แม่แชร์ ควรทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยแพ้โปรตีนนมวัว!

เมื่อลูกวัยเพียงไม่ถึงเดือน เกิดอาการแพ้โปรตีนนมวัน แม่จึงออกมาแชร์ประสบการณ์พร้อมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องจากตอนท้อง แม่ทานนมวัวเยอะและทานทุกวัน ยิ่งตอน 7 เดือนไม่ว่าใครแนะนำว่าโปรตีนอะไรดี แม่ก็หามาทานทุกวันจนคลอด ซึ่งตอนนั้นก็ยังทานนมวัวควบคู่ไปด้วย ตอนคลอดน้องมา น้องแข็งแรงดี แต่แม่สังเกตว่า น้องชอบจามบ่อย ๆ จนเริ่มมีเม็ดตุ่มหนองขึ้นมาที่ศีรษะทีละนิด แต่แม่ก็ยังไม่คิดอะไรมาก เพราะคนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นลูกไฟ

โดยในระหว่างที่ให้นมลูก แม่ก็ยังคงทานนมแม่อยู่ไปด้วย ครั้งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใกล้กลับไปทำงาน แม่ก็ลองให้ลูกทานนมผงคู่ไปกับนมแม่ด้วย ผลปรากฎว่า ตุ่มหนองที่ศีรษะลูกนั้นเยอะขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเริ่มลามไปที่ข้อพับแขน ซอกคอ ใบหู และหลัง แม่จึงเห็นท่าไม่ดีจึงไปปรึกษาแม่ท่านอื่น ๆ จนทราบว่า อาการดังกล่าวเขาเรียกว่า แพ้โปรตีนนมวัว แม่จึงรีบพาน้องไปหาหมอทันที

แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ หมอบอกว่าน้องแพ้โปรตีน และโปรตีนมีหลายประเภทเช่น ถั่วเหลืองและนมวัว เป็นต้น แม่จึงหยุดนมวัว ผลปรากฎว่า น้องแพ้น้อยลง ผื่นแดงบริเวณใบหน้าก็ไม่ขึ้น โดยคุณหมอแนะนำว่า หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ไม่แนะนำให้ใช้ออยล์เช็ดหรือทาโดยเด็ดขาด เพราะน้ำหนองอาจแตกจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แต่ให้ใช้น้ำเกลือล้างทุกครั้ง ล้างบ่อย ๆ แต่ถ้าหากดูแล้วตุ่มน้ำหนองไม่ดีขึ้น ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และยังแนะนำอีกว่า ให้งดทานอาหารจำพวกที่ผสมนมวัวทุกชนิด แต่ถ้าหากจำเป็นต้องให้นมเสริมก็ต้องเป็นสูตรเฉพาะสำหรับเด็กแพ้โปรตีนเท่านั้น

“อยากฝากบอกแม่ท่านอื่น ๆ ที่กำลังตั้งครรภ์ว่า อย่าหักโหมบำรุงนมโปรตีนให้ทารกในครรภ์มากเกินไป โดยเฉพาะแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีกรรมพันธุ์ยิ่งต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่า ลูกของเราจะแพ้อะไร ที่สำคัญคอยสังเกตและอย่าละเลยอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกเด็ดขาดค่ะ” แม่กล่าว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พญ.ภาสุรี แสงศุภวานิช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า จากสถิติเด็กไทยเกิดปีละประมาณ 8 แสนคนต่อปี การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน เพียงร้อยละประมาณ 20 % เพราะฉะนั้นจะมีเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมวัวประมาณ 6 แสนคน และมีเด็กแพ้นมวัวสูงถึงปีละ 20,000 ราย

“ทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ คือ ทารกที่มีบิดามารดา พี่น้องท้องเดียวกันเป็นโรคภูมิแพ้ หรือการกินนมวัวขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการให้ทารกได้รับนมแม่ ทั้งในระยะกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้ต่อเนื่องกับอาหารอื่นตามวัย ซึ่งนมแม่มีกลไกในการป้องกันโรคแพ้อาหาร เนื่องจากการกินนมแม่ช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายจะได้รับ เช่น โปรตีนนมวัว และในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของลูก ที่สำคัญการกินนมแม่ยังช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียในวัยทารก ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พญ.ภาสุรีบอกด้วยว่า โรคแพ้โปรตีนนมวัวนี้ ถือเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากมาก บางรายพอได้รับนมวัวปุ๊บก็มีอาการทันที เช่น มีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหน้า แขน ขา ลำตัว ปากเจ่อบวม ขณะที่บางรายช่วงแรกที่ดื่มนมวัวจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่พอดื่มไปสักพัก 2-3 เดือน ก็จะมีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายมีเลือดปน หายใจขัด คัดจมูก หลับไม่สนิท ผื่นแพ้ ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นโรคธรรมดาในเด็ก ก็เลยยิ่งทำให้เด็กเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น และไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

ที่สำคัญคือ การแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้นได้

นอกจากนี้ ในระยะ 4-6 เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบน้ำย่อยสารต่าง ๆ ของทารกยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการได้รับนมผสม หรืออาหารอื่น ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้อาหารและการกระตุ้นให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง เนื่องจากนมผสมและอาหารอื่น จัดเป็นสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากในระยะที่ทารกยังมีระบบทางเดินอาหารที่ไม่แข็งแรง โปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้จึงไม่ถูกย่อย หรือทำลายความแปลกปลอมลงไม่ให้ได้มีโอกาสเล็ดลอดไปก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“โรคแพ้โปรตีนนมวัว ถึงจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาการจะส่งผลต่อเนื่องในอนาคตได้ เช่น โรคนี้จะทำให้เด็กหลับไม่สนิท ก็จะส่งผลให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง ง่วงซึม หรือหวัดเรื้อรัง เด็กก็จะได้รับยาปฏิชีวนะเรื่อย ๆ เมื่อได้รับบ่อย ๆ จะเสี่ยงต่อการแพ้ยา ถ้าแพ้รุนแรงอาจถึงชีวิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในระยะยาว เห็นได้จาก โรคหืดเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เด็กขาดเรียน อาการ หายใจไม่ทัน มีเสียงหืดขณะหายใจ ต้องพ่นยาขยายหลอดลม ค่าใช้จ่ายที่ตามมาก็จะมีความทวีคูณขึ้น ” แพทย์คนเดิมอธิบาย

ที่มา: Breastfeedingthai

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ภูมิแพ้ระยะยาว ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด

โปรตีนในนมแม่ช่วยลูกห่างไกลจากโรคภูมิแพ้

 

บทความโดย

Muninth