แม่ท้องกับอาการหอบหืด อาหารต้านหอบหืด 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 73

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะคุณแม่ท้องกับ อาการหอบหืด แทบจะเป็นของคู่กัน โดยทาง Asianparent จะพามารู้จักกับ อาการ และสาเหตุ ของอาการหอบหืด และ อาหารต้านหอบหืด เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมพร้อม และป้องกันอาการที่จะเกิดขึ้น

อาการหอบหืด เป็นปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ที่จะพบได้บ่อย ในกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 8 และมีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มขึ้น ภาวะดังกล่าว อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ของการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ จะเป็นผลดีต่อทั้งมารดา และทารกในครรภ์ เราควรมาดูสาเหตุ และวิธีดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นจาก อาหารต้านหอบหืด กันค่ะ

โรคหอบหืด … เกิดจากอะไร?

กว่าร้อยละ 50 อาการหอบหืด จะเกิดขึ้น ในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เคยมีประวัติการเป็นโรคประเภทนี้มาก่อน หรือมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้  เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่น หรืออาหารบางชนิด ก็จะไปกระตุ้น ให้เกิดอาการหอบหืด ขึ้นได้เช่นกัน 

ซึ่งคุณแม่บางคน อาจจะไม่เคยมีอาการนี้ แสดงให้เห็นมาก่อน ในขณะเดียวกัน คุณแม่ที่มีประวัติ เป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน จะทำให้อาการที่เป็น รุนแรงมากยิ่งขึ้น และส่งผล ให้เกิดอาการหอบหืด ตามลำดับ เช่น เดินเยอะ ๆ แล้วมีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการมากขึ้น ในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งพอมาตรวจวินิจฉัยจริง ๆ จึงพบว่าตัวคุณแม่เอง เป็นโรคหอบหืด

สิ่งที่กระตุ้น อาการของโรคหอบหืด ที่สำคัญที่สุด ได้แก่

  • การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • เรื่องการเปลี่ยนแปลง ของอากาศ อุณหภูมิ และความชื้น
  • การได้รับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • การออกกำลังกาย
  • สิ่งแวดล้อม
  • อารมณ์
  • อาหารบางประเภท โดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มีซัลไฟท์ จะเป็นอาหาร ที่กระตุ้นโรคหอบหืดโดยตรง

อาหารที่กระตุ้นโรคหืดหอบ ที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ นม ถั่วลิสง ถั่วอื่น ๆ ข้าวสาลี ปลาและหอย หากสังเกตจะพบว่า อาหารที่เป็นตัวกระตุ้นนั้น มักเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนใหญ่

อาการหอบหืด มีดังต่อไปนี้

  • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
  • แน่นหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจเสียงดัง
  • โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอน อาการของผู้ป่วย จะผันแปรได้หลายรูปแบบ
  • อาการหอบ อาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
  • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
  • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้ง ๆ หรืออาการ อาจจะหายไปเป็นเวลานาน
  • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน

วิธีการรักษาหอบหืด

  • ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
  • ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
  • ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาล เพราะโรคหอบหืด
  • สามารถคุมอาการให้สงบลงได้ และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
  • ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
  • ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอด ให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
  • สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติ ไม่ต้องหยุดเรียน หรือหยุดงาน
  • หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
  • ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
  • ใช้ยา beta2 – agonist เพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
  • ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
  • สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ

ในขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะเข้าไปกระตุ้นภูมิแพ้ และส่งผลไปถึงอาการหอบหืดได้ เช่นกัน ดังนั้น อาหารดังนั้นต่อไป คืออาหารที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ รวมถึงผู้ที่เป็นหอบหืด ควรจะต้องให้ความใส่ใจเป็นสำคัญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหอบหืด ลูกของคุณมีอาการแบบนี้รึเปล่า? ดูแลลูกยังไง?

สารผสมอาหาร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่จะมีความระแวดระวังอยู่พอควรในการเลือกรับประทานอาหาร สารอาหารที่ประกอบด้วย ซัลไฟท์ ซึ่งพบได้บ่อยในผลไม้แห้ง ผักกาดแห้ง ผักดอง เครื่องเทศ ไวน์ เบียร์ น้ำมะนาว สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้โรคหอบหืดมีความรุนแรงเพิ่ม รวมทั้งสารประกอบอื่น ๆ เช่น สีผสมอาหาร โดยเฉพาะสีเหลืองสารกันบูด ผงชูรส ดินประสิว (ซึ่งพบมากในแหนม) ก็อาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงได้เช่นกัน

ซัลไฟท

เป็นสารที่ใช้เคลือบผิวอาหาร โดยเฉพาะผลไม้ เพื่อให้สีเสมอ และต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้น ต้องระวังอาหารที่มีลักษณะผิวมัน ๆเรียบ ๆ สวย ๆ ซึ่งผู้ป่วยที่แพ้สารนี้ จะมีอาการหอบ และช็อคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น และสารนี้จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการของหืดแย่ลง

องค์การอาหาร และยา ไม่อนุญาตให้ใช้ซัลไฟท์ ในการเคลือบผักสด ผลไม้ (ยกเว้นมันฝรั่ง) และอาหารที่เคลือบด้วยสารประกอบซัลไฟท์ จะต้องมีแสดงให้เห็นในฉลากบรรจุอาหารเสมอ ดังนั้นเวลาเลือกอาหาร ต้องดูฉลากด้วยว่า มีส่วนผสมที่จะทำให้แพ้ หรือกระตุ้นโรคหืดให้มีอาการแย่ลงหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผงชูรสโมโนโซเดียมกลูตาเมท

มีรายงานว่าทำให้คนจำนวนไม่น้อย ที่มีอาการผิดปกติหลังรับประทานผงชูรส ดังนั้นอาหารที่มีผงชูรสเป็นส่วนผสม จำเป็นจะต้องมีฉลากเพื่อบอกว่ามีผงชูรสเป็นส่วนผสมอยู่ โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จต่าง ๆ เช่น มะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนน้ำตาลเทียมมีบางคนกล่าวว่าแพ้น้ำตาลเทียม แต่ในการศึกษาจริง ๆ ไม่มีผลต่อปฏิกิริยาแพ้อย่างชัดเจน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิจัยเผย คนท้องอ้วน ลูกเสี่ยงเป็นภูมิแพ้! ปัญหาของแม่ท้องที่อ้วนเกินพิกัด!

ภาวะแพ้อาหารกับโรคหอบหืด

ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอุบัติการณ์ของภาวะแพ้อาหารประมาณ 52 % เมื่อเทียบกับปกติ คือโดยทั่วไปจะพบได้ 27 % ผู้ป่วยโรคหืดที่แพ้อาหาร จะมีอาการหอบเฉียบพลันสูงถึงประมาณ 10 % และมีอาการช็อค อะนาฟัยแลกซิสสูงถึง 5 % ที่สำคัญไม่มีใครบอกได้ว่า ใครรับประทานอะไรแล้วจะแพ้ในลักษณะเช่นนี้

ผู้ป่วยโรคหืด ที่มีระดับของปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่ออาหารชนิด IgE สูง จะมีแนวโน้มที่ต้องใช้ยาพ่น เพื่อขยายหลอดลมเป็นประจำ ผู้ป่วยหืดที่แพ้อาหาร จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ได้มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคหืด

ดังนั้นผู้ป่วยโรคหืด ที่มีภาวะแพ้อาหารจึงควรพกยาติดตัวเสมอ อันดับแรกคือ ยาขยายหลอดลมที่กันอยู่ประจำ และยาช่วยชีวิต เช่น Epinephrine ซึ่งเป็นยาช่วยชีวิตสำหรับคนที่มีปฏิกิริยาแพ้รุนแรง และจำเป็นต้องมียานี้ติดตัวเป็นเข็มพร้อมยาสำหรับฉีดตัวเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การแพ้อาหาร

คือการที่มีปฏิกิริยาต่ออาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร โดยผ่านปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกาย คล้ายกับโรคหอบหืด อาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ไม่ใช่ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน หรือเกลือแร่ เมื่ออาหารไปกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ IgE และ mast cells ตามลำดับ เซลล์พวกนี้ จะถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสาร ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น  เมื่อมีการกระตุ้นซ้ำ เซลล์ตัวนี้จะแตกตัวง่ายมาก และเกิดสารพวกนี้อย่างรุนแรง

จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ จะมีอาการแพ้อาหาร แต่ทั้งนี้ก็พบเพียงไม่ถึง 2 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่สามารถพบในเด็กได้ถึง  5 % ในเด็กเล็กส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาต่อนม ถั่วลิสง ถั่วอื่น ๆ และข้าวสาลี สำหรับวัยรุ่น และผู้ใหญ่มักจะแพ้ ถั่วลิสง ปลา หอยสองฝา และถั่วอื่น ๆ

เมื่อสงสัยว่าแพ้อาหาร อาจจะพิสูจน์ได้ง่าย ๆ โดยการหยุดรับประทานอาหารที่สงสัยสักหนึ่ง หรือสองอย่าง แล้วดูว่ายังแพ้อยู่ หรือไม่ สงสัยชนิดไหน ก็หยุดชนิดนั้น และหากรับประทานอาหารชนิดนั้นแล้วแพ้อีก ก็แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น แต่การพิสูจน์ไม่ควรกินอาหารที่คิดว่าแพ้ เพราะอาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทดสอบให้แน่ใจ

อีกสิ่งหนึ่งที่แพ้คือยาง ซึ่งยางพวกนี้จะพบได้ในผลไม้ โดยเฉพาะกล้วย อะโวคาโด กีวี ลูกเกาลัด สำหรับผลกีวีนั้น มีรายงานเรื่องของการแพ้บ่อยขึ้น เพราะปัจจุบัน เป็นอาหารที่อยู่ในหลายเมนูของคนไทย

การแพ้อาหารสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 – 3 นาที หลังรับประทานอาหารจนถึง 2 – 3 ชั่วโมง แต่คนที่ไวมาก ๆ เพียงได้กลิ่น หรือสัมผัสอาหารที่แพ้ ก็สามารถแสดงปฏิกิริยาได้ โดยการแพ้อาหาร จะผันแปรได้มากในแต่ละบุคคล และในคนคนเดียวกันจะมีปฏิกิริยาการแพ้อาหารชนิดเดียวกันในแต่ละครั้งแตกต่างกันไป และความรุนแรงของการแพ้ก็ไม่เท่ากัน

อาการแพ้อาหาร อาการแพ้จะพบได้ที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ที่ผิวหนัง จะมีอาการบวมบริเวณริมฝีปาก หนังตา ลิ้น ใบหน้า ผลต่อทางเดินอาหารนั้น จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ส่วนผลต่อทางเดินหายใจ จะมีอาการจาม ไอเรื้อรัง เยื่อบุจมูกบวม หายใจลำบาก และหอบส่วนปฏิกิริยาแพ้รุนแรง ชนิดอนาฟัยแลกซิส บางครั้งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คนท้องกับเทียนหอม แม่ท้องต้องระวัง เทียนหอมมีผลต่อร่างกายแม่และลูก!

หลักในการวินิจฉัยโรค

เมื่อหยุดอาหารที่สงสัยแล้วไม่มีอาการ แต่เมื่อลองใหม่แล้วเกิดอาการซ้ำ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการตรวจเลือดหาระดับปฏิกิริยานั้น ๆ RAST TEST ถ้าใครแพ้อาหารประเภทไหน ต้องเลี่ยงอาหารนั้นไปประมาณ 1 – 2 ปี แต่อาหารบางรายการอาจจะแพ้ตลอดชีวิต จึงเน้นการหลีกเลี่ยงสารอาหารนั้น

 

วิธีการดูแลรักษา

ต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ต้องชี้แจงโอกาสที่จะเกิดอาการ และวิธีการรักษาที่เจาะจง ที่สำคัญที่สุดต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ รวมทั้งผู้ป่วยต้องอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารด้วย เพราะปัจจุบันนี้ มีอาหารสำเร็จรูปค่อนข้างมากเมื่อ แปรรูปไปแล้วทำให้เราไม่ทราบว่า มีส่วนประกอบที่เราแพ้รวมอยู่ด้วยหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารต้านหอบหืด

เป็นอาหารที่ถูกกล่าวอ้างบ่อย ๆ ว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันโรคหืด – หอบ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี และบีต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนั้น อาหารเสริมที่มี ธาตุซิลีเนียม แมงกานิส ทองแดง สังกะสี ผลการศึกษาพบว่าไม่ช่วยในการรักษาโรคหืด แต่ในเด็กอาจจะลดปฏิกิริยาภูมิแพ้

สำหรับอาหารที่มีสาร Flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง พบมากใน ชา แอปเปิล หัวหอม ไวน์แดง พบว่าไม่มีผลต่อการลดอาการของโรคหอบหืด นอกจากจะรับประทานแอปเปิลทุกวัน วันละ 2-5 ผลอาจจะช่วยลดความเสียงต่อการเกิดโรคหืด

ผู้ที่รับประทานอาหารไขมันอิ่มตัวสูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคหืดสูงกว่าผู้ที่รับประทานไขมันไม่อิ่มตัว

 

ที่มา : bumrungradsiamhealthbaby.kapook

บทความโดย

ammy