แม่ป่วยก็ให้นมลูกได้ กินยารักษาได้ไม่ลงในนมแม่

เป็นความเชื่อที่หลายคนยังคงสับสนว่าเมื่อคุณแม่ที่ให่นมลูกอยู่เกิดป่วยขึ้นมา จะยังให้นมลูกได้หรือไม่? ยาจะลงไปผสมในนมไหม? จะมีผลต่อลูหหรือเปล่า หลากหลายความกังวลของคุณแม่ เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป่วยแล้วกินยาจะให้นมแม่ได้หรือไม่?

ยาส่วนใหญ่ออกทางน้ำนมน้อยมาก เพียงไม่ถึง 1 % ของปริมาณยาที่แม่ได้รับ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีข้อห้าม ยาพื้นๆ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ เช่นยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ เนั้นสามารถใช้ได้ เพราะการกินยาของแม่ให้นม ยาส่วนใหญ่จะถูกสกัดไว้ที่เซลที่ล้อมรอบกระเปาะน้ำนม โอกาสออกมาในน้ำนมน้อยมาก หรือ ยาอาจอยู่ในกระเพาะอาหารของลูก แต่ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ส่วนใหญ่จึงไม่มีผลกระทบต่อลูก เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล (paracetamol) ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก หรือ Dextromethorphan เป็นยากดอาการไอ ก็ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก

ยาอะไรที่ส่งผลต่อน้ำนม 

ยาเฉพาะโรคเช่นยาคีโมของผู้ป่วยมะเร็ง ยาแก้ไมเกรนบางชนิด ยาต้านไวรัสสำหรับแม่ที่เป็น HIV และยาคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวม ซึ่งจะกดการสร้างน้ำนมในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอด (หลัง 6 เดือนไปแล้ว เมื่อน้ำนมแม่สร้างได้เต็มที่ ก็สามารถให้ได้) ส่วนยาแก้คัดจมูก อาจมีบางคนที่ไวต่อยานี้ และทำให้น้ำนมลดลงได้ แต่พบเป็นส่วนน้อย และเป็นชั่วคราว

ในกรณีของยาบางชนิดที่อาจมีผลบ้าง การให้ทิ้งช่วงการให้นมไป โดยให้กินยาหลังให้ลูกดูดนมอิ่ม หรือกินในช่วงที่ลูกจะหลับยาว ก็เพื่อให้ระดับยาในเลือดและในน้ำนมแม่ลดลงไปมากในมื้อถัดไปจนไม่เป็นอันตรายต่อลูก

ยาที่อาจต้องระวังเวลาใช้ 

แม้จะเป็นยาที่ใช้ได้ ไม่อันตรายแต่คุณแม่ก็ต้องระมัดระวังในการใช้ เช่น ยาลดน้ำมูกรวมกับยาแก้คัดจมูก อาจจะง่วง และเสมหะจะเหนียว ต้องดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอในบางคนที่ไวต่อยานี้มาก อาจมีผลกดการสร้างน้ำนมได้ ทำให้น้ำนมน้อยลง ให้ลองสังเกตอาการดู ถ้ามีปัญหาน้ำนมลดลง ให้หยุดยา ก็จะดีขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณแม่ควรรักษษตัวเองให้หายก่อนที่จะให้นมลูก ไม่จำเป็นต้องไม่รักษาเพราะกลัวยาจะลงลุก เพราะการทำอย่างนั้นจะทำให้ลูกยิ่งติดโรคจากคุณแม่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องใหญ่กว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา

https://www.facebook.com/thaibreastfeeding/

https://www.breastfeedingthai.com/ยาสำหรับแม่ให้นม

บทความโดย

daawchonlada