ยังจำได้ไหม แฝดสยาม ที่รพ.ศิริราช ผ่าแยก 15 ปีที่แล้ว ตอนนี้โตเป็นสาว!

15 ปีที่แล้ว โรงพยาบาลศิริราช โดยคณะแพทย์ได้ทำการผ่าตัดแยกลำตัว แฝดสยามคู่ที่ 3 จนกลายเป็นข่าวโด่งดัง ตอนนี้ทั้งคู่โตเป็นสาวแล้วนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แฝดสยาม ที่รพ.ศิริราช ผ่าแยก 15 ปีที่แล้ว

สองสาววัยรุ่น น.ส.ปาริชาติ เนรา หรือพี่ไฟว์ และ น.ส.ปาริฉัตร เนรา หรือ น้องโฟร์ท เติบโตมาอย่างแข็งแรง จนแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า เมื่อแรกเกิดนั้นทั้งคู่เป็น แฝดสยาม ที่รพ.ศิริราช ผ่าแยก 15 ปีที่แล้ว

 

ล่าสุด สื่อมวลชนได้ตามไปอัพเดตสองสาวว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง ที่อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ทั้งคู่มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส สุขภาพแข็งแรง ในวัย 15 ปี และเรียนอยู่ชั้น ม.3 โรงเรียนมัธยมวัดดอนตูม

 

ฝาแฝดคู่นี้ ถ้าเราไม่ได้เห็นสูจิบัตรการเกิดที่ลำตัวติดกัน ก็ดูไม่ออกเลยว่า เคยเป็นแฝดสยามที่ตัวติดกันมาก่อน ภายในบ้านนอกจากลูกสาวฝาแฝดแล้ว ยังมีนายมาโนชย์ เนรา และนางธนาพร แซ่เล้า ผู้เป็นพ่อและแม่ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวของฝาแฝดคู่นี้ด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นางธนาพร ย้อนเล่าเรื่องราวว่า หลังจากที่น้องโฟร์ (น.ส.ปรีญารัตน์ เนรา) อายุได้ 5 ขวบ ก็เริ่มตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 และไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชน อ.บ้านโป่ง จนอายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์ แพทย์อัลตร้าซาวด์พบว่า ตั้งครรภ์แฝด เด็กอาจมีความผิดปกติ แพทย์จึงได้ทำเรื่องส่งไปรับการรักษาต่อยังโรงพยาบาลศิริราช ระหว่างนั้นทุกเดือนต้องเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ครบกำหนดคลอด ก็ใช้วิธีการผ่าตัดช่องท้อง ในวันที่ 10 ก.ค. 2545 และพบว่าเด็กทั้ง 2 คน มีร่างกายแข็งแรง น้ำหนักแรกคลอดของเด็กทั้ง 2 คน รวมกันได้ 4,590 กรัม แต่มีลำตัวติดกัน ตั้งแต่ช่วงอกถึงช่วงท้อง เมื่อตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง (MRI) ทำให้ทราบว่าส่วนของหัวใจและระบบทางเดินอาหารนั้นแยกกันโดยสมบูรณ์ 4 เดือนหลังจากนั้น ทีมแพทย์โรงพยาบาลศิริราชจึงได้ทำการผ่าตัดแยกร่างฝาแฝดออกจากกัน โดยใช้ทีมแพทย์และพยาบาลห้องผ่าตัดทั้งสิ้น 36 คน แบ่งเป็นทีมวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 2 คน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 2 คน กุมารศัลยแพทย์ 4 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 14 คน วันนั้นใช้เวลาผ่าตัดนานถึง 10 ชั่วโมง

 

เป็นเรื่องน่าดีใจ ที่ทั้งพี่ไฟว์และน้องโฟร์ท เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง! จากภาพเก่าไม่น่าเชื่อเลยว่า ทั้งคู่จะเคยเป็นแฝดสยามมาก่อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แฝดสยามหรือฝาแฝดตัวติดกัน

แฝดผู้มีร่างกายติดกันมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นเมื่อ ไซโกท พยายามแบ่งตัวเป็นแฝด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ฝาแฝดติดกัน มีโอกาสในการเกิดจาก 1 ต่อ 50,000 ถึง 1 ต่อ 200,000 คน ซึ่งฝาแฝดตัวติดกันมีโอกาสมีชีวิตรอดน้อยมาก โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (ประมาณร้อยละ 70 – 75)

 

แฝดสยาม แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนกลางร่างกาย คือ อกและท้อง
  2. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณเชิงกราน
  3. อวัยวะเชื่อมต่อด้วยส่วนล่างของร่างกาย เช่น ก้นกบ สะโพก
  4. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ศีรษะ

ซึ่งแฝดสยามชนิดที่พบมากที่สุดได้แก่ ประเภทที่ 1 และแฝดสยามที่พบน้อยที่สุดได้แก่ ประเภทที่ 4 และประเภทนี้นี่เอง ที่ได้จัดว่า เป็นการผ่าตัดที่ยากที่สุดอีกด้วย และฝาแฝดสยามที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมากที่สุด คือ อิน และ จัน บุนเกอร์ ฝาแฝดชาวจีน ที่เกิดในประเทศไทยสมัยรัชการที่ 2 นั่นเองค่ะ

 

ที่มา : news.ch7.com และ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เศร้า ทารกแฝดสยามสิ้น หลังมีชีวิตได้เพียง 6 นาที

เรื่องราวปาฏิหาริย์ของชีวิตฝาแฝดตัวติด

ถึงจะสีผิวต่างกัน แต่หนูก็เป็นฝาแฝดกันนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team