แพ้โปรตีนในนม ปัญหายอดฮิตของลูก

นมวัวเป็นสาเหตุสำคัญของการ แพ้โปรตีนในนม ซึ่งมักเกิดกับลูกก่อน 1 ขวบ เด็กบางคนหายเมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี ในขณะที่บางคนยังคงมีอาการแพ้อยู่ตลอดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่านมจะเป็นแหล่งพลังงานหลักของลูกน้อย แต่การแพ้นม (Milk Allergy) กลับเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เกี่ยวกับอาหารการกินของเด็ก ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี 100 คน จะมี 2 – 3 คน ที่มีอาการแพ้ ไม่สามารถดื่มนมได้ หรือดื่มแล้ว ร่างกายจะแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา ในบางรายแพ้น้อย อาจจะมีอาการท้องอืด ท้องเสีย แต่หากแพ้มาก ก็อันตรายได้ถึงชีวิต

นมวัว สาเหตุอันดับหนึ่งของการ แพ้โปรตีนในนม

นมวัว ถูกพบว่าเป็นสาเหตุของการแพ้ มากกว่านมชนิดอื่น ๆ อย่าง นมแพะ นมแกะ หรือนมควาย อาการแพ้นมวัว จะเกิดจากการที่ลูก แพ้โปรตีนในนม ที่ชื่อว่าเคซีน (Casein) และ เวย์ (Whey) ซึ่งมักเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อน 1 ขวบ เด็กบางคนหายจากการแพ้ เมื่ออายุประมาณ 3 – 5 ปี ในขณะที่บางคนยังคงมีอาการแพ้อยู่ตลอดไป

เมื่อลูกแพ้โปรตีนในนมวัว ก็มักจะแพ้โปรตีนในอาหารบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้ได้สูง เช่น ถั่ว ไข่ อาหารทะเล และแป้งสาลี การหลีกเลี่ยงอาการแพ้ คุณพ่อคุณแม่ควรรอจนลูกอายุ 2 ขวบ จึงค่อยลองให้ลูกรับประทานอาหารเหล่านี้ทีละอย่าง

การแพ้โปรตีนในนม มักเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อน 1 ขวบ เด็กบางคนหายจากการแพ้ เมื่ออายุประมาณ 3 – 5 ปี ในขณะที่บางคนยังคงมีอาการแพ้อยู่ตลอดไป

ทำไมทารก และเด็กส่วนใหญ่จึงแพ้โปรตีนในนม

การแพ้โปรตีนในนมมักจะเริ่มขึ้น ตอนที่ลูกยังอายุไม่ถึง 1 ปี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มที่ทำงานต่อต้านกับโปรตีนในน้ำนม ทารกที่ดื่มนมแม่ จะแพ้ผลิตภัณฑ์จากนมที่แม่บริโภค ที่จะส่งไปยังลูกผ่านทางน้ำนมแม่ ขณะเดียวกัน ทารกที่ไม่ได้ดื่มนมแม่ จะมีสาเหตุการแพ้มาจากนมที่ทารกดื่ม

การแพ้โปรตีนในนมนี้ อาจส่งผ่านทางพันธุกรรมได้เช่นกัน หากพ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติการแพ้ ลูกที่เกิดมา ก็มีโอกาสที่จะแพ้ได้ถึง ร้อยละ 50 – 60

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัว

โรคแพ้โปรตีนนมวัว ถือเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก บางรายมีอาการทันที หลังจากได้รับนมวัว เช่น มีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหน้า แขน ขา ลำตัว ปากเจ่อบวม ขณะที่บางรายจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา ในระยะแรก แต่หลังจากผ่านไป 2 – 3 เดือน ก็จะมีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายมีเลือดปน หายใจขัด คัดจมูก หลับไม่สนิท ผื่นแพ้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าใจว่าเป็นโรคทั่ว ๆ ไปในเด็ก ก็เลยยิ่งทำให้เด็กเจ็บป่วยโดยไม่ได้รับการรักษาที่ตรงตามโรค และไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง ที่สำคัญคือ การแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารก เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหืด เมื่อเด็กโตขึ้นได้ด้วย

ป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพ้โปรตีนนมวัว

ในนมแม่มีภูมิคุ้มกัน ช่วยจับกับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารเหล่านั้น ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การให้ลูกน้อยทานนมแม่ จะช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้ เพราะการติดเชื้อ หรือลำไส้อักเสบ จะทำให้ร่างกายรับสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม่ไม่ควรดื่มนมวัวมากนัก ทั้งในระยะตั้งครรภ์ และระยะให้นมลูก การดื่มนมวัวมากไปจะเพิ่มโอกาสที่โปรตีนในนมวัวจะผ่านทางแม่ และไปกระตุ้นให้ลูกเกิดปัญหาการแพ้ได้

ผู้แพ้บางรายมีอาการทันที หลังจากได้รับนมวัว ขณะที่บางรายจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา ในระยะแรก แต่หลังจากผ่านไป 2 – 3 เดือน จึงจะเริ่มแสดงออกว่าแพ้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กที่แพ้นมวัว

การให้ลูกทานนมแม่ เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะนมแม่ คือนมที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าคุณแม่ประสบปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอ นมแพะก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยนมแพะจะมีปริมาณโปรตีนก่อแพ้ หรือเบต้า-แลคโตกลอบบูลิน (Beta-lactoglobulin) น้อยกว่านมวัวถึง 3 เท่า โอกาสที่จะเกิดภูมิแพ้จึงน้อยกว่า อีกทั้งนมวัวยังย่อยยาก มักตกค้างอยู่ในลำไส้เล็ก และกลายเป็นสารก่อแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการออกมาในลักษณะต่าง ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ในนมแพะ ยังมีโปรตีน CPP (Casein phosphopeptides) หรือโปรตีนนุ่ม มีเบต้าเคซีนสูง และมีแอลฟาเอสวันต่ำ สัดส่วนของเบต้าเคซีนที่ใกล้เคียงกับนมแม่นี้ ทำให้นมแพะถูกย่อย และดูดซึมได้ง่าย และยังสามารถจับกับแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม ที่อยู่ในนม ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ นมแพะยังมีนิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ (Natural Nucleotide) 5 ชนิดที่เพิ่มภูมิคุ้มกัน มีโพลีเอมีนส์  ช่วยลดปฏิกิริยาการแพ้อาหาร มีโกรทแฟคเตอร์ ชนิดไอจีเอฟวัน และทีจีเอฟ เบต้า ช่วยให้เกิดการพัฒนาของระบบลำไส้ และการย่อยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ครบถ้วนได้มากกว่าอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้มีอาการแพ้โปรตีนในนม

  • นมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น นมสด (Whole milk) นมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย นมพร่องขาดมันเนย เป็นต้น
  • เนย
  • โยเกิร์ต
  • ไอศกรีม รวมทั้งเจลาโต้ (gelato)
  • ชีส และอาหารที่มีชีสเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น

นมมักเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของอาหารหลาย ๆ ชนิด คุณพ่อคุณแม่ควรจะอ่านฉลากอาหารให้ดี ชื่ออื่น ๆ ที่อาจพบได้บนฉลากอาหาร เช่น

  • เวย์ (Whey) และเคซีน (Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในน้ำนม
  • ส่วนประกอบที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า แลค (Lact) เช่น แลคโตส แลคเตท
  • ขนมหวานจำพวก ช็อกโกแลต คาราเมล ขนมนูกัต คุกกี้
  • อาหารเสริมจำพวกโปรตีน
  • เนยเทียม
  • สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ กลิ่นชีส
  • โปรตีนไฮโดรไลเซต

ในนมแม่มีภูมิคุ้มกัน ช่วยจับกับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารเหล่านั้น ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การให้ลูกน้อยทานนมแม่ จะช่วยลดการติดเชื้อในลำไส้ เพราะการติดเชื้อ หรือลำไส้อักเสบ จะทำให้ร่างกายรับสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม โรคแพ้โปรตีนในนมวัว รวมทั้งการแพ้อาหารต่าง ๆ ของลูกนั้น เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ต้องระวังเป็นพิเศษ ลูกอาจจะหายจากการแพ้โปรตีนในอาหารที่กล่าวมาข้างต้นได้เมื่ออายุ 2 ขวบ มีเด็กบางคนเท่านั้นที่อาจจะหายช้ากว่าคนอื่น จึงควรให้แพทย์เป็นผู้ประเมินว่า ลูกหายขาดจากการแพ้นมวัว หรือแพ้อาหารแล้วหรือยัง ถ้ายังแพ้อยู่ก็ห้ามรับประทานอาหารนั้น ๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง และเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมได้

ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และรูปภาพนำไปเผยแพร่ต่อ ไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

แหล่งอ้างอิง nestlehealthscience , mayoclinic

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูก แพ้นมวัว ดูแลอย่างไร ไม่ขาดสารอาหารสำคัญ

ไขข้อข้องใจ เด็ก 1 ขวบ ต้องรับประทานโปรตีนเท่าไร และทำไมต้องเป็น โปรตีนย่อยง่าย ?

ขนมชิ้นแรกของลูก เลือกอย่างไรให้ถูกใจ และช่วยเสริมพัฒนาการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team