สำหรับหลาย ๆ ครอบครัว การทำอัลตร้าซาวด์แล้วเห็นลูกครั้งแรกนั้น ย่อมเต็มไปด้วยความสุขล้นอยู่ในจริง ยิ่งได้เห็นหน้าลูกในวันที่เขาลืมตาดูโลกด้วยแล้วนั้น ย่อมเป็นช่วงเวลาที่มีค่า และไม่สามารถเอาอะไรมาแลกได้ ซึ่งความรู้สึกที่กล่าวมาแล้วนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับครอบครัวเครี่และรอยส์เลย
“พวกเรารู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าพวกเราได้ลูกคนที่สองเป็นลูกสาว ครั้งแรกที่เรารู้นั้น เรารู้สึกดีใจมากและตั้งชื่อให้เธอว่า “เอวา” แต่ไม่นานหมอก็บอกข่าวร้ายที่สุดที่พวกเราไม่อยากได้ยิน นั่นก็คือ ทารกในครรภ์มีภาวะไร้สมองและกะโหลก ซึ่งโอกาสที่เธอจะมีชีวิตรอดสู่โลกภายนอกนั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลย” เครี่เล่า
แม้เครี่จะรู้อยู่แล้วว่า เอวาจะต้องตาย แต่เธอก็เลือกที่จะอุ้มท้องไปเรื่อย ๆ เพราะหวังที่จะบริจาคอวัยวะของเอวาให้กับผู้ป่วยคนอื่น ๆ ซึ่งตลอดระยะเวลาในการตั้งครรภ์นั้น เครี่สัมผัสได้ถึงทุกการสัมผัสของเอวา ไม่ว่าจะเป็นการเตะ การดิ้น เธอรับรู้ทุกอย่างเรื่อยมาจนกระทั่งในสัปดาห์ที่ 37 จู่ ๆ เอวาก็หยุดนิ่ง
เครี่รีบไปหาหมอที่โรงพยาบาลทันที หมอบอกว่าเธอต้องเข้ารับการผ่าตัดคลอดทันที “ไม่ฉันรับไม่ได้ ไม่จริงฉันยังรับไม่ได้” นี่คือสิ่งที่เครี่คิดตลอดเวลา เพราะการผ่าตัดคลอดของเธอนั้นไม่ใช่วันให้กำเนิดเอวาแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นวันตายของเธอด้วย และนั่นคือข่าวร้ายที่สุดในชีวิตเธอ และเธอก็ไม่มีวันรับมันได้
ภายหลังที่ผ่าคลอดเสร็จ ทั้งเอวาและรอยส์ไม่มีแม้แต่โอกาสสักวินาทีเดียวในการได้สัมผัสถึงลมหายใจของเอวาเลย ทันทีที่หมอเอาร่างอันไร้วิญญาณของเอวามาให้ พวกเขาทั้งคู่ร้องไห้จนแทบจะขาดใจ และร่วมกันถ่ายภาพครอบครัวสุดท้ายก่อนต้องแยกจากกัน
“ถึงแม้ว่าฉันจะไม่มีโอกาสแม้แต่จะได้สัมผัสถึงลมหายใจของเอวา แต่ฉันก็ยินดีที่จะบริจาคดวงตาของเธอให้กับเด็กคนอื่น ๆ ที่ต้องการ เพราะอย่างน้อยก็ทำให้อีกครอบครัวนึงมีโอกาสที่จะใช้ชีวิตพร้อมหน้าพร้อมตาอย่างมีความสุขแทนพวกเรา” เครี่ทิ้งท้าย
ภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ
เกิดจากมีความผิดปกติพัฒนาการท่อประสาท ไม่มีการปิดท่อประสาทส่วนบน ส่งผลให้ทารกไม่มีกะโหลก ไม่มีสมองส่วนหน้า สมองส่วนที่เหลือ มีรายงานพบอุบัติการประมาณ 1/1,000 ของทารกที่คลอด
ทารกมักจะตาบอด หูหนวก ไม่รับรู้ความเจ็บปวด ไม่รู้สึกตัว อาจมีตาโปนออกมาจากเบ้าตาได้ ร้อยละ 75 มักจะตายคลอด ที่เหลืออาจมีชีวิตอยู่ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ แล้วเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น พบในบุตรเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
สาเหตุที่แท้จริงนั้นไม่ทราบ เชื่อว่าเป็นจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โฟเลท วิตามินบี 6 บี 12 และธาตุสังกะสีหรือปัจจัยทางพันธุกรรม มารดามีโรคเบาหวาน ยาบางชนิดที่มีผลต่อโฟลิคเช่น ยากันชัก (valproic acid, antimetabolic drugs)
การวินิจฉัยระหว่างตั้งครรภ์
- การเจาะตรวจน้ำคร่ำหรือตรวจเลือดมารดาเพื่อวัดระดับ Alpha fetoprotein ซึ่งจะสูงขึ้นในทารกที่เป็นโรคนี้
- ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์เป็นต้นไป
การป้องกันภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ
สามารถทำได้โดยรับประทานธาตุโฟลิคทดแทน ขนาด 0.4 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันโรคเกิดใหม่(ลดได้ร้อยละ 58) และในขนาด 4 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำในรายที่มีบุตรเป็นโรคในครรภ์ก่อน (ลดได้ ร้อยละ 95)
ที่มา: Mirror และ นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
สิ่งที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้ทารกพิการ
ท้องนี้ชวนมากินทุเรียน ป้องกันลูกในครรภ์พิการกันดีกว่า