100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 87 คุณแม่ท้อง กับ ทันตกรรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องใกล้ตัวพ่อกังวลใจ แม่ท้อง กับ ทันตกรรม สามารถทำได้หรือไม่ เคยได้ยินมาว่าเสี่ยงอันตราย แล้วแบบนี้คุณแม่ควรทำ ทันตกรรม หรือไม่

ทันตกรรม คืออะไร ? 

ทันตกรรมแบบทั่วไป จะหมายถึง การตรวจสอบสภาพช่องปากและฟันการทำความสะอาด การทันตกรรมเป็นการรักษาสภาพเหงือกและฟัน เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีแก่ช่องปาก 

 

 

การตรวจวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Dentist

การวินิจฉัยโรคทางทันตกรรมนั้น จะตรวจด้วยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน และมีเครื่องเอกซเรย์ 3 มิติ ที่ทำให้ทันตแพทย์วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำและตรงจุดมากขึ้น 

ทำไมต้องตรวจฟัน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องจากการตรวจฟันเป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่มีความสำคัญที่สุด ทันตแพทย์จะสามารถวิเคราะห์และวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำและตรงจุด ในบางรายทันตแพทย์จะ X-ray เพื่อวิเคราะห์บางกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น การหาก้อนเนื้อ การตรวจหาฟันผุตามซอกฟัน 

กี่เดือนถึงจะตรวจฟัน 

แนะนำให้พบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก 6 เดือน เพื่อที่คุณหมอจะเช็คฟันที่เราอาจจะทำความสะอาดไม่ทั่วถึง ถ้าฟันและเหงือกของคุณมีรูปทรงที่ผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ก็ไม่จำเป็นต้องพบทันตแพทย์อีกเป็นระยะนานถึง 3-6 เดือน 

แต่ถ้าหาก มีกลิ่นปาก เสียวฟัน ปวดฟัน ฟันโยก ควรรีบไปปรึกษาทันตแพทย์ทันที 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมต้องขูดหินปูน ? 

การขูดหินปูนเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยขจัดหินปูน หรือแบคทีเรียบนผิวฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ กลิ่นปาก มีคราบฟัน หรือ โรคเหงือก เนื่องจากหินปูน เกิดจากคราบจุลินทรีย์ หรือเศษอาหารที่สะสมอยู่ ตามซอกฟันเนื่องจากเป็นบริเวณที่ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพช่องปากที่แข็งแรง 

ทำไมหมอขัดฟันให้หลังขูดหินปูหินเสร็จ 

การขัดพื้นผิวฟัน จะช่วยให้ฟันมีผิวที่เรียบเนียนขึ้น ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยให้ฟันดูมีความสวยงามแล้ว ยังช่วยขจัดคราบอาหาร แบคทีเรียและหินปูน จึงเป็นการช่วยลดการเกิดปัญหาทางทันตกรรมได้อย่างง่ายๆ

 

ทันตกรรมสำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร ? 

การดูแลสุขภาพช่องฟันมีความสำคัญต่อ คุณแม่ตั้งครรภ์และลูก เนื่องจากทันตแพทย์จะให้คำปรึกษา ตลอดจนการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมในแต่ละราย ทันตแพทย์จะเน้นย้ำให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก  และการเลื่อนการรักษาทางทันตกรรมที่จำเป็นออกไป อาจจะส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และมีผลต่อลูกในท้องอีกด้วย

อายุครรภ์ที่เหมาะสมและการรักษาทางทันตกรรม

ลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้การรักษาทางทันตกรรมในช่วงไตรมาสที่ 1 (สัปดาห์)

ในไตรมาสที่ 1 นั้นเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ (organogenesis)dHmk การได้รับรังสียา หรือสารที่สามารถทำให้ทารกในครรภ์มารดาเกิดความผิดปกติ (teratogen) ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการรักษาทางทันตกรรมเฉพาะอาการฉุกเฉินเท่านั้น การรักษารากฟันหรือการถอนฟัน อีกทั้งเป็นช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แพ้ท้อง อาจเป็นอุปสรรคต่อการรักษา ดังนั้นจึงควรเลื่อนการรักษาที่ไม่ฉุกเฉินไป

ในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 และห้ามใช้ไนตรัสออกไซด์ในช่วงการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกเนื่องจากทำให้เกิดความเสี่ยงในการแท้งสูงการให้การรักษาทางทันตกรรมในช่วงไตรมาสที่ 2 (สัปดาห์)
ในช่วงไตรมาสที่สองเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์มีการสร้างอวัยวะต่างๆสมบูรณ์ การรักษาทางทันตกรรมทั้งแบบฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉินสามารถทำได้ รวมถึงการถอนฟัน การรักษารากฟัน
ในช่วงไตรมาสที่ 3 (สัปดาห์)การรักษาทางทันตกรรมในช่วงไตรมาสที่สามควรเป็นหัตถการที่ใช้เวลาเพียงสั้นๆ เนื่องจากการเอนนอน เป็นระยะเวลานานๆจะทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกไม่สบายตัว เนื่องจากขนาดของท้องที่ใหญ่กดทับทำให้ความดันโลหิตต่ำ วิเวียนศรีษะได้ จึงควรจัดท่าทางให้เหมาะสม

ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาสที่ 3 ควรหลีกเลี่ยงการรักษาที่ไม่ฉุกเฉิน ระมัดระวังเพราะการเกิด aspiration โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการย่อยอาหารที่ช้าลง ทำให้มี content สะสมเต็มในกระเพราะอาหาร

การดูแลช่องปากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาหารเพื่อสุขภาพ

  • ไปพบทันตแพทย์
  • แจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้
  • เปลี่ยนยาสีฟันที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ท้อง
  • บ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ
  • เสริมแคลเซียม
  • รับประทานวิตามินดีให้มากขึ้น

โรคช่องปากกับคุณแม่ตั้งครรภ์ 

โรคปริทันต์(periodontal disease) โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคในช่องปากที่พบได้มากที่สุดในช่วงการตั้งครรภ์

  • โดยมีอาการแสดงตั้งแต่ เหงือกบวมแดงเล็กน้อย จนถึงเหงือกเลือดออกง่ายและเจ็บปวด อาการ ของเหงือกอักเสบจะชัดเจนในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 และมีความแตกต่างจากเหงือกอักเสบทั่วไป คือ เหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์จะมีการตอบสนองด้วยอาการอักเสบที่รุนแรงแม้มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ หรือหินน้ำลายเพียงเล็กน้อย แตกต่างจากโรคเหงือกอักเสบทั่วไป โรคปริทันต์ที่พบมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์เป็นผล จากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงตั้งครรภ์ (1, 2) ทำให้เกิดการ กดการทำงานและการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

โรคฟันผุ 

หญิงตั้งครรภ์มักจะมีพฤติกรรมการกินอาหารที่มากขึ้น รวมถึงความเป็นกรดในช่องปากที่เกิดขึ้นภายหลังการอาเจียน หรือกรดไหลย้อน และการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของน้ำลายที่มีความเป็นกรดที่มากขึ้น ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุมากขึ้น

ที่มา : https://orthosmilekorat.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องทำฟันได้ไหม

คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน จัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า

อันตรายไหม หากคนท้องเดินผ่านเครื่องสแกนร่างกายทุกวัน

 

 

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow