100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 90 แม่ท้องเป็นอีสุกอีใสอันตรายหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาจไม่เป็นเรื่องดีเท่าไหร่นัก หากแม่ตั้งครรภ์เกิดมาเป็น อีสุกอีใส จึงเกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า เราจึงได้รวมเรื่องเกี่ยวกับ อีสุกอีใส มาฝากค่ะ

โรคอีสุกอีกใส

ตุ่มอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ Varicella ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลีย เป็นไข้ และมีตุ่มเล็กๆใสๆขึ้นตามตัวและใบหน้า หาผู้อื่นที่มีร่างกายอ่อนแอมาสัมผัสกับอีสุกอีใส ก็จะสามารถติดเชื้อโรคได้เช่นกัน และถ้าทารกติดอีสุกอีใส ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสมอง และผิวหนังลูก เชื้ออีสุกอีใสเป็นเชื้อไวรัส ในกลุ่มเฮอร์ปีส์ชนิดหนึ่งที่สามารถแพร่กระจายได้จากการไอจาม ปนเปื้อนละอองน้ำลาย และจากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่กำลังเป็นอีสุกอีใสอยู่โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมื่อเชื้ออีสุกอีใสเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน เชื้อก็จะเริ่มแบ่งตัวและเริ่มเข้าสู่กระแสเลือดและการกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ต่อมาจะมีอาการออกเป็นตุ่มใสๆ ขึ้นตามตัว ช่วงนั้นคนป่วยอาจจะมีไข้และมีโรคแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้ออักเสบของผิวหนัง และปอดบวม หลอดลมอักเสบได้ ในบางรายอาจจะมีอาการทางสมองแบบเชื้อไวรัสขึ้นสมอง ทำให้ซึมลงและมีอาการชักได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่ก่อน อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

อาการของโรคอีสุกอีใส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ที่เป็นอีสุกอีใสจะมีไข้ต่ำ ครั่นเนื้อครั่นตัว เหนื่อยง่าย เฉื่อยชา ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไม่อยากกินอาหาร อาการเหล่านี้จะพบในช่วง 1-2 วันแรก หลังจากนั้นตามตัวจะเริ่มมีจุดแดงๆ คล้ายตุ่มผองเล็กๆ อาการเหล่านี้จะพบในช่วง 2-4 วัน ก่อนจะเกิดการตกสะเก็ดในสัปดาห์ต่อมา อาการเหล่านี้ไมาร้ายแรงสำหรับเด็กเล็ก แต่ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจจะเกิดการพัฒนาโรคที่รุนแรงขึ้น ถ้าหากเคยฉีดวัคซีนมาแล้วก็อาจจะทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน แต่มักพบได้เล็กน้อย

 

ทำไมถึงเป็นอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใสเกิดจากการสัมผัสเชื้อ ที่สามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัส ทางน้ำลาย ไอ จาม หรือการหายใจ หรืออาจจะเกิดจากการสัมผัสผู้ที่เป็นโรคงูสวัสดิก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ภาวะแทรกซ้อน

ในเด็กที่แข็งแรงจะพบโรคอีสุกอีใสได้น้อย แต่ถ้าหากเป็นผู้ใหญ่อาจจะพบภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น ที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อนจนกลายเป็นหนองและอาจจะทำให้เป็นแผลได้

  • ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้บ่อย คือ ปอดอักเสบและสมองอักเสบ
  • ในหญิงตั้งครรภ์ถ้าเป็นโรคอีสุกอีใสในช่วง 3 เดือนแรก อาจจะส่งผลให้เด็กในครรภ์พิการได้ ทำให้มีแผลตามตัว แขนขาลีบ ตาเล็ก ต้อกระจก ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน
  • นอกจากนี้ถ้าเป็นในระยะก่อนคลอด 5 วัน หรือหลังคลอด 2 วัน อาจทำให้เกิดเด็กที่เกิดมาเป็นอีสุกอีใสรุนแรงได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส

ปกติแล้วถ้าคุณแม่เป็นอีสุกอีใส มักจะเกิดขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรก เพราะเนื่องจากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้นจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และถ้าหากโรคอีสุกอีใสแพร่กระจายเข้าไปสู่เด็กในท้อง ก็จะส่งผลผิดปกติเกี่ยวกับสมองและผิวหนัง แต่ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใสในช่วงใกล้คลอด ก็จะยิ่งมีความอันตรายมากขึ้น เนื่องจากสภาพร่างกายของคุณแม่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และอาจจะทำให้เกิดภาวะการคลอดก่อนกำหนด และอาจจะทำให้ระบบหายใจคนท้องล้มเหลว

 

คุณแม่ควรรักษาอย่างไร ?

หากคุณแม่ไปตรวจ แล้วแพทย์แจ้งว่ายังไม่ได้แพร่สู่ทารก ก็จะทำให้การรักษาไปตามอาการ คือหากมีไข้ ก็ให้ยาลดไข้ หากอ่อนเพลีย ก็ให้ดื่มน้ำผลไม้ในปริมาณมากและพักผ่อน ในคุณแม่บางรายอาจจะต้องให้น้ำเกลือ เพื่อให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น และระหว่างนี้คุณแม่ไม่ควรไปพบปะคนอื่นเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่คนอื่น

 

มีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กในท้อง

ในกรณีของหญิงมีครรภ์ ถึงแม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันที่เป็นปกติ แต่ระยะของการตั้งครรภ์แต่ละช่วง จะเกิดอันตรายต่อตัวของแม่เอง และอาจมีผลกระทบถึงลูกในครรภ์ได้แตกต่างกันไป

  • ในระยะครรภ์อ่อนๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อของทารกในครรภ์ที่มีผลทำให้เกิดความผิดปกติของทารกได้ ที่เรียกว่า congenital varicella syndrome อาจพบว่ามีความผิดปกติของผิวหนังหรือแขนขาของทารก หรือมีการติดเชื้อในสมอง จากการติดเชื้ออีสุกอีใสในระยะตัวอ่อนได้หรือพบว่าทารกมีผื่นผิวหนังแบบงูสวัดได้ถ้ามีการติดเชื้ออีสุกอีใส
  • ในระยะใกล้คลอด คือในช่วงประมาณ 7 วันก่อนคลอด ถึง 7 วันหลังคลอด อาจทำให้เกิดการติดเชื้ออีสุกอีใสชนิดรุนแรงมากกับทารกนั้นๆ ทำให้เสียชีวิตได้ แต่โชคดีที่ปัจจุบันมียาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใสใช้รักษาการติดเชื้อรุนแรงเหล่านี้ทำให้อัตราการตายในทารกลดลงได้ แต่ในรายที่เป็นรุนแรงถ้าสามารถหาอิมมูโนกลอบบูลินชนิดพิเศษสำหรับต้านฤทธิ์อีสุกอีใสมาฉีดให้ด้วยตั้งแต่ในระยะแรกที่ได้รับเชื้อก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง ก็จะช่วยลดผลกระทบที่จะมีต่อทารกได้มาก ปัญหาที่มีในทางเวชปฏิบัติก็คือ ยาเหล่านี้มีราคาแพงมากและในหลายต่อหลายครั้งก็อาจจะไม่มียาในสต็อกให้ใช้ ทำให้มีความยากลำบากในการรักษาทารกที่มีการติดเชื้อนี้

 

ป้องกันการเกิดอีสุกอีใส 

นอนพักผ่อน

  • โรคนี้อาจหายเองได้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจทำให้ระยะการเป็นโรคสั้นลง หากผู้ป่วยได้รับภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น ผู้ป่วยไม่จ่าเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย พิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำให้มากๆ
  • อย่าแกะหรือเกาอีสุกอีใส เพราะอาจเป็นแผลเป็นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ควรตัดเล็บให้สั้น

 

ฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส

ฉีดวัคซีน

  • คุณแม่ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ควรหลีกเลี่ยงคนที่เป็นอีสุกอีใส คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ไม่ควรฉีดวัคซีน เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ควรฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 
  • วัคซีนเข็มนึงสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคได้ร้อยละ 70-90 ในขณะที่การฉีดสองเข็มจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 98
  • ถ้าหากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน เพราะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานเชื้อตามธรรมชาติแล้ว

 

ประโยชน์ของวัคซีนคืออะไร?

  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็น อันเนื่องมาจากอีสุกอีใส
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อน จากการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

ป้องกันการเป็นอีสุกอีใส 

รักษาภูมิต้านทานให้แข็งแรง

  • นอนหลับให้เพียงพอ (หลับให้สนิท) กินผักและผลไม้สดเยอะๆ ลดปริมาณน้ำตาล
  • บริโภคอาหารที่ให้วิตามินซี วิตามินดี สังกะสี แก่ร่างกาย
  • ภูมิคุ้มกันจะแย่ลงได้ อาจจะเกิดจากการกินยามากเกินไป ผ่าตัด ฉายรังสี

 

เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นอีสุกอีใส 

  • แยกห้องนอน ไม่นอนรวมร่วมกับผู้อื่นเพราะจะส่งผลให้ผู้อื่นติดอีสุกอีใส
  • โรคอีสุกอีใสสามารถแพร่ได้โดยการสัมผัสผื่นแดงจากงูสวัดเช่นกัน เพราะโรคงูสวัดเป็นเชื้อเดียวกันกับโรคอีสุกอีใส

 

รักษาความสะอาดบ้านและมือ

  • ทำความสะอาดบ้านฆ่าเชื้อโรค
  • ซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนและผ้าขนหนูให้สะอาด
  • อย่าเอามือเข้าตา หรือ เข้าปากหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

ที่มา : https://th.wikihow.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่แชร์ การฉีดวัคซีนโรคอีสุกอีใส สำคัญกว่าที่คิด

คำถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่ต้องถามแพทย์หากคุณต้องการที่จะตั้งครรภ์เร็ว ๆ นี้

ประโยชน์แปลกๆของนมแม่ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ เช่น กำจัดกลิ่นใต้วงแขน บรรเทาอีสุกอีใส

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow