แม่สุดห่วง ลูกคลอดก่อนกำหนดเหตุเพราะน้ำคร่ำรั่ว

เพราะน้ำคร่ำรั่ว ทำให้แม่ต้องคลอดน้องก่อนกำหนด และต้องผ่าตัดลำไส้เน่าและผ่าตัดหัวใจในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ หนึ่งในสมาชิกเฟซบุ๊คนามว่า หัวใจเรา เต้นตรงกัน ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจดังอย่างคนท้องคุยกันว่า ตนได้คลอดน้องก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดนั้นเพียง 1.100 กรัม และน้ำหนักลงเหลือเพียง 1.060 กรัมเท่านั้น

จากการพูดคุยกับคุณแม่ ๆ เล่าว่า ท้องน้องได้หกเดือน จู่มาวันหนึ่งตอนเที่ยงคืน ก็มีน้ำใส ๆ ไหลออกมาตลอด โดยทีแรกแม่คิดว่าเป็นน้ำปัสสาวะ จึงรอดูถึงเช้าน้ำก็ยังคงไหลอยู่ คุณแม่จึงรีบไปหาหมอทันที หมอบอกว่าคุณแม่มีน้ำคร่ำรั่ว ให้นอนเฉย ๆ  คุณแม่ก็ทำตามที่หมอสั่งทุกอย่าง สองวันแล้วน้ำคร่ำก็ยังคงไหลอยู่ จึงรีบกลับไปพบหมออีกครั้ง

คราวนี้หมอให้ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูปริมาณของน้ำคร่ำ และพบว่า น้ำคร่ำนั้นเหลือน้อยมาก หมอจึงแนะนำว่า ควรที่จะเอาเด็กออกโดยเร็วที่สุด พอคุณแม่ได้ยินแค่นั้นก็ถึงกับทรุดทันที เพราะกลัวว่าน้องจะไม่อยู่กับคุณแม่แล้ว แต่โชคดีที่หมอยังได้ยินเสียงหัวใจของน้องเต้นอยู่ แต่หมอก็ยังคงยืนยันว่าควรที่จะเอาเด็กออก จึงใส่ยาสอดเข้าไปก่อนหนึ่งเม็ด สักพักแม่ก็เริ่มมีอาการปวดท้อง หมอบอกว่าต้องทานถึงสี่เม็ด มดลูกถึงจะเปิด

แต่ด้วยความที่แม่ทนปวดไม่ไหว หมอจึงได้ผ่าเข้าห้องคลอดทันที ตอนที่อยู่ในห้องคลอดนั้น หมอบอกแม่ว่า น้องไม่อยู่แล้ว หัวอกแม่แทบแตกสลาย แต่พอคุณแม่ฮึดเบ่งอีกครั้งก็ได้ยินเสียงน้องร้องดังมาก น้องคลอดออกมาด้วยน้ำหนักตัวเพียง 1,100 กรัม หมอบอกว่าอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ซึ่งหมอจะนำตัวน้องส่งไปยังโรงพยาบาลพระจอมเกล้า เนื่องจากคุณแม่ติดเชื้อทำให้ต้องนอนอยู่ที่โรงพยาบาลท่ายางต่ออีกสามสี่วัน

พอน้องอยู่โรงพยาบาลพระจอมเกล้าได้เพียงอาทิตย์เดียว หมอก็บอกว่า น้องต้องผ่าตัดลำไส้ ซึ่งโอกาสรอดนั้นมีเพียง 20% เท่านั้น และน้องมีโอกาสที่จะเสียชีวิตในระหว่างทางที่นำตัวน้องส่งไปโรงพยาบาลเด็กมากถึง 70% คุณแม่ร้องไห้แทบไม่หยุด เพราะรู้สึกสงสารลูกแล้วกลัวเป็นอย่างมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อถึงโรงพยาบาลเด็ก ก็ใช่ว่าจะผ่าตัดได้เลย เพราะหมอต้องดูก่อนว่าเกร็ดเลือดของน้องอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ โชคดีที่ผลออกมาดี คุณหมอเลยทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี โดยในระหว่างนี้ คุณหมอไม่อนุญาตให้นมแม่ ให้น้องทานแต่โปรตีนและน้ำเกลือเท่านั้น น้องต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องดูดเสมหะตลอด ซึ่งในตอนแรกน้องมีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วย แต่ก็ดีขึ้นมากแล้ว โดยไม่นานมานี้ คุณแม่ได้รับข่าวร้ายจากทางคุณหมออีกครั้งว่า น้องต้องทำการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งหลังจากที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว อาการของน้องยังคงต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณแม่และน้องจะผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ไปได้โดยเร็วนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

เพราะอะไร ทำไมถึงน้ำคร่ำถึงแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ร่วมหาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด คืออะไร ?

หากถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำจะแตกออก และน้ำคร่ำจะไหลออกทางช่องคลอด การเกิดเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า น้ำเดิน หรือ SROM  ซึ่งคุณแม่จะมีเวลาพอที่จะโทรศัพท์ไปหาแพทย์ หรือเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งหากทารกคลอดในเวลานี้ ก็จะถือว่าเป็นการคลอดที่ปกติสมบูรณ์แบบ แต่หากน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 หรือ 38 เราจะเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด หรือ PROM ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำที่ออกมาจะมากหรือน้อยก็ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำคร่ำโดยปกติจะมีสีใส แต่บางครั้งก็อาจมีเลือดปะปนทำให้เห็นเป็นสีชมพู สีเขียว หรือสีน้ำตาล เราสามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ำคร่ำ และน้ำปัสสาวะได้ เพราะน้ำคร่ำจะไหลต่อเนื่องโดยเราไม่สามารถควบคุมให้หยุดได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการปัสสาวะรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก ?

หากพบว่ามีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด คุณแม่ต้องสังเกตที่ความต่อเนื่องของการไหลเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นน้ำคร่ำคุณแม่จะไม่สามารถควบคุมการหยุดได้ ซึ่งแตกต่างจากน้ำปัสสาวะ คือสามารถบังคับให้หยุดไหลได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อแน่ใจว่าของเหลวที่ไหลออกมาเป็นน้ำคร่ำ ให้ใช้ผ้าอนามัยใส่ที่กางเกงใน และเมื่อผ้าอนามัยซับน้ำจนชุ่มก็ต้องเอาออกเพื่อตรวจสอบสี และกลิ่นของน้ำคร่ำ หากเป็นน้ำคร่ำ มันจะใสไม่มีสี และมีกลิ่นหอม ซึ่งหากตรวจดูแล้วว่าเป็นน้ำคร่ำจริงก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการ คลอดทันที น้ำคร่ำที่ไหลออกมาอาจทำให้คุณแม่และทารกมีโอกาสติดเชื้อได้

อะไรคือสาเหตุของถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ?

การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนเจ็บท้องคลอดอาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันดังนี้

  • มารดาเคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดมาก่อน
  • การติดเชื้อในช่องคลอด มดลูกหรือปากมดลูก
  • การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • แรงตึงมากเกินไปที่ผนังถุงน้ำคร่ำในกรณีทารกแฝดหรือทารกตัวใหญ่
  • เคยผ่าตัดมดลูกหรือปากมดลูกมาก่อน
  • พฤติกรรมที่ไม่เหมาะระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ดื่มสุรา ยาเสพติด หรือการขาดสารอาหาร

ขอขอบคุณ เพจคนท้องคุยกัน และคุณแม่ หัวใจเรา เต้นตรงกัน มากค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ทารกคลอดก่อนกำหนดเสี่ยงกระดูกพรุน

5 ประโยคให้กำลังใจ ที่ควรพูดกับพ่อแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth