แม่หลังคลอด เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี
แม่หลังคลอด เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี ก่อนอื่น มาดูประโยชน์ของนมแม่กันก่อน นมแม่ เต็มเปี่ยมไปด้วย สารอาหารที่จำเป็น ช่วยให้ลูก เจริญเติบโต อย่างแข็งแรง ทั้งยังมี ภูมิต้านทาน ในการต่อต้านเชื้อโรค จึงลดความเสี่ยงใน การเกิดโรคต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็ช่วยพัฒนาสมอง และ สติปัญญา
ด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ และ ส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก ในทุก ๆ ด้าน ทางองค์การอนามัยโลก จึงรณรงค์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ติดต่อกัน 6 เดือน ทั้งยังมีการแนะนำ ให้ลูกทานนมแม่ ร่วมกับอาหารเสริมได้ถึง 2 ปี
ในนมแม่มีสารอาหารสำคัญ อาทิ
1.นมแม่ มีโปรตีน
นมแม่ มีโปรตีน ซึ่งมีกรดอะมิโนสำคัญอย่าง ทอรีน ช่วยสร้าง สมอง และ จอประสาทตาทารก และ ในนมแม่จะมี whey protein มากกว่า casein protein ทำให้ย่อยง่าย ดูดซึมได้ดี
2.นมแม่ มีไขมัน ย่อยสลายได้เอง
เอ็นไซม์ไลเปส (Lipase) ในนมแม่ จะช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยเรื่องการดูดซึมสารอาหาร ทั้งยังแปลงไขมัน ให้เป็นพลังงาน นมแม่จึงให้พลังงานสูง แต่กลับย่อยง่าย
3.นมแม่ มีวิตามัน และ แร่ธาตุ
แร่ธาตุหลักอย่าง แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส และ เหล็ก ในนมแม่นั้น ร่างกายทารก จะดูดซึมได้ถึง 50 – 70% ทั้งยังมี วิตามินซี ที่เพิ่มประสิทธิภาพ ในการดูดซึมธาตุเหล็ก และ สังกะสี ( Zinc )
4.นมแม่มีฮอร์โมน และ เอ็นไซม์
เอ็นไซม์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในนมแม่ จะช่วยให้ร่างกาย ของทารกย่อยอาหาร epidermal growth factor ยังช่วยสร้างเนื้อเยื่อ ในระบบย่อยอาหาร และ ส่วนอื่น ๆ ส่วนฮอร์โมนอื่น ยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ การเจริญเติบโต และ สรีรวิทยาของทารก
นอกจากนี้ นมแม่ยังมี สารอาหารที่เปลี่ยนแปลง เช่น น้ำนมส่วนหน้า ( foremilk ) ไขมันต่ำ ปริมาณน้ำสูง แต่น้ำนมส่วนหลัง ( hind milk ) จะมีไขมันสูง และ ในนมแม่ยังมี ไขมัน ที่ช่วยเสริมสร้างสมองอีกด้วย
อ่าน แม่หลังคลอดเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี ในหน้าถัดไป
เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี
แม่หลังคลอด ต้องเริ่มปั๊มนม ให้เร็วที่สุด ปั๊มให้ได้ 8 – 10 ครั้ง ในทุก 24 ชั่วโมง หรือ เทียบเท่าจำนวนครั้ง ที่ลูกดูดต่อวัน ถ้าปั๊มบ่อย ก็ยิ่งผลิตน้ำนมได้มากขึ้น
เรายังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ในการปั๊มนมมาบอกคุณแม่กันด้วย
1.การเลือก เครื่องปั๊มนม
ควรลงทุน กับเครื่องปั๊มนมขนาดใหญ่ ที่ปั๊มพร้อมกันสองข้าง เลือกที่มีคุณภาพ แล้วปั๊มจนน้ำนมมาจริง ๆ ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังคลอด ให้ปั๊มนม 10 – 15 นาทีต่อข้าง ต่อการปั๊ม แต่ละครั้ง ยิ่งน้ำนมมากขึ้น ต้องพยายามปั๊มให้นานขึ้นและบ่อยขึ้นอย่างน้อย 20-30 นาที หรือปั๊มต่ออีก 2 นาที หลังจากปั๊มน้ำนมออกหมดแล้ว เพราะการปั๊มเกลี้ยงเต้า จะช่วยให้น้ำนมผลิตเร็วขึ้น
2.ขณะปั๊มนม แม่ต้องไม่เครียด
ระหว่างการปั๊มนม แม่ควรจะฟังเพลงเพราะๆ หรือดูทีวีเพลินๆ อย่าไปกดดันตัวเองมาก
3.เลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
เพราะน้ำนมทุกหยดถูกส่งต่อไปยังลูกรัก แม่จึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารอย่างครบถ้วน
สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ยังลังเลว่าจะปั๊มนมเมื่อไหร่ดี เลิกสงสัยแล้วลงมือปั๊มนมทันที เพื่อให้ลูกได้ดื่มนมแม่อย่างเพียงพอ
ที่มา : breastfeedingthai.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
10 เรื่องน่ารู้ของ นมแม่ ที่ถูกอ่านมากที่สุดในปี 2016
อะโพไครน์ จุดเริ่มต้นความพิเศษโดยธรรมชาติของนมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของลูก