เมื่อคุณแม่ท้องก็ต้องอยากสวยและดูดีตลอดเวลา และก็คงไม่พ้นที่จะคิดอยากที่จะ ฉีดโบท็อกซ์ แต่คุณแม่รู้ไหมคะว่ามันอันตราย และคนท้องไม่ควร ฉีดโบท็อกซ์
โบท็อกซ์คืออะไร ?
โบท็อก (Botox) เป็นนวัตกรรมที่นิยมใช้สำหรับลดริ้วรอย ยกกระชับใบหน้าและลำคอ รวมถึงลดขนาดของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ เช่น น่องและกราม การฉีดโบท็อกเป็นวิธีเสริมความงามที่มาแรงและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง อาจจะเพราะเป็นวิธีที่ช่วยตอบโจทย์ผู้ที่รักความสวยรักงามแบบทันใจเพราะเห็นผลภายใน 3-7 วัน
BOTOX ช่วยเรื่องอะไร ?
การฉีด Botox จะช่วยลดริ้วรอยที่หน้าผาก รอยตีนกา ริ้วรอยรอบดวงตา ปาก ยกคิ้วขึ้นและตาดูโตขึ้น ดูอ่อนเยาว์มากขึ้น เหมาะสำหรับใช้ปรับรูปหน้าให้ยกเรียว กระชับผิวหนัง เห็นผลไว
- สามารถแก้ปัญหาริ้วรอยได้
- ทำให้รูปหน้าเรียวเล็กลง
- เห็นผลเร็ว
- มีใบรับรอง จากองค์การอาหารและยา ทำให้สบายใจได้ ว่ามีความปลอดภัย
- ไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ก่อนเข้ารับการฉีด
- เมื่อฉีดเสร็จ สามารถทำกิจกรรม ตามปกติได้ทันที
- เพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง
- มีผลข้างเคียงน้อย
ทำไมคนถึงเลือกฉีดโบท็อกซ์มากขึ้น
สำหรับผู้หญิงหลายคนการฉีดโบท็อกซ์เป็นเพียงเรื่องของการเพิ่มความมั่นใจในตนเองและการฟื้นฟูความมั่นใจที่เสียไป แตกต่างจากผู้หญิงในช่วงอายุ 20 ถึงช่วงอายุ 30 ปี กลับใช้โบท็อกซ์เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอย คงความอ่อนเยาว์
- เป็นทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัดสำหรับริ้วรอยและเส้นเล็กบนใบหน้าและลำคอ
โบท็อกซ์เป็นกระบวนการที่ง่าย เพราะไม่ต้องพักฟื้น ไม่ต้องดมยาสลบ และใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีสำหรับการฉีดโบท็อกซ์
- ช่วยให้คุณดูดีขึ้นในแบบที่เป็นตัวเอง
ประโยชน์ของการฉีดโบท็อกซ์ คือ การมีรูปลักษณ์ที่อ่อนเยาว์และสดใสขึ้น โบท็อกซ์มีประสิทธิภาพสูงในการขจัดริ้วรอย สาเหตุที่คนเข้ามาฉีดโบท็อกซ์มาจาก การแข่งขันในการทำงาน การที่มีใบหน้าอ่อนเยาว์ทำให้มีความมั่นใจขึ้น
- ช่วยเพิ่มความนับถือให้กับตนเอง
ถึงแม้อายุจะน้อยแต่ก็มีริ้วรอยมากกว่าคนที่อายุเยอะกว่าก็จริง ไม่ว่าริ้วรอยนั้นจะเกิดจากการใช้เวลาในแสงแดดโดยไม่ป้องกันให้เหมาะสมมักจะทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย
- โบท็อกซ์สามารถลบสัญญาณแห่งวัยได้
เนื่องจากช่วยเพิ่มความมั่นใจและอารมณ์ของความสุขได้ มีข้อมูลอ้างอิงว่าการฉีดโบท็อกซ์มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าได้ และ สามารถลดอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ในทำนองเดียวกันการฉีดโบท็อกซ์สามารถช่วยเปิดประตูสำหรับการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้
ท้องฉีดโบท็อกซ์ได้ไหม ?
แนะนำว่าไม่ควรฉีดโบท็อกซ์ในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะโบท็อกซ์คือสารพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เส้นประสาทอัมพาตชั่วคราว กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดจึงไม่ทำงาน ทำให้รอยเหี่ยวย่นลดลง กล้ามเนื้อฝ่อเล็กลง แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป หรือผู้ฉีดไม่มีความชำนาญเกิดพลาดฉีดยาเข้าสู่กระแสเลือด พิษของแบคทีเรียชนิดนี้ก็อาจจะส่งผลไปถึงทารกในครรภ์ได้จึงถือว่าเป็นอันตรายมากค่ะ
ผลข้างเคียงการฉีดโบท็อกซ์
- หน้าแข็งเป็นหุ่นยนต์ การฉีดโบท็อกซ์ในปริมาณที่มากจะทำให้ใบหน้าแข็งตึง บังคับกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ แสดงอารมณ์ไม่ได้ ยิ้มไม่ได้ ทำให้หน้าตาดูแข็งทื่อ ผิดธรรมชาติ เป็นผลข้างเคียงมาจากคุณหมอที่อยากจะขายยูนิตเยอะ ๆ
- หน้าผากตกและตึง ในกรณีที่ฉีดโบท็อกซ์ในปริมาณที่มากเกินบริเวณหน้าผาก อาจจะรู้สึกหน้าผากตึงหนัก ส่งผลต่อการยักคิ้ว และอาจจะทำให้ดวงตาเล็กลง
- หางคิ้วกระดก หากฉีดโบท้อกซ์แล้วดูไม่เหมาะสม อาจจะทำให้บริเวณกล้ามเนื้อบริเวณคิ้วยกตัวขึ้น ทำให้คิ้วของคุณเลิกสูงขึ้น แถมยังทำให้เกิดรอยย่อนข้างคิ้วเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- หนังตาตก ผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อกซ์จากความไม่ชำนาญของแพทย์ ฉีดผิดจุดทำให้กล้ามเนื้อหยุดทำงานหรือเป็นอัมพาตได้ และอาจจะทำให้หนังตาดูตกและมีใบหน้าที่ดูง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา
- ผิวช้ำ หน้าชา หน้าชาไร้ความรู้สึก หรือมีผิวที่ช้ำ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อกซ์ลงไปในชั้นผิว
- มีอาการของโรคโบทูลิซึม (BOTULISM) คือสารสกัดที่ได้จากแบคทีเรีย ผลข้างเคียงก็คือ อาจจะทำให้ร่างกายผู้ป่วยแสดงอาการอ่อนแรงที่แขน ขา การมองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่ชัด หายใจถี่ ความสามารถในการอั้นปัสสาวะลดลง
- ใบหน้าบางส่วนเป็นอัมพาต กลไลของการฉีดโบท็อกซ์ คือเข้าไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีด กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะเป็นอัมพาตช่วงคราว
- ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หากฉีดโบท็อกซ์ลดกรามผิดตำแหน่งขึ้นมา จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าที่ดึงมุมปากยกไม่เท่ากัน ปากเบี้ยวเวลายิ้ม แนะนำให้ฉีดกับแพทย์ที่เฉี่ยวชาญ
- เจ็บที่ใบหน้า ปวดศีรษะ อาเจียน อาการเหล่านี้ก็เกิดขึ้นได้ จากการที่ฉีดโบท็อกซ์เช่นกัน เช่นมีความเจ็บใบหน้า ปวดศีรษะ
- ไม่เช็ค อันตรายกว่าที่คิด ผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อกซ์ อาจจะเกิดน้อยมากหรือไม่เกิดเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากการฉีดโบท็อกซ์ คุณแม่สามารถทำอะไรได้บ้าง?
- การฉีดฟิลเลอร์ ร้อยไหม
สามารถทำได้นะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก็ต้องมีคุณภาพ ได้รับการรับรองจากอย. และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ แนะนำว่าควรเลื่อนไปก่อนน่าจะเหมาะสมมากกว่า
- ทาเล็บ
ก่อนหน้านี้เคยมีการถกเถียงกันมากมายเกี่ยวกับภัยของการทาเล็บกับคนท้องว่าไม่ควรทาเล็บเพราะอาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ได้ ทำให้คุณแม่หลายคนกังวล โดยเฉพาะคนที่รักการตกแต่งเล็บเป็นชีวิตจิตใจ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยมีรายงานถึงกรณีที่การทาเล็บจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเด็กที่คลอดออกมาแต่อย่างใด
ดังนั้นก็สรุปได้ว่า คุณแม่ท้องสามารถทาเล็บได้ เว้นแต่ว่าถ้าคุณแม่ไม่ได้มีพฤติกรรมประหลาด ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อร่างของคุณและเด็ก เช่น ชอบกัดและกลืนเล็บ หรือสูดดมยาทาเล็บระหว่างที่รอเล็บแห้งเพราะยาทาเล็บก็มีสารเคมีบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณและลูกในครรภ์หากใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
- อบไอน้ำ และซาวน่า
การอบไอน้ำและซาวน่าทั้งสองวิธีนี้ จะทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำ ซึ่งถ้าเกิดกับผู้หญิงทั่วไปก็คงไม่เป็นไร แต่หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์แล้วนั้น อาจไม่เป็นผลดีต่อทั้งร่างกายคุณแม่ท้องและลูกในท้องนะคะ เพราะหลังการผ่านกระบวนการเหล่านั้น อาจจะทำให้คุณแม่เป็นลมหน้ามืดได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่า หลังอบซาวน่าประมาณ 1-2 ชั่วโมงจะทำให้ไอคิวของเราต่ำลงด้วย เพราะการสูญเสียน้ำในร่างกายนั่นเองค่ะ
- AHA (เอเอ็ชเอ) หรือ กรดผลไม้
เนื่องจากปริมาณที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้นั้นมีค่าต่ำมาก จึงไม่มีอันตรายใดๆ ต่อทารกในครรภ์ แต่สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยงนั่นก็เพราะในกรณีที่ใช้ AHA ความเข้มข้นสูงมากๆเช่น การทำทรีทเม้นท์ในร้านเสริมสวยมักจะใช้ความเข้มข้นสูงกว่า 30% อาจทำให้เกิดระคายเคืองต่อผิวได้ เพราะผิวหน้าช่วงตั้งครรภ์ จะอ่อนแอและบอบบางกว่าปกติ แนะนำว่าควรเลือกใช้ AHA ที่มีความเข้มข้นต่ำ และทาให้บางที่สุด และไม่ทิ้งไว้นานจนเกินไป ถ้ามีอาการระคายเคืองให้หยุดใช้ทันที
- BHA (บีเอ็ชเอ)
คือ กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังและมักทำให้ผิวลอกได้ ซึ่งมีรายงานว่าการรับประทานยา acetylsalicylic acid มีผลรบกวนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ แต่การใช้ salicylic acid ในรูปแบบครีมบำรุงผิว หรือ เครื่องสำอางนั้นพบว่าการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีปริมาณน้อยมาก จึงไม่น่ามีอันตรายร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ แต่แนะนำว่าก็ควรใช้ BHA ที่มีความเข้มข้นต่ำๆ เช่น ไม่เกิน 2% จะปลอดภัยมากกว่าค่ะ
- ครีมกันแดด
แนะนำว่าช่วงตั้งครรภ์ควรต้องใช้ครีมกันแดด เพราะผิวหนังช่วงตั้งครรภ์จะมีการสร้างเม็ดสีได้มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดฝ้าบนใบหน้าได้ง่ายขึ้น จึงควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB และควรเลือกค่า SPF 30 ขึ้นไป แต่ถ้าสูงมากๆ ก็อาจทำให้หน้ามัน ล้างออกยากได้เช่นกัน ทำให้ เกิดการตกค้างของสิ่งสกปรกในรูขุมขนจึงทำให้เกิดสิวอุดตันได้ง่ายขึ้นด้วย
- ครีมทาฝ้า
ควรหลีกเลี่ยงครีมทาฝ้าหรือครีมหน้าขาว เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะหนัก เช่น ปรอท ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทของทารก ทำให้สมองพิการได้ โดยเฉพาะครีมที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ผ่านการรับรองจาก อย. ยิ่งอันตรายมากค่ะ
- การแต่งหน้า
คุณแม่ทั้งหลายยังสามารถแต่งหน้ากันได้ตามปกติค่ะ เพียงแต่ต้องระวังปัญหาเรื่องสิวอุดตันเอาไว้ด้วย เพราะช่วงท้องผิวหน้าอาจมีความมันมากขึ้นกว่าปกติ หากแต่งหน้าหนามากจนเกินไป หรือล้างหน้าไม่สะอาด จากสวยๆกลายเป็นหมดสวยได้เช่นกันนะคะ
- ยารักษาสิว
เรื่องนี้เป็นปัญหาที่หลายๆ คนสงสัย เพราะปัญหาสิวสามารถเกิดได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือบางคนเพิ่งจะมาเป็นช่วงตั้งครรภ์ หรือบางคนตั้งครรภ์แล้วเป็นหนักมากขึ้นกว่าเดิมอีก จึงจำเป็นต้องพึ่งยารักษาสิว แต่ยารักษาสิวก็มีมากมายหลายชนิด หลายรูปแบบ ซึ่งในช่วงที่ตั้งครรภ์มีทั้งยาที่ใช้ได้ ยาที่ห้ามใช้ และยาที่ควรอยู่ในการดูแลแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- การอบผม ไดร์ผม สปาผม
สามารถทำได้แต่ไม่ควรใช้ความร้อนสูง หรือ อบไว้นานจนเกินไป เพราะการได้รับความร้อนนานๆ อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืดเป็นลมได้
- การทำสีผม ยืดผม ดัดผม
แนะนำว่าถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็ควรเลี่ยงไปก่อน เพราะแม้ว่าการทำสีผมนั้นจะมีโอกาสที่สารเคมีจะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดได้เพียงเล็กน้อยแต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆก็ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไป เช่น ไม่ควรทำสีผมมากกว่าหนึ่งครั้งใน 3 เดือน และควรทำสีผมที่ใกล้เคียงกับสีผมธรรมชาติเดิมมากที่สุด หรือทำเพียงไฮไลต์ผมแทนการทำสีผมทั้งศีรษะ และพยายามให้สารเคมีสัมผัสกับผิวหนังให้น้อยที่สุด
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : (amarinbabyandkids),(sanook)
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
“โนท็อกซ์” โบท็อกซ์ทางเลือกของผู้หญิงตั้งครรภ์
กิจกรรมที่ควรงดเมื่อตั้งครรภ์ ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ มีอะไรบ้างคนท้องควรรู้