โรคสะเก็ดเงินในทารก คืออะไร
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า โรคสะเก็ดเงินในทารก (Psoriasis) คือ โรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน
ส่วนใหญ่ โรคสะเก็ดเงินมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นพื้นฐาน แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่ช่วยกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ ได้แก่ ความเครียด ความโกรธ อาการหงุดหงิด และฉุนเฉียว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน การเกิดโรคของอวัยวะภายในต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไต เป็นต้น และอาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือยาบางชนิด การระคายเคืองจากผงซักฟอก สบู่ ครีมที่มีกรดผสม เช่น ครีมลอกหน้า ขัดผิวค่ะ อากาศก็เป็นตัวกระตุ้นได้ดีเช่นกัน เช่น เมื่อผิวลูกน้อยสัมผัสกับอากาศหนาว ผิวหนังแห้ง การฉีดวัคซีน อาหาร และการสูบบุหรี
อาการของโรคสะเก็ดเงินในทารก
อาการผื่นผิวหนังเป็นได้หลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง (Erythematous plaque) ลอกเป็นขุย เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยบางรายเป็นเฉียบพลันแล้วผื่นก็หายไป บางรายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจพบได้ คือ ความผิดปกติที่เล็บ ข้ออักเสบ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของเล็บหรือปวดข้อนำมาก่อน หรือเกิดขึ้นพร้อมๆ กับอาการผื่นผิวหนังอักเสบ
โรคสะเก็ดเงินเกิดจากอะไร ลักษณะของโรคสะเก็ดเงินในทารก
เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีอาการและอาการแสดงต่างกันไป แต่โดยทั่วไปอาการจะประกอบด้วย
- ผิวหนัง ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า รวมทั้งฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ซึ่งจะแสดงออกเป็นลักษณะของผื่นต่างๆ ได้แก่
- ตุ่มแดง ตามรูขน
- ปื้นแดง หนา เป็นวงกลม บริเวณศอก เข่า มือ ก้นกบ (Psoriasis vulgaris)
- ผื่น แดง มีขุย บริเวณที่มีต่อมไขมันมาก (Seborrheic area) เช่น หนังศีรษะ หลังหู หน้าผาก ร่องจมูก หน้าอก (Sebo-psoriasis)
- ตุ่มแดง ขนาดเล็กกว่า 1 ซม. กระจายตามตัว (Guttate psoriasis)
- ผื่นแดงขนาด 4-5 ซม. คันกระจายตาม แขน ขา (Nummular psoriasis)
- ผื่นหรือปื้นแดงตามข้อพับ ขาหนีบ (Intertriginous psoriasis) คล้ายๆ ผื่นผ้าอ้อม
- ผื่นแดงเป็นวงแหวน คล้ายแผนที่ (Annular psoriasis, figurate psoriasis)
- ผื่นหรือปื้นหนาแดงมีสะเก็ดสีขาวกระจายทั่วตัว (Psoriasis universalis)
- ผื่นแดงลอกทั้งตัว (Erythroderma)
- ตุ่มหนองตามฝ่ามือฝ่าเท้า นิ้วมือหรือนิ้วเท้า (Localized pustular psoriasis)
- ตุ่มหนองกระจายทั่วตัว ผู้ป่วยมักมีอาการตามระบบร่วมด้วยเช่น ไข้สูง ปวดเมื่อย (Generalized pustular psoriasis)
- ผื่นโรคสะเก็ดเงินที่เยื่อบุ ( Mucosal psoriasis) ตำแหน่งที่พบผื่นแดงเป็นขุยบ่อยอยู่ที่ บริเวณอวัยวะเพศ
- เล็บมือและเท้า ความผิดปกติที่เล็บมือพบได้ถึงร้อยละ50 เล็บเท้าพบได้ร้อยละ 35 ลักษณะผิดปกติที่พบมีตั้งแต่ ผิวของเล็บเป็นหลุมเล็กๆ จนถึงเล็บผิดรูปขรุขระทั้งเล็บ ลักษณะผิดปกติที่พบนอกจากนี้ ได้แก่ เล็บหนามีขุยขาวใต้เล็บ เล็บล่อนจากพื้นเล็บ เป็นต้น
- โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินบางรายมีอาการข้ออักเสบร่วมด้วย อาการข้ออักเสบจะเกิดตามหลังผื่นผิวหนังอักเสบ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเกิดพร้อมๆ กับผื่นผิวหนังอักเสบ หรือมีอาการทางข้ออักเสบนำมาก่อนก็ได้ ข้อที่เกิดการอักเสบบ่อยคือ ข้อนิ้วมือส่วนปลาย ข้อมือ ศอก เข่า ข้อกระดูกคอ กระดูกสันหลังเป็นต้น เมื่อมีอาการอักเสบจะมีอาการบวมแดงร้อน ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะเกิดอาการพิการของข้อได้
เมื่อลูกป่วยควรดูแลอย่างไร
การรักษาโดยของโรคสะเก็ดเงินมีด้วยกัน 4 รูปแบบ คือ การใช้ยาทาภายนอก การฉายแสง การใช้ยารับประทาน และยาฉีด โดยแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของอาการผู้ป่วยแต่ละราย สำหรับเด็กอาจแบ่งการรักษาออกเป็นความรุนแรงของผื่น ดังนี้
- ลูกเป็นผื่นน้อย อาจใช้ยาทาเป็นหลัก พวกสเตียรอยด์ เป็นยาที่แพทย์ทั่วไปนิยมใช้ เพราะได้ผลเร็ว ราคาไม่แพงนัก ไม่ระคายเคือง แต่ควรใช้ระยะสั้นๆเนื่องจากการใช้ระยะยาวจะก่อให้เกิดผิวหนังฝ่อ หลอดเลือดขยายตัว ผิวแตก และการดื้อยา แนะนำให้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ค่ะ
- ลูกเป็นผื่นมาก ส่วนใหญ่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบ จำเป็นต้องใช้ยารับประทานและใช้การฉายแสงในการรักษา ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง และลูกน้อยต้องเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน จึงจะได้ผลค่ะ
เมื่อลูกป่วยควรดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยไม่ให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากภาวะนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอจะมีส่วนสัมพันธ์กับการกำเริบของโรคสะเก็ดเงินได้มากถึงร้อยละ 30-40
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต และ ยารักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งมีส่วนทำให้อาการของโรคสะเก็ดเงินกำเริบได้ ผู้ป่วยจึงควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ทราบทันทีหากมีการใช้ยาดังกล่าวร่วมด้วย
- หลีกเลี่ยงแสงแดดที่ร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น จนมีผื่นสะเก็ดเงินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี การระคายเคืองต่างๆ ในบริเวณร่างกายจากการกด รัด เสียดสี เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดอาการผื่นคัน และมีอาการของโรคสะเก็ดเงินกำเริบในเฉพาะส่วนได้
ที่มา: mahidol, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
กันไว้ดีกว่าแก้!!!ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก
รวมเพลงเต้นเด็กสนุกๆ เสริมทักษะภาษาอังกฤษ พร้อมท่าเต้นน่ารักๆ
โรคอาร์เอสวี (RSV) คืออะไร ทำไมเด็กติดง่ายจัง ล่าสุดลูกดาราป่วยแล้วหลายคน