"โรคสะพั้น" ในเด็กป้องกันได้ด้วยวัคซีน

สะพั้น หรือตะพั้น คือ ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา แม้คนโบราณจะว่า เด็กแรกเกิดเป็นสะพั้นแล้วมักไม่รอด แต่ในปัจจุบัน โรคสะพั้น สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคสะพั้น คืออะไร

ในสมัยก่อนทารกแรกเกิดเสียชีวิตด้วยโรคสะพั้นกันมาก เนื่องจาก การคลอดตามบ้านโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือ รวมถึงการดูแลสะดือเด็กแรกเกิดที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านทางสะดือของเด็กแรกเกิด โดยเด็กจะมีอาการดูดนมไม่ได้ ขากรรไกรแข็ง ชักหลังแอ่น ในช่วงหลังคลอด 5-10 วัน และเสียชีวิตภายในไม่กี่วัน ซึ่งอาการที่ว่านี้ เป็นอาการของโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิดนั่นเอง

สาเหตุ โรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด

เชื้อบาดทะยักเป็นเชื้อที่อยู่ในลำไส้ของวัว ควาย เมื่อสัตว์ถ่ายมูลลงที่พื้นดิน เชื้อบาดทะยักก็จะกระจายอยู่ในดินและฝุ่นละออง โดยสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นปีๆ และเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีออกซิเจนน้อย แม้มันจะถูกต้มให้เดือดก็ยังไม่สามารถกำจัดเชื้อบาดทะยักให้หมด

ในสมัยก่อนคนในชนบทคลอดลูกที่บ้าน หรือทำคลอดด้วยหมอตำแย เมื่อเด็กคลอดออกมาก็เอาสายสะดือพาดบนก้อนดิน แล้วใช้ไม้เรียวไผ่เฉือนตัดสายสะดือบนก้อนดินจนกว่าจะขาด แล้วก็ใช้ยาผงโรงสะดือเพื่อให้เลือดหยุด

การตัดสายสะดือบนก้อนดินเช่นนี้ทำให้เชื้อบาดทะยักจากก้อนดินเข้าไปในสะดือเด็กได้ง่าย และการโรยผงบนสะดือ อาจยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น เพราะผงยาจะไปขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนเข้าถึงเชื้อบาดทะยัก ยิ่งมีออกซิเจนน้อยเชื้อบาดทะยักก็จะยิ่งเจริญเติบโตได้ดี  ตามที่ได้กล่าวมาแล้วค่ะ

บทความแนะนำ 5 สิ่งห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด

อาการ โรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด

ในช่วงหลังคลอด 5-10 วัน เด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อบาดทะยักมักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ร้องกวน ไม่ยอมดูดนม ขากรรไกรแข็ง กลืนลำบาก ขยับปากไม่ได้ ยิ้มแสยะ
  2. ชักเกร็งกล้ามเนื้อทุกส่วน แขนขา หน้าอก คอ หน้าท้อง หลัง ทำให้มีอาการคอแข็ง ท้องแข็ง หลังแอ่น
  3. ในขณะที่มีอาการหดเกร็งและแข็งตัวของกล้ามเนื้อ ทารกจะยังมีสติรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ต่างจากโรคลมชัก โรคสมองอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว
  4. ถ้ากล้ามเนื้อหดเกร็งและแข็งตัวเป็นเวลานาน ทำให้ขาดอากาศและตัวเขียว กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำหน้าที่ตามปกติไม่ได้ หลอดลมหดเกร็ง จนเกิดภาวะหายใจล้มเหลวตามมาและเสียชีวิตในที่สุด

การป้องกัน โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่คลอดบุตรในโรงพยาบาล ไม่ได้คลอดตามบ้านเหมือนแต่ก่อน รวมทั้งมีการดูแลสะดือทารกอย่างถูกต้องมากขึ้น โรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด จึงพบน้อยลงมาก แต่บาดทะยักเป็นโรคติดเชื้อที่อันตรายและรุนแรงมาก การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ตัดสายสะดือด้วยอุปกรณ์ที่สะอาดปลอดภัย หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถไปคลอดที่โรงพยาบาลได้ทัน ควรใช้มีดเผาไฟเพื่อฆ่าเชื้อเสียก่อน จากนั้นทิ้งไว้ในอากาศให้เย็นแล้วค่อยตัดสายสะดือ โดยไม่ให้สะดือเด็กไปถูกสิ่งอื่น
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาผงโรงสะดือทารกแรกเกิด เมื่อตัดสายสะดือเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ เจ็นเชี่ยน ไวโอเล็ทซึ่งเป็นยาสีม่วงสำหรับป้ายลิ้นเด็ก เวลาที่ลิ้นเป็นฝ้าขาวทาที่สะดือ เมื่อยาแห้งแล้วจึงค่อยใส่เสื้อผ้าให้ทารก วิธีนี้สะดือจะสะอาดปราศจากเชื้อโรค ไม่เป็นบาดทะยัก
  3. ให้คุณแม่ท้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันส่งต่อไปยังลูกน้อยในท้อง
  4. เด็กเล็กควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ซึ่งรวมอยู่ในเข็มเดียวกัน ตั้งแต่อายุได้ 2, 4 และ 6 เดือน และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 4 ปี ต่อไปฉีดกระตุ้นเฉพาะวัคซีนป้องกันบาดทะยักทุก 10 ปี

คุณแม่ท้องและคุณแม่ที่มีลูกแรกเกิดจึงไม่ควรพลาดการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามกำหนด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการติดเชื้อบาดทะยักนะคะ ป้องกันไว้ปลอดภัย อุ่นใจกว่าค่ะ

ที่มา www.doctor.or.th/article/detail/5063

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา