เตรียมรับมือ! 4 อาการแม่ท้องแก่ไตรมาสสุดท้าย

ยิ่งใกล้คลอด แม่ท้องแก่ ยิ่งกังวลมากขึ้น ไหนจะตื่นเต้นเพราะอีกไม่นานก็จะได้เจอหน้าลูกที่อุ้มท้องมานาน ไหนจะต้องรัยมือกับอาการของคุณท้องที่มาเยือนไม่ซ้ำกันอีก แต่จะมีอาการไหนบ้างน่ะ ที่แม่ท้องไตรมาสสุดท้ายต้องเตรียมรับมือมากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในที่สุดคุณแม่ก็เดินทางมาถึงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว กว่าจะมาถึงคุณแม่ต้องปรับตัวมากมายทั้งอารมณ์ สรีระร่างกาย อาหารการกิน และกิจวัตรประจำวันต่างๆ ยิ่งเข้าช่วงท้ายๆ ความตื่นเต้นก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เพราะใกล้เวลาจะได้เห็นน่าลูกแล้ว แต่นั่นแหละ แม่ท้องแก่ ยังต้องเตรียมรับมือกับ 4 อาการยอดฮิตของแม่ท้องไตรมาสสุดท้าย ด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนด่านทดสอบสุดท้ายก่อนที่จะได้เป็น “แม่” มาดูกันค่ะ ว่า อาการแม่ท้องแก่ไตรมาสสุดท้าย มีอาการอะไรบ้าง

เตรียมรับมือ 4 อาการแม่ท้องแก่ไตรมาสสุดท้าย

1. อาการบวมตามร่างกาย

อาการบวมเป็นธรรมชาติที่ร่างกายของเรากักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อ ทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นก็ทำให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่ชื่อว่าเวนาคาวา (vena cava) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดจากบริเวณหลังช่วงล่างกลับไปที่หัวใจได้สะดวก โดยส่วนใหญ่เราจะรู้สึกบวมที่บริเวณข้อเท้าและเท้า

วิธีลดอาการบวม

  • พยายามยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ หากอยู่ที่ทำงานก็ควรหาเก้าอี้ หรือกล่องอะไรก็ได้มาหนุนขาให้สูงขึ้น
  • หลีกเลี่ยง การนั่งไขว่ห้าง และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  • ยืดขาโดยให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อน แล้วค่อย ๆ เหยียดปลายเท้าเพื่อให้กล้ามเนื้อน่องผ่อนคลาย จากนั้น ก็ขยับนิ้วเท้าไปมา
  • ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายเก็บน้ำน้อยลง

อาการแม่ท้องใกล้คลอด จะบวมตามร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เหนื่อยง่ายเพราะท้องที่ใหญ่ขึ้น

อาการเหนื่อยง่ายเมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นตามขนาดตัวของเด็กที่เติบโตภายในครรภ์ มดลูกจะดันกระเพาะอาหาร และลำไส้ขึ้นบน ส่งผลให้กระบังลมถูกดันสูงขึ้น นอกจากนี้ มดลูกยังดันผนังหน้าท้อง ให้ยื่นออกมา ทั้งกระบังลมและผนังหน้าท้องมีส่วนช่วยในการหายใจ จึงไม่แปลกใจที่คุณจะรู้สึกหายใจลำบากเมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น อาการเหนื่อยง่ายเมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นพบได้บ่อย เนื่องจากหัวใจต้องสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้น เลือดบางส่วนต้องไปเลี้ยงลูกในครรภ์ เลือดส่วนที่ไปเลี้ยงบริเวณขาจะไหลกลับสู่หัวใจลำบาก

วิธีลดอาการเหนื่อยง่าย

  • เริ่มจากให้คุณแม่ค่อย ๆ นั่งยอง ๆ แล้วใช้มือใดมือหนึ่งเกาะเสาหรือหลักให้แน่น
  • จากนั้นสูดหายใจลึก ๆ ให้เต็มปอด เพื่อให้เลือดจะกลับสู่หัวใจมากขึ้น และเลือดบางส่วนจะไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเหนื่อยและหายใจลำบากได้ดี

อาการแม่ท้องใกล้คลอด มักจะเหนื่อยง่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เป็นตะคริว

แม่ๆ หลายคนคงเคยเป็นตะคริวตอนท้องใช่ไหม แต่ใครจะเป็นมากเป็นน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ซึ่งอาการตะคริวนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แล้วเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อขา เพราะต้องแบกน้ำหนักของท้องที่เพิ่มขึ้น จากการที่มดลูกขยายใหญ่แล้วไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ของขา ทั้งยังมีภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนด้วย  อีกหนึ่งสาเหตุที่พบบ่อย ๆ คือ เกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือในกระแสเลือด เนื่องจากลูกในท้อง จะดึงสารอาหารเหล่านี้ผ่านรกไปใช้ เพื่อการเจริญเติบโตในครรภ์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าถ้าแม่ท้อง ต้องทานวิตามินเท่าไหร่ จึงจะช่วยป้องกันตะคริวได้ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม ความเจ็บปวดจากตะคริวก็ทำให้เราสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกได้ทันที

วิธีป้องกันตะคริว

  • ให้คุณแม่พยายามยืดน่องขาออกมา โดยยืนห่างจากกำแพงประมาณ 1 เมตร
  • ใช้มือยันกำแพงไว้ พยายามให้ฝ่าเท้าแบบราบติดพื้นไว้นะคะ
  • ทำค้างไว้ครั้งละ 5 วินาที เซ็ตละ 5 ครั้ง ทำสัก 3 เซ็ด โดยเฉพาะก่อนนอนนะคะ
  • จากนั้นดื่มน้ำเยอะ ๆ อย่างน้อย ก็ให้ถึง 8-10 แก้วต่อวัน
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการแม่ท้องใกล้คลอด มักจะเป็นตะคริว

4. ริดสีดวงทวารมาเยือน

สาเหตุที่แม่ท้องเป็นริดสีดวง เนื่องจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดทับเส้นเลือดดำบริเวณด้านขวาของร่างกายทำให้ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักปูดออกมา เวลาขับถ่ายจึงเกิดการเสียดสีและเกิดเลือดออกบริเวณทวารหนัก สร้างความระคายเคืองและความเจ็บปวด

วิธีการดูแลตัวเองหากเป็นริดสีดวง

  • หากพบว่าเป็นริดสีดวงสิ่งแรกที่คุณควรทำคือพยายามรักษาความสะอาดบริเวณทวารหนัก และใช้กระดาษทิชชูที่นิ่ม ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
  • ใช้ความเย็นประคบบริเวณที่เป็นริดสีดวงหลาย ๆ ครั้งต่อวัน เพื่อลดอาการบวมของหลอดเลือดดำที่ปูดออกมา
  • จากนั้นแช่ก้นในน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาที หรือลองแช่น้ำอุ่นสลับกับการประคบน้ำแข็งก็ได้ค่ะ
  • ถ้าลองทำแล้ว ยังไม่รู้สึกดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์

_________________________________________________________________________________________

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

อ้างอิง : www.pampers.com

บทความอื่น ๆ เกี่ยวข้อง

สามีที่นอกใจภรรยาตอนท้องแก่ หาความเจริญในชีวิตไม่ได้?

ขอร้องนะ อย่าพูดแบบนี้กับแม่ท้องไตรมาส 3

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของแม่ท้องทั้ง 3 ไตรมาส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Weerati