โรคติดต่อในสถานศึกษา 5 โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล มีอะไรบ้าง

5 โรคติดต่อในโรงเรียน มีอะไรบ้าง โรคที่พบบ่อยในโรงเรียนหรือโรคติดต่อในสถานศึกษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดต่อในสถานศึกษา โรคติดต่อในสถานศึกษา 5 โรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล โรคติดต่อในโรงเรียน มีอะไรบ้าง รวมโรคที่พบบ่อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา โรคติดต่อในโรงเรียน

 

5 โรคติดต่อในสถานศึกษามีอะไรบ้าง โรคติดต่อในโรงเรียน โรคติดต่อในเด็ก

เด็กเล็กหรือเด็กที่อยู่ในวัยเตาะแตะ มักจะเจ็บป่วยได้ง่ายอยู่แล้ว ยิ่งไปอยู่รวมกันในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ก็ยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย ติดเด็กคนอื่นได้ง่ายขึ้น จนทำให้เด็กจำนวนมากต้องหยุดเรียน และบางครั้งก็ถึงกับต้องปิดโรงเรียนชั่วคราว สำหรับโรคติดต่อในสถานศึกษาที่พบบ่อยมีดังนี้

โรคติดต่อใน สถานศึกษา

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อในสถานศึกษา โรคติดต่อในโรงเรียน โรคติดต่อในเด็ก

โรคติดต่อในสถานศึกษามือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส พบได้มากในช่วงหน้าฝน เนื่องด้วยยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก การป้องกันโรคมือเท้าปากทำได้โดยการสอนเด็กให้รู้จักล้างมือ ทำความสะอาด ดูแลสุขอนามัยทั่วไป ไม่พาเด็กไปที่ ๆ มีคนเยอะ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ในช่วงที่มีการระบาด นอกจากนี้ หากเป็นการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 อาจมีอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคมือ เท้า ปาก

  • เด็กมักมีไข้ต่ำ ๆ
  • มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งเห็นได้ชัด
  • อาจมีผื่นที่รอบก้น อวัยวะเพศ ลำตัว และแขน ขา
  • เจ็บปาก น้ำลายไหล มีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดต่อใน สถานศึกษา

โรคไข้หวัดใหญ่ ติดต่อในสถานศึกษา

โรคติดต่อในสถานศึกษาไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากทางเดินหายใจ ทางน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หรือไปจับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ทำได้โดยการฉีดวัคซีนที่ สอนให้ลูกล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ไม่คลุกคลีกับเพื่อนที่ป่วย

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

  • มักเริ่มจากมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดตามตัว
  • อ่อนเพลีย คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ
  • อาจมีอาการของระบบร่างกายอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยได้

โรคติดต่อในส ถานศึกษา

โรคอีสุกอีใส ติดต่อในสถานศึกษา

โรคติดต่อในสถานศึกษาอีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า วาริเซลล่า (Varicella) ซึ่งติดต่อได้ง่าย ๆ โดยการหายใจรดกัน ไอจามใส่กัน และการสัมผัสตุ่มแผลของโรคโดยตรงหรือสัมผัสของใช้ผู้ป่วยเช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จึงสามารถติดต่อได้ง่ายในเด็กที่อยู่ร่วมกันที่โรงเรียน การป้องกันการติดโรคอีสุกอีใส พ่อแม่ต้องสอนลูกไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ล้างมือให้สะอาด และพาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสซึ่งฉีดได้ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคอีสุกอีใส

  • เริ่มจากมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว
  • มีผื่นแดงขึ้น ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส และตุ่มหนอง ขึ้นตามหน้า ลำตัว หลัง และแขนขา
  • ผื่นแต่ละบริเวณของร่างกายอาจมีลักษณะของผื่นแตกต่างกัน เช่น ที่แขนขาเริ่มเป็นผื่นแดง ที่หลังเป็นตุ่มน้ำใส ส่วนที่หน้าเริ่มแห้งและตกสะเก็ด
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดต่อในสถานศึ กษา

โรคตาแดง ติดต่อในสถานศึกษา

โรคติดต่อในสถานศึกษาตาแดง ตาแดงในเด็กเกิดจากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบว่ามีการระบาดบ่อยเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย (เกิดจากการติดเชื้อราหรือพยาธิได้ด้วย) หรือแม้กระทั่งตาแดงจากภูมิแพ้ หรือ ที่เรียกว่าเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ สำหรับอาการตาแดงจากการติดเชื้อ จะติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัส หลักสำคัญในการป้องกันคือ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยตาแดง ไม่ไปสัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาของผู้ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านทางของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า หมอน ผ้าห่ม จึงควรสอนลูกไม่ให้ใช้สิ่งของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ล้างมือให้สะอาด ไม่ขยี้ตา

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคตาแดง

  • อาการตาแดงจากการติดเชื้อจะมีลักษณะคือ เยื่อบุตาอักเสบ บวมแดง เคืองตา น้ำตาไหลบ่อย ๆ มีขี้ตาแฉะ
  • ถ้าเป็นตาแดงจากการติดเชื้อไวรัส จะมีขี้ตาใส ๆ และอาจมีอาการหวัดร่วมด้วย
  • ส่วนตาแดงจากการติดเชื้อแบคทีเรียจะพบว่าขี้ตามีสีเขียวอมเหลือง อาจมีหนองได้
  • อาการตาแดงนานทั้งวันหรือหลาย ๆ วัน ไม่หายเองมักเกิดจากการติดเชื้อ แต่ถ้าอาการหายไปอย่างรวดเร็ว เช่น มีตาแดงตอนช่วงเช้า แต่พอช่วงสายก็หายไปได้เอง ก็น่าจะเกิดจากภูมิแพ้มากกว่า

 

โรคอุจจาระร่วง ติดต่อในสถานศึกษา

โรคติดต่อในสถานศึกษาอุจจาระร่วง หรืออหิวาตกโรค เป็นโรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีชื่อว่า Vibrio cholera ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม การป้องกันอหิวาตกโรคทำได้โดยรักษาสุขอนามัยการขับถ่าย ล้างมือให้สะอาด ทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกร้อน ดื่มแต่น้ำที่สะอาด

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคอุจจาระร่วง

  • ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
  • อุจจาระมักจะไหลพุ่ง โดยไม่มีอาการปวดท้อง
  • ลักษณะอุจจาระเหมือนน้ำซาวข้าว
  • ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงจนช็อคได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคติดต่อในสถานศึกษายังมีโรคอื่น ๆ ที่ต้องระวัง เช่น โรคที่พบบ่อยอย่าง โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ โรคไข้หวัดธรรมดา คออักเสบ/ทอนซิล อักเสบ หรือโรคร้ายแรงอย่างโรคไข้กาฬหลังแอ่น พ่อแม่จึงต้องดูแลลูกหลานให้ดี คอยสังเกตอาการลูกในแต่ละวัน ด้านศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ก็ต้องมีมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมโรคติดต่อ

 

ที่มา : thaihealth.or.th/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกขี้ตาเขรอะ ตาแฉะ ลืมตาลำบาก แม่ลองสังเกต ลูกขี้ตาสีนี้เป็นโรคอะไรหรือเปล่า

อาการยิ่งแย่! เมื่อลูกที่เคยเป็นผื่นแพ้ติดโรคมือเท้าปาก

ไม่อยากให้ลูกต้องป่วยบ่อย ต้องสอนลูกให้ทำแบบนี้

โรต้าไวรัส สาเหตุโรคอุจจาระร่วง วิจัยเผยส่งผลต่อพัฒนาการทารก เสี่ยงไอคิวต่ำ

 


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya