่ประมาณ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของเลือดที่ออกในสมอง รวมถึงการเกิดเลือดออกซ้ำๆ และจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง

ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/CDVIP

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้องซีดี นักแสดงเด็กจากเรื่องตุ๊กแกรักแป้งมากป่วยเป็นโรคโมยาโมยา ต้องการเลือดด่วน!!

โรคที่พ่อแม่ควรทำความรู้จัก : โรคคาวาซากิคืออะไร?

โรคเฮอร์แปงไจน่า: โรคระบาดน่ากลัว กลุ่มเดียวกับโรค มือ เท้า ปาก