แม่เล่า ลูกแรกเกิดอยู่รพ. นานเกือบเดือนเพราะโรคไอกรน

หลังจากออกจากรพ.ได้ไม่กี่วัน คุณแม่ก็ต้องนำตัวน้องกลับมาอีกครั้ง เพราะโรคไอกรน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ท่านนี้ได้โพสต์เล่าประสบการณ์ผ่านเพจดังอย่าง Herkid รวมพลคนเห่อลูก ถึงอาการของลูกชายว่า ภายหลังจากที่น้องเกิดได้เพียงแค่ 26 วันก็ต้องกลับเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เนื่องจากน้องมีอาการใบหน้าเขียวคล้ำเวลาไอ

เมื่อมาถึงโรงพยาบาล คุณหมอรีบให้นอนโรงพยาบาลและตรวจน้องอย่างละเอียด จนพบว่าน้องมีเม็ดเลือดขาวสูงมากถึง 24,700 เลยทีเดียว จากวันนั้นถึงวันนี้ น้องก็ยังคงต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แต่คุณหมอได้อนุญาตให้น้องออกมานอนพักฟื้นอยู่ในห้องปลอดเชื้อได้แล้ว

ตอนนี้น้องทานนมแม่เก่งมาก น้ำหนักขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่อาการก็ยังคงทรงตัว บางวันน้องก็ไม่ไอเลย แต่บางวันน้องก็ยังคงมีอาการไอและหน้าเขียวอยู่ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ได้แต่เฝ้าหวังว่า น้องจะดีขึ้น และสามารถออกจากโรงพยาบาลได้โดยเร็ว

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคนขอเป็นกำลังใจและภาวนาให้น้องหายไว ๆ นะคะ และเนื่องจากโรคไอกรนในเด็กเล็กนั้น เป็นอีกโรคนึงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวัง ซึ่งคุณแม่สามารถทำความรู้จักกับโรคไอกรนกันได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

ไอกรน  (Pertussis)  เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ  ทำให้มีอาการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ  และเกิดอาการไอที่มีลักษณะไอซ้อน ๆ ติด ๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น  ทำให้เด็กหายใจไม่ทัน  เสียงไอของโรคนี้เป็นการไอที่มีเอกลักษณ์ โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Whooping cough เป็นการไอลึก ๆ เป็นเสียงวู้ป  สลับกับการไอเป็นชุด ๆ บางครั้งอาจมีอาการเรื้อรังนาน 2-3 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุการเกิดโรคไอกรน นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Bordettella โรคนี้ติดต่อกันง่ายมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทานจะติดเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันมีโอกาสมากถึง 80 – 100% ถึงแม้จะมีภูมิต้านทานก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ถึง 20 % โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ในละอองของเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และจะติดต่อไปยังผู้อื่นต่อไป ไอกรนจะพบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่จะติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว โรคไอกรนเป็นได้ตั้งแต่เดือนแรก เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราการตายสูง ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตมักจะเป็นเด็ก อายุต่ำกว่า 1 ปี

อาการของโรคไอกรน แบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันดังนี้

1.ระยะแรก เด็กจะเริ่มมีน้ำมูก และไอ อาการเริ่มแรกดูเหมือนเป็นหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำ ๆ ตาแดง น้ำตาไหล อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้จะยังวินิจฉัยโรคไอกรนยังไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน และไอแบบแห้ง ๆ

2.ระยะไอ หรือระยะอาการกำเริบ เป็นระยะที่มีอาการไอเด่นชัด มีอาการไอเป็นชุด ๆ ไม่มีเสมหะ จะเริ่มมีลักษณะอาการไอกรน คือ มีอาการไอถี่ ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง “วู้ป” (Whoop) เป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะหน้าแดง น้ำมูก น้ำตาไหล เส้นเลือดที่คอโป่งพอง การไอเป็นกลไกของร่างกายที่ขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมา ผู้ป่วยจะไอติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะขับเสมหะที่เหนียวข้นออกมา ในเด็กเล็กอาจจะไอจนหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทัน ซึ่งอาการหน้าเขียวอาจเกิดจากเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่ในเด็กเล็กจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุด ๆ อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ระยะฟื้นตัว หรือระยะพักฟื้น ระยะนี้กินเวลาตั้งแต่ 1 – 3 เดือน เป็นระยะที่อาการไอจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายในที่สุด

คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปหาหมอเมื่อลูกมีอาการดังนี้

1.ผู้ที่อาการชัดเจนว่าเป็นไอกรน คือ มีอาการไอเป็นชุด ๆ ช่วงสุดท้ายมีเสียงดังวู้ป หรือหลังไอมีอาการอาเจียนตามมาและมีไข้ ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว

2.ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจน แต่ไอติดต่อกันมาประมาณ 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ถ้าในบ้านของผู้ป่วยมีทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไอกรนกับบุคคลเหล่านี้ ผู้ป่วยควรแยกน้ำดื่ม อาหารการกิน ของใช้ส่วนตัว และแยกห้องนอนจนกว่าจะผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไปแล้วมากกว่า 5 วัน

การรักษาโรคไอกรน คือ การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาแบบประคับประคองตามอาการ

1.ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะรักษาแบบให้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน สำหรับยาแก้ไอไม่ได้ช่วยในการรักษาหรือบรรเทาอาการไอ จึงไม่จำเป็นต้องใช้

2.สำหรับเด็กทารกและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อดูแลเกี่ยวกับเรื่องระบบทางเดินหายใจไม่ให้ร่างกายขาดออกซิเจน ในบางครั้งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  และต้องแยกห้องผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

การป้องกันโรคไอกรน

1.โรคไอกรนมีวัคซีนสำหรับป้องกัน ในเด็กเล็กต้องได้รับการฉีดวัคซีนช่วงอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15 – 18 เดือน ในรูปของวัคซีนรวม คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หลังจากนั้นเมื่ออายุ 4 – 6 ปี ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง

2.ในช่วงอายุ 11-12 ปี ปกติเด็กควรจะได้รับวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก กระตุ้นอีก 1 เข็ม แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบไอกรน บาดทะยัก แทนการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก

3.สำหรับแม่ตั้งครรภ์  ควรได้รับการฉีควัคซีนไอกรน  เพราะช่วยป้องกันโรคไอกรนในแม่และลูกที่คลอดมา ซึ่งเป็นที่รู้ว่า เกินร้อยละ 50 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ติดมาจากเชื้อโรคไอกรนในแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคไอกรนใน 3 เดือนแรก ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต แต่หากฉีดวัคซีนไอกรนให้แม่ สามารถป้องกันโรคไอกรนในลูกที่คลอดออกมาได้ตั้งแต่ 2-6 เดือน

ที่มา: Herkid รวมพลคนเห่อลูก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

อาการไอของลูก บอกอะไรได้บ้าง

อย่าเขย่าลูก ถ้าไม่อยากเสียใจไปตลอดชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth