9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

เชื่อว่าไม่มีคุณแม่คนไหนอยากป่วยในช่วงตั้งท้องแน่ ๆ ดังนั้นการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีแข็งแรงตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนควรทำเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบถึงลูกในครรภ์ได้ แต่คุณแม่ท้องก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้เหมือนคนทั่ว ๆ ไป ดังนั้นจึงควรหาทางป้องกันและดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นได้เป็นดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ นั้นแม่ท้องก็เหมือนคนทั่วไป ขนาดว่าดูแลตัวเองดีแล้วยังมีโอกาสป่วย โดยเฉพาะ โรคที่แพร่กระจายในกลุ่มคนใกล้ชิดได้ง่าย ๆ เช่น ไข้หวัด หัด คางทูม ฯลฯ หรือ เจ็บป่วยในบางโรคที่มีโอกาสส่งผลกระทบ ต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ เฝ้าระวัง 9 โรคนี้ไว้ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นได้ง่าย

9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์

โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

#1 ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

จากสถิติพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเป็นไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน ซึ่งหากเป็นไข้หวัดแบบปกติ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ แต่การเป็นไข้หวัดขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้หายช้ากว่าปกติเล็กน้อย เพราะขณะตั้งครรภ์ภูมิต้านทานของแม่จะลดลงเล็กน้อย หากต้องทานยาบางชนิดเพื่อลดอาการไข้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง และ ถ้าคุณแม่มีไข้สูงเกิน 38 องศา มีอาการรุนแรง หรือ เป็นไข้หวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ กรณีเหล่านี้ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

#2 โรคระบบทางเดินอาหาร

โรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร ที่พบบ่อยมักเกิดจากกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ หากเป็นเรื้อรังก็จะไม่เกิน 3 วัน แต่ก็จะทำให้แม่ท้องทานอาหารได้ไม่มาก ดังนั้นเมื่อมีอาการควรดื่มน้ำให้มาก การติดเชื้อแบบนี้มักไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อทารกในครรภ์ แต่ควรดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เช่น ในช่วงที่เกิดอาการ 12 ชั่วโมงแรก ไม่ควรทานอาหารใด ๆ โดยเฉพาะคนที่กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ควรงดอาหาร และ น้ำ 12-24 ชั่วโมง จึงค่อยเริ่มกินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย อาทิ โจ๊ก ข้าวต้ม ผักต้มเปื่อย จนอาการดีขึ้นแล้วค่อยกินอาหารตามปกติ แต่หากพบว่ามีอาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#3 โรคหัดเยอรมัน

โดยปกติแล้วคุณหมอมักจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันก่อนที่จะตั้งครรภ์และเว้นช่วงไม่ให้ตั้งครรภ์หลังจากฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เดือน แต่หากคุณแม่ไม่ได้วางแผนและไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันก็ต้องตรวจดูว่ามีภูมิต้านทานอยู่หรือไม่ หรือบางคนอาจมีภูมิต้านทานอยู่แล้ว

โรคหัดเยอรมันจะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์เมื่อมีการติดเชื้อ อาการใน 2-3 สัปดาห์แรกจะมีเพียงเล็กน้อย จนแทบไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว และ ต่อมน้ำเหลืองโต ผลกระทบที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับจะมาก หรือ น้อยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และไม่สามารถป้องกันได้การติดเชื้อได้ ถ้ามีการติดเชื้อในเดือนแรก โอกาสที่ลูกคลอดออกมาแล้วจะพิการมีสูงมากถึงร้อยละ 35 ในขณะที่การติดเชื้อในเดือนที่ 3 ที่จะพิการและความรุนแรงลดน้อยลง คือร้อยละ 10-15 ดังนั้นการวางแผนรับการฉีดวัคซีนป้องกัน หัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์จะดีที่สุด

#4 โรคท็อกโซพลาสโมซิส

โรคท็อกโซพลาสโมซิส เกิดจากการติดเชื้อที่เรียกว่า ท็อกโซพลาสมา เกิดขึ้นจากการกินเนื้อดิบที่มีเชื้อนี้อยู่ หรือ สัมผัสกับอุจจาระแมวที่ติดเชื้อนี้ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อนี้เข้าอาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือต้องคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดความผิดปกติของสมองได้

#5 การติดเชื้อสเตรปกลุ่มบี

คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีการติดเชื้อสเตรปกลุ่มบีถือว่าเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์มาก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยปกติการติดเชื้อนี้จะอยู่ในช่องคลอดที่ไม่ปรากฏอาการให้เห็น แพทย์จะนำมูกจากช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ หากพบเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่มากพอตั้งแต่ก่อนคลอด จึงทำให้ไม่มีการติดเชื้อต่อทารกในครรภ์ ซึ่งการติดเชื้อชนิดนี้จะเป็นสิ่งที่พบได้น้อย เนื่องจากทางการแพทย์จะระวังโรคนี้มาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#6 โรคหัด

การฉีดวัคซีนป้องกันหัดถือเป็นเรื่องต้องห้าม สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะการฉีดวัคซีนเหมือนกับการให้ร่างกายได้รับเชื้อโดยตรงเพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเชื้อที่ถูกฉีดเข้าไปอาจมีผลกระทบ ต่อทารกในครรภ์ได้ แต่หากแม่ท้องมีการติดเชื้อช่วงใกล้คลอด อาจทำให้ทารกเกิดภาวะติดเชื้อไวรัสในเลือด ซึ่งแพทย์จะให้แกมม่าโกลบูลินแก่ทารกทันที ที่เกิดเพื่อลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ

#7 การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ในร้อยละ 10 ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการติดเชื้อ 1 ครั้งและคนที่ติดเชื้อแล้ว 1 ใน 3 คนจะติดเชื้อซ้ำอีกได้ อาการที่พบบ่อย คือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบซึ่งมักจะไม่แสดงอาการ แต่พบได้เมื่อมีการตรวจปัสสาวะในตอนฝากครรภ์ ถ้าพบการติดเชื้อจะต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะนำไปสู่การติดเชื้อที่กรวยไต หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้กรวยไตอักเสบซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตัวแม่ท้องและลูกในครรภ์ และ หากเป็นกรวยไตอักเสบในช่วงหลังอายุครรภ์เดือนที่ 7 เป็นต้นไป จะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#8 โรคตับอักเสบชนิดบี

โรคนี้สามารถถ่ายทอดจากแม่มาสู่ลูกในครรภ์ได้ หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคตับอักเสบบี ควรดูแลและรักษาตัวเองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะฟื้นคืนสู่สภาพปกติเอง

#9 โรคอีสุกอีใส

เนื่องจากอาการของโรคนี้หากเกิดขึ้นผู้ใหญ่จะรุนแรงกว่าเด็ก หากมาเป็นในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์จะต้องได้รับแกมม่าโกลบูลินภายใน 96 ชั่วโมงหลังการสัมผัสโรค และให้ระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

ข้อมูลจาก : www.babytrick.com

https://hd.co.th/family/newborn-babies

บทความโดย

Napatsakorn .R