แม่ให้นมลูก ไม่ต้องซี๊ดซ๊าด หัวนมแตกป้องกันได้!

แม่ท้องให้นม ไม่ต้องร้องซี๊ดซ๊าดขณะให้นมลูกอีกต่อไป เพราะวันนี้เรามีวิธีป้องกันหัวนมแตกมาฝากกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งที่แม่ให้นมกลัวและไม่อยากให้เกิดมากที่สุดก็คือ “หัวนมแตก” เพราะนอกจากจะรู้สึกเจ็บปวดขณะให้นมลูกแล้ว ยังต้องแอบลุ้นอีกว่า จะถูกกัดซ้ำรอยหรือไม่ งานนี้แม่ให้นมลูกอย่าได้กังวลไปนะคะ เพราะเรามีวิธีการป้องกันมาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

หัวนมแตกคืออะไร?

หัวนมแตกคือ อาการของหัวนมที่เจ็บแตก เกิดจากการจัดท่าทางการให้ลูกดูดนมไม่ถูกต้อง ทำให้ลูกอมไม่ลึกไปถึงลานนม ทำให้เวลาลูกดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เลยหันที่จะมาเคี้ยวหัวนมของแม่แทน และในบางครั้งการที่คุณแม่ล้างและถูหัวนมมากเกินไป ก็ส่งผลให้หัวนมแห้ง แตกและเป็นแผลได้ หากเป็นมากก็จะนำไปสู่เต้านมอักเสบได้ค่ะ

หัวนมแตกแล้วให้นมลูกต่อได้ไหม?

เมื่อไหร่ก็ตามที่หัวนมแตก และคุณแม่ก็ยังอยากที่จะให้นมลูกต่อ ก็สามารถทำได้นะคะ แต่ควรเริ่มให้จากข้างที่เจ็บน้อยก่อน และต้องมั่นใจนะคะว่า ลูกของเรานั้นอมหัวนมได้ลึกจนถึงลานนมแล้วจริง ๆ แต่ถ้าหากคุณแม่เจ็บนมมากและทนไหว ก็ให้เปลี่ยนมาเป็นบีบหรือปั๊มนมให้ลูกก่อนแทนค่ะ

วิธีการป้องกัน

  1. ควรให้นมลูกในท่าที่ถูกต้อง และจำไว้เสมอว่า จมูก แก้ม และคางของลูกนั้น ควรที่จะต้องสัมผัสกับเต้านมของคุณแม่จริง ๆ
  2. ถ้าหากเต้านมคัด ให้บีบน้ำนมออกมานิดหน่อยก่อน เพื่อให้เต้านมนิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นค่อยให้ลูกดูด
  3. ควรที่จะให้นมข้างที่เจ็บน้อยที่สุดก่อน แต่ถ้าหากว่าเจ็บพอ ๆ กันทั้งสองข้าง ก็ให้เอาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบและนวดบริเวณเต้านมเบา ๆ เพื่อให้น้ำนมไหลออกมาได้ง่ายขึ้น
  4. ถ้าหากลูกดูดบ่อยขึ้นทุก 1-2 ชั่วโมงละก็ คุณแม่ควรที่จะลดเวลาการให้ลูกดูดสั้นลงเหลือประมาณ 10-15 นาที หรือจนกว่านมของคุณแม่จะนิ่ม
  5. อุ้มลูกแนบให้กระชับกับหน้าอก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เขาดึงนมของคุณแม่เล่น และก่อนที่จะเอาลุกออกจากเต้า อย่าลืมลดแรงดูดของลูกออกก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้น ลูกกัดหัวนมขึ้นมา งานนี้จะได้แผลมากขึ้นกว่าเดิม
  6. ไม่ต้องล้างหัวนมบ่อย ๆ หรือทุกครั้งก่อนให้ลูกดูด เพราะการล้างบ่อย ๆ นั้นจะทำให้ผิวของคุณแม่แห้งได้

หัวนมแตกรักษาอย่างไร

วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การใช้น้ำนมของคุณแม่เองทาที่ลานนม ในทุกครั้งหลังจากที่ลูกดูดนมเสร็จ ให้คุณแม่บีบน้ำนมเหลืองหรือน้ำนมของตัวเอง ทาลงบนลานนมและหัวนมทั้งสองข้าง แต่ถ้าอยากให้ผิวชุ่มชื้นละก็ ให้คุณแม่ใช้ลาโนลิน (ไขมันชนิดหนึ่ง) ทาเล็กน้อย ที่สำคัญ ห้ามใช้สบู่ ครีมหรือน้ำมันโดยเด็ดขาดนะคะ แต่ถ้าหากเป็นมาก ๆ ละก็ แนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอหรือคลีนิกนมแม่ใกล้บ้านนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Today’s Parent และ Thai Breastfeeding

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

9 เรื่องโปรด ที่แม่ให้นมแบบฉันชอบใจที่สุด

ฝีเต้านม อาการสุดทรมาน ของคุณแม่ให้นม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth