โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อคืออะไร ทำไมแม่ท้องถึงไม่ควรเป็น

แม่ท้องทราบกันหรือไม่คะ โรคทางเดินปัสสาวะ เป็นอีกโรคหนึ่งที่คุณแม่ท้องทั้งหลายควรทำความรู้จึกและไม่ควรเป็น จะด้วยสาเหตุอะไรนั้น ไปอ่านบทความนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ หรือ (Urinary Tract Infection : UTI) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งในระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ และถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดีและเหมาะสม ก็สามารถไปเพิ่มความเสี่ยงต่อคุณแม่ท้อง และทารกในครรภ์ได้

เนื่องจากกระเพาะและท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เช่นเดียวกับคุณแม่ท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสแรกที่มดลูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนอาจจะไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ความจุน้อยของกระเพาะปัสสาวะคุณแม่นั้นลดน้อยลง ส่งผลให้ปวดปัสสาวะได้ถี่และบ่อยขึ้น หรืออาจจะเป็นช่วงใกล้คลอดที่ทารกในครรภ์เคลื่อนศีรษะลงต่ำ จนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่

และถ้าหากอั้นปัสสาวะไว้ ก็ย่อมเสี่ยงต่อการได้รับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าปกติ และหากได้รับเชื้อแล้ว โอกาสที่เชื้อจะลุกลามไปยังท่อไตและไต ก็มีโอกาสง่ายขึ้น แน่นอนค่ะว่า จะส่งผลให้เกิดภาวะ กรวยไตอักเสบในระหว่างตั้งครรภ์ได้

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ ว่ากันรวมๆคือเป็นโรคของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แตกต่างกันที่เป็นบริเวณส่วนบนหรือส่วนล่างเท่านั้นเอง ถ้าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็เป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แต่ถ้าเป็นกรวยไตอักดสบก็จะเป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน

อันตรายอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณแม่ท้องติดเป็นโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ความเสี่ยงต่าง ๆ ย่อมตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย
  • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตล้มเหลวระหว่างตั้งครรภ์ได้
  • เสี่ยงต่อการแท้งได้

วิธีการป้องกัน
1. ระมัดระวังเวลาล้างทำความสะอาดหลังปัสสาวะอุจจาระ อย่าล้างจากหลังมาหน้า เพราะง่ายต่อการนำเชื้อโรคติดมาด้วย

2. ดื่มน้ำเยอะ ๆ วันละ 6 – 8 แก้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. อย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะยิ่งกลั้นจะทำให้แบคทีเรียเกิดการสะสมเพิ่มมากขึ้น

4. ไม่ใส่ชุดชั้นในที่หมักหมม อับชื้น หรือคับจนเกินไป

อ้างอิง: เพจใกล้ชิดหมอ และ Hamoor

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth