แชร์คลิป คุณพ่อหัวใสสอนลูกหัดเดิน ด้วยวิธีนี้เก๋ไก๋ไม่เบา!!
คุณพ่อรายนี้ได้ แชร์คลิป วิดีโอด้วยวิธีสอนให้เจ้าตัวเล็กหัดเดิน ด้วยการใช้ “ห่วงฮูลาฮูป” เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยให้เจ้าตัวเล็กได้จับเดิน
ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่คูลมาก เมื่อเจ้าหนูก็สนุกกับการถือห่วงใหญ่ ๆ ที่ด้านล่าง ค่อย ๆ เดินเตาะแตะด้วยสองเท้าของเขา โดยคุณพ่อใช้มือจับที่ด้านบนของห่วงฮูลาฮูป
วิธีสอนลูกหัดเดิน ให้ทารกเดินได้ไว ๆ
เตรียมพร้อมเตาะแตะ
เด็กโดยทั่วไปจะเดินในช่วงอายุประมาณ 1 ขวบ อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ไม่กี่เดือน เพราะเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการเร็วหรือช้าต่างกัน พ่อแม่อย่ากังวลใจไปนะคะ ถ้าเห็นลูกบ้านอื่นเดินได้แต่ลูกเราเพิ่งจะเกาะยืน
วิธีสอนลูกหัดเดิน – ก่อนอื่นเมื่อลูกสนุกกับการเคลื่อนที่ด้วยการคลาน และนั่งทรงตัวได้เองแล้ว ก็ให้ลองจัดพื้นที่ให้ลูกหัดเกาะยืนเกาะเดินดูบ้าง โดยจัดเฟอร์นิเจอร์สูงระดับที่เขาเกาะยืนและเดินไปรอบ ๆ ได้สะดวก เช่น โต๊ะ เตียง เก้าอี้ แต่ต้องระวังไม่ให้มีเหลี่ยมมุมคม ๆ ที่จะเป็นอันตราย และเฟอร์นิเจอร์ก็ควรแข็งแรง มั่นคง รับแรงคว้าของเด็ก ซึ่งหมายถึงน้าหนักตัวที่รั้งขึ้นยืนนั้นได้ เพื่อความปลอดภัย
เมื่อลูกน้อยเกาะยืน และสามารถรั้งตัวขึ้นยืนเองได้ชำนาญแล้ว ทีนี้เขาก็จะสนุกกับการเกาะเดินไปรอบ ๆ โดยตัวกระตุ้นสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือเสียงเชียร์จากพ่อแม่ ของเล่นตัวโปรด หรือข้าวของแปลก ๆ ใหม่ ๆ เป็นของหลอกล่อให้หนูน้อยเดินมาหา
และเมื่อลูกเกาะเดินได้คล่องก็ถึงเวลาที่เขาจะลองเดินเองดูบ้าง โดยเด็ก ๆ จะเดินได้เร็วส่วนหนึ่งมาจากความมั่นใจหากพ่อแม่หรือคนเลี้ยง ได้ช่วยจับมือฝึกเขาเดินทุกวัน ๆ และอาจเกิดจากการเห็นเด็กในวัยไล่เลี่ยกันเดิน ทำให้ลูกน้อยอยากเลียนแบบเด็กคนอื่นดูบ้าง
บทความใกล้เคียง: พัฒนาการเด็กช่วงอายุ 1-3 ปี
ช่วงเวลาสนุกหัดให้ลูกน้อยเดิน
พ่อแม่จับมือทั้งสองข้างของลูก ให้ลูกอยู่ข้างหน้า หันหน้าออก แล้วพ่อแม่อยู่ข้างหลัง แล้วค่อย ๆ ให้ลูกก้าวไปข้างหน้าที่ละก้าว พ่อแม่ก็ค่อย ๆ เดินตาม แต่ต้องระวังจะเหยียบเท้าน้อย ๆ ของลูกด้วย ให้ลูกพาพ่อแม่เดินไปในที่ที่เขาสนใจอยากดูหรืออยากไป (ถ้าเด็กคนไหนยังทรงตัวได้ไม่ดีแนะนำให้จับรักแร้แทนจับมือค่ะ) หรือบางทีก็ให้พ่อแม่หรือคนในครอบครัวยืนอยู่ที่ปลายทาง ให้ลูกอยากจะเดินไปหา
โดยเฉพาะเมื่อเราไปในสถานที่แปลก ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ลูกจะตื่นเต้นมาก แล้วก็อยากเดินไปไหนต่อไหนเอง เขาจะนำพ่อแม่เดินไปที่นั่นที่นี่อย่างไม่รู้เหนื่อยเลยค่ะ การจับลูกเดินนี้จะช่วยให้ลูกจะเดินได้เต็มเท้า และรู้จักวิธีการทรงตัวได้เร็วมาก พอลูกเริ่มเดินด้วยการจับข้อมือทั้งสองข้างคล่องแล้ว เขาก็จะสะบัดมือพ่อแม่ออกข้างหนึ่ง แล้วให้เราจูงมือเขาข้างเดียว เพื่อที่อีกมือจะได้หยิบจับสิ่งของที่ต้องการได้ และท้ายที่สุดเขาจะเดินโดยปล่อยมือทั้งสองที่จับพ่อแม่อยู่ได้เองเลยค่ะ
นอกจากนี้มีอีกวิธีหนึ่งสำหรับเด็กที่เริ่มตั้งไข่ได้ หรือยืนได้บ้างแล้ว ให้พ่อแม่หันหน้าเข้าหาลูก ยืนห่างจากลูกไม่กี่ก้าว และให้ลูกเดินมาหา อย่าลืมส่งเสียงเรียกชื่อลูก เชียร์ดัง ๆ และถ้าลูกทำได้ก็ปรบมือให้กำลังใจ และยิ้มกว้าง ๆ ให้ด้วยเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูก เมื่อลูกเริ่มเดินเก่งก็ค่อย ๆ ปล่อยมือและแอบถอยหลังไปทีละนิด ๆ เพื่อให้เขาเดินได้ในระยะที่ไกลขึ้น และแน่นอนเมื่อลูกทำได้ต้องโอบกอด ชมเชย และปรบมือให้ดัง ๆ
คำแนะนำเพิ่มเติม
ในการสอนลูกหัดเดินนั้น ควรให้ลูกเดินดินเท้าเปล่าดีที่สุด เพราะเด็กจะได้รับความรู้สึกจากฝ่าเท้า ซึ่งมีผลต่อการทรงตัว ดังนั้นการเดินในบ้าน ควรให้เขาฝึกเดินที่พื้นเรียบ ไม่ขรุขระ แข็ง หรือเย็นจนเกินไป ถ้าเขาเริ่มเดินได้ดีแล้วอยากเดินนอกบ้าน ก็ควรใส่รองเท้า เพื่อป้องกันอันตรายให้เท้าน้อยๆ ด้วยค่ะ
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ไม่ควรเร่งเด็กเพื่อที่เขาจะยืนเร็ว ๆ หรือเดินเร็ว ๆ เพราะที่สุดแล้ว เมื่อลูกพร้อม เด็กจะยืนจนได้ด้วยตัวของเขาเอง หากแต่การเร่งให้เด็กยืนหรือเดินเร็ว ๆ อาจส่งผลให้พัฒนาการของเขาช้ากว่าที่ควรจะเป็นก็ได้นะคะ เพราะเขาจะรู้สึกแย่ ไม่มั่นใจ และฝังใจกับการล้มบ่อย ๆ อาจทำให้กลัวการยืนหรือเดินได้ค่ะ
ดูวิดีโอด้านล่างนี้เพื่อดูว่ามันเป็นวิธีการที่ง่ายและน่ารักแค่ไหน
[avatar /]
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
credit content : www.huffingtonpost.com
คลิปวิดีอื่นที่น่าสนใจ :
สุดยอด! หนูน้อยวัย 3 ขวบ เตะบอลได้ขนาดนี้เลยหรอ (มีคลิป)
น้ำตาจะไหล โถววว ลูกเอ๊ย ปฏิกิริยาวินาทีเด็กหูหนวกได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก(มีคลิป)