แม่แชร์ประสบการณ์ เมื่อลูกเป็น ริดสีดวง !

คุณแม่บล็อกเกอร์ แชร์ประสบการณ์หลังพบว่าลูกสาวป่วยเป็นโรคริดสีดวง

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น ริดสีดวง

หากใครเคยคิดตามเพจ บันทึกของคุณแม่ท่านหนึ่ง ก็จะพบว่า คุณแม่มักจะเขียนเรื่องราวที่เป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ทราบกัน เช่นเดียวกับเรื่องราวที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เมื่อคุณแม่พบว่า ลูกสาวถ่ายไม่ค่อยออก และมีเลือดสด ๆ ไหลในชักโครก อาจจะเป็น ริดสีดวง เรื่องราวจะเป็นอย่างไรไปอ่านกันเลยค่ะ

แชร์ประสบการณ์ ฝันร้ายของคนเป็นแม่ … เมื่อบีด้าเป็นริดสีดวง!

ตั้งแต่ประมาณ 1.3 ขวบ บีด้าก็ปฎิเสธข้าวปั่นผสมผักแบบที่แม่เคยป้อนหาย ป้อนหาย มาตั้งแต่ 6 เดือน ทำให้อาหารของลูกค่อย ๆ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ บีด้าเริ่มหยิบผักทุกอย่างออกจากจานข้าว ก่อนลงมือทาน และเป็นอย่างนั้นมาตลอด

เวลาใครบอกว่า ทำไมไม่บังคับให้ลูกกินผัก ?? แหมมมม !! บังคับนี่ทำยังไงคะ เด็กไม่กิน เค้าไม่อ้าปากจะกินเลยด้วยซ้ำ เรยลองไม่กินผัก ก็ไม่ต้องกินข้าว นางก็ไม่กินข้าวได้ทั้งวัน ….. เราก็พยายามหาสิ่งที่จะช่วยเรื่องขับถ่ายแทนผัก มาให้นางกิน สารพัด

ให้ลูกดื่มนมเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

กล้วยน้ำว้า – ไม่กิน
ลูกพรุน,น้ำลูกพรุน – ไม่กิน
ส้มผล – ไม่กิน
โยเกิรต – ไม่กิน
นมเปรี้ยว – ไม่กิน

น้ำส้มคั้นสด – กินทุกวัน วันละ 1 แก้ว
แต่มันไม่พอ!!

อาหารหลักของบีด้าทุกวันนี้คือ
บะหมี่ลูกชิ้นน้ำใส
ข้าวมันไก่
ข้าวเหนียวไก่ทอด/ปลาทอด
ปลาย่างซอสเทอริยากิ ข้าวญี่ปุ่น
ไข่ตุ๋น
ไข่เจียว
ต้มจืดเต้าหู้

ของทานเล่น
คุ้กกี้ (ออกแกนิคสำหรับเด็ก)
ป้อปคอร์น (ชอบมากกกก นี่สาเหตุใหญ่ๆของท้องผูก)
คุ้กกี้ชีส
นมกล้วย
แอปเปิ้ล (กินน้อย)
ไอติมมะม่วง (และรสอื่นๆ)
น้ำมะม่วงคั้น

เรื่องอาหารและน้ำหนัก ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะทานมากบ้างน้อยบ้าง แต่ทานได้ตลอด จนบีด้าเริ่มถ่ายแข็งขึ้น และห่างขึ้น 3 วันครั้ง อึแข็งเป็นก้อน เบ่งแล้วเจ็บ … บีด้าเริ่ม ไม่ยอมเบ่งและอั้นอึไว้ ไม่บอกเรา การสวนก้นทำแล้วนางเข็ดและหวาดกลัวมาก ๆ จนน่าสงสาร

เราเริ่มปรึกษาหมอ และเอายามากิน เป็นยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มลง ต้องกินทุกวัน บีด้าถ่ายนิ่มบ้างแข็งบ้าง วันเว้นวัน , 3 วันครั้ง บ้างมาเรื่อย ๆ จนครั้งแรกที่มีเลือดออกหลังอึ นิดหน่อยเมือประมาณเดือนที่แล้ว เพราะไม่ถ่ายมา 4 วัน เราเพิ่มปริมาณยาเข้าไป บีด้าก็ยังไม่ค่อยถ่าย ทั้งๆที่กินเยอะนะ ไม่รู้เอาไปไว้ไหน หมอตรวจดู ท้องก็ไม่อืด พานั่งอึทุกเช้า ไม่เคยออก!!

ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

เลือดครั้งที่ 2 ออกมาจนเห็นชัดในชักโครก !! วันรุ่งขึ้นเราพาไปหาหมอ หมอยังคงไม่แปลกใจอะไร บอกให้ลองนั่น ลองนี่ ปรับการกิน !! และ นี่เป็นครั้งที่สาม บีด้าปวดอึ (ไม่อึมา 6 วัน) เราพาไปนั่งเบ่ง อึก้อนแข็งออกมา 1 ก้อน เรายังให้ลูกเบ่งต่อ อยากให้ออกมาให้หมด ๆ นางก็นั่งชิว คุยนั่นนี่กัน เบ่งบ้างเป็นพัก ๆ แต่ไม่ออก ไม่มีร้อง ไม่เจ็บอะไรเลย เราเลยไม่ได้เอะใจคิดว่าจะเลือดออกอีก !! ผ่านไปหลายนาที นางเบื่อละ บอกเราหมดแล้ว ไม่เอาแล้ว เราอุ้มลูกลงตากชักโครก (เพื่อดูอึ)

เลือด … เยอะมาก เราดูที่ก้นนาง เป็นเลือดออกมา แดงสด เป็นลิ่มๆ เต็มไปหมด เราหน้ามืดจะเป็นลม บอกให้พี่เลี้ยงล้างก้น เราถามลูก เจ็บก้นมั้ย บีด้าตอบตลอดว่า ไม่เจ็บ ไม่เจ็บ!! เราเลยตัดสินใจไปหาหมออีกครั้งเช้ารุ่งขึ้น …. เราเอารูปถ่ายก้น กับเลือดในชักโครกให้หมอดู พร้อมเล่าเหตุการณ์ เรากลัวว่า จะมีเลือดออกในลำไส้ หรืออะไร ทำไมลูกไม่เจ็บเลย? หมอจึงสันนิษฐานว่า บีด้าเป็นริดสีดวงข้างใน (ไม่มีติ่งมาด้านนอก ไม่มีแผลอะไรที่ก้นเลย) มีเส้นเลือดที่โป่งอยู่ด้านใน และทักครั้งที่อึแข็งก้อนใหญ่ จะไปบาดเส้นเลือดนี้ ให้เลือดไหลออกมา โดยที่ไม่เจ็บเพราะไม่มีเส้นประสาทในจุดนั้นค่ะ

การรักษา ทำได้ยาก เพราะเด็กเล็กมากๆ การส่องกล้องไปรัดเส้นนั้นแบบ ผู้ใหญ่ หมอไม่แน่ใจว่าหมอศัลย์จะทำได้มั้ย เรื่องการผ่าตัดก็ไม่ได้ เพราะเด็กเกินไป แต่ ..
-ตอนนี้หมอให้ยาเหน็บทำให้เส้นเลือดแฟบ มาเหน็บต่อเนื่อง 7 วัน
-ยาสวนเพื่อให้อึ ต่อเนื่อง 3 วัน เพื่อให้อึแข็งๆเก่าๆ ออกไปให้หมด
-ทานไฟเบอร์ผงผสมน้ำ
-ทานยาละลายอึ(อันเดิม) ต่อเนื่อง
-ปรับการทานอาหาร การขับถ่าย

ถ้าหลังจากนี้ทำให้ลูก อึได้บ่อยขึ้น ไม่แข็ง ไม่สะสมอีก ก็จะไม่ไปบาดเส้นเลือดนั้น และจะค่อยๆแห้งหายไป แต่ .. ถ้าอึแข็งอีกเมื่อไหร่ !! ก็กลับมาเป็นได้อีกตลอดค่ะ จบละ!!

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอขอบคุณคุณแม่มาก ๆ นะคะ ที่อนุญาตให้นำเรื่องราวของน้องมาลง และทีมงานทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องนี้จะสามารถเป็นประโยชน์กับทุก ๆ ครอบครัวได้เป็นอย่างดี และหวังว่า น้องบีด้า จะหายไว ๆ นะคะ

โรคริดสีดวงทวาร เกิดจากกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดดังกล่าวได้รับบาดเจ็บหรือมีการหมุนเวียนโลหิตไม่ดี ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่พบบ่อยคือ

  • ท้องผูก ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง หรือหลอดเลือดขอดได้ง่าย
  • ท้องเสียเรื้อรัง
  • การอุจจาระบ่อยๆจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เช่นกัน
  • การนั่งแช่นานๆ รวมทั้งนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ จะกดทับกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จึงเพิ่มความดัน/การบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด หลอดเลือดจึงโป่งพองได้ง่าย
  • การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เลือดจึงไหลกลับหัวใจลดลง จึงคั่งอยู่ในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดบวมพองได้ง่าย
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น เลือดจึงคั่งในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดเช่นเดียวกับในหญิงตั้งครรภ์
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง จึงมีเลือดคั่งในหลอดเลือด เกิดโป่งพองได้ง่าย
  • โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด จึงเกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย
  • อาจจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า เมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร

ที่มา: บันทึกของคุณแม่ท่านหนึ่ง และ หาหมอ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แม่ท้องเป็นริดสีดวง ถ่ายเสร็จเช็ดก้นมีเลือดอกมา ริดสีดวงสินะ แม่ ๆ เป็นกันมั๊ย

อาการริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลอย่างไร

10 อาหารบำรุงลูกในครรภ์ อาหารทำให้ลูกในท้องแข็งแรงและสุขภาพดี

 

บทความโดย

Muninth