แจกแบบฝึกหัดคัดตัวเลข สอนคณิตศาสตร์พื้นฐานให้ลูก คัดเลขตามเส้นประ

ขอนำแบบฝึกหัดมาแจกอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นมา แจกแบบฝึกหัดคัดการตัวเลข ฝึกให้ลูกคัดตัวเลขตามเส้นประ เป็นทักษะพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำแบบฝึกหัดมาแจกอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นมา แจกแบบฝึกหัดคัดตัวเลข ฝึกให้ลูกคัดตัวเลขตามเส้นประ เป็นทักษะพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่เข้าเรียนแล้ว หรือเด็ก ๆ ที่กำลังเตรียมตัว ผู้ปกครองท่านไหนที่ยังไม่ได้ดาวน์โหลดแบบฝึกหัดเก่า ๆ ของเราอย่าลืมเข้าไปโหลดกันนะคะ

 

แจกแบบฝึกหัดคัดตัวเลข ดาวน์โหลดเลย

ที่มาของตัวเลข

ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน ซึ่งถูกคิดขึ้นมาก่อน เศษส่วนและทศนิยม ประวัติของตัวเลขเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่มนุษย์รู้จัก “การเทียบสิ่งของด้วยวิธีหนึ่งต่อหนึ่ง” เช่น เทียบสัตว์ 1 ตัว กับ นิ้วมือ 1 นิ้ว บรรพบุรุษของเราไม่มีตัวเลขแต่ก็รู้จักการนับ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่คุ้นเคยมักจะถูกนำมาเอามาใช้แทนจำนวนตัวเลข

ที่นิยมมากที่สุด คือ นิ้วมือ เช่น นิ้วก้อยแทนหนึ่ง นิ้วนางแทนสอง นิ้วกลางแทนสาม ศอกแทนแปด ไหล่แทนเก้า ไหปลาร้าแทนสิบ นอกจากนี้ยังมีการวาดรูปสัตว์ต่าง ๆ แทนจำนวนตัวเลขอีกด้วย แต่เมื่อความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการเกี่ยวกับตัวเลขก็มากขึ้นตามไปด้วย

 

แจกแบบฝึกหัด คัดตัวเลข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การนับโดยใช้นิ้วหรือสิ่งของมาแทนก็ไม่เพียงพอ วิธีการแก้ปัญหาในครั้งแรก คือ การใช้ปกเชือก ซึ่งอาจเรียกระบบปมเชือกนี้ว่าเป็นตัวเลขชุดแรกของมนุษย์ก็ได้ คนโบราณบางแห่งใช้ปมเชือกบันทึกจำนวน เช่น พวกอินคาในอเมริกาใต้ เขาใช้ปมชนิดหนึ่งแทนจำนวนหนึ่ง และให้ทุกคนท่องจำปมต่าง ๆ ให้เข้าใจตรงกันว่าเป็นจำนวนอะไร วิธีนี้มีชื่อว่า “กีปู” บางทีพวกเขาจะใช้กีปูในการบันทึกเหตุการณ์บางอย่างด้วยเช่นกัน

ส่วนเลขศูนย์นั้น กล่าวกันว่า เกิดขึ้นในอินเดีย แต่ยังมีความคิดเห็นที่ยังไม่ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องเลขศูนย์นี้ว่าต้นกำเนิดเป็นสัญลักษณ์แทนอะไร บางคนว่าเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ บางคนว่าเป็นสัญลักษณ์แทนภูติผีปีศาจ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรก็ตาม การมีศูนย์นี้สำคัญมากสำหรับการพัฒนาตัวเลขที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ปัจจุบันตัวเลข 1,2,3,… มีต้นกำเนิดในอินเดีย และมาแพร่หลายในยุโรปโดยผ่านชาวอาหรับ จึงมีชื่อเรียกว่า “ตัวเลขฮินดูอารบิก”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แจกแบบฝึกหัด คัดตัวเลข

พัฒนาการตัวเลขกับเด็ก

เลขสำหรับเด็กช่วง 1-2 ปี

คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกที่ ในเด็กวัยแค่ 1-2 ขวบนั้นพวกคุณสามารถกระตุ้นพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของลูกได้โดยการสอนให้ลูกรู้จักตัวเลขและนับเลขจาก 1 ถึง 10 ให้ลูกฟัง เด็ก ๆ ส่วนมากสามารถเรียงลำดับค่าตัวเลขน้อยไปหามากได้ด้วย นอกเหนือจากตัวเลขแล้ว เด็กวัยคลานย่อมสนใจเรื่องรูปร่างสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและจดจำรูปร่างพื้นฐานอย่าง วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยมได้ นอกจากนี้ อย่าหยุดยั้งลูกให้แค่จดจำได้ แต่กระตุ้นให้ลูกได้นับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวด้วย จำไว้ว่าการฝึกซ้อมและทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นกุญแจสำคัญในพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ของเด็กในวัยนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คณิตศาสตร์กับเด็กช่วง 3-4 ปี

ในวัยนี้ เด็กหลาย ๆ คนจะเริ่มลองเขียนแล้ว รวมถึงการเขียนตัวเลขในรูปของแบบฝึกหัดนับเลขตามลำดับและเขียนวันที่ด้วย เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ เด็กก็รับรู้ว่าสามารถใช้ร่างกายของตัวเองช่วยได้ ดั้งนั้นลูกก็จะนับจาก 0 ถึง 10 ได้โดยใช้นิ้วมือด้วยตัวเอง เด็กหลาย ๆ คนก็ก้าวผ่านการนับจาก 0 ถึง 10 เพื่อนับเลขมากกว่านั้น บางคนนับไปได้ถึง 100 ก็มี พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กจะก้าวหน้าไปอีกโดยที่เด็กหลาย ๆ คนสามารถเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนัก และกระทั่งความเร็ว และบอกเวลาจากนาฬิกาได้ด้วย

 

แจกแบบฝึกหัดคัดตัวเลข

 

คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี

วัยนี้เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญ ลูกควรสามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ที่มีผลรวมไม่เกิน 10 เช่น 1+9, 4+6, 8+2 เด็กควรสามารถแยกแยะเลขคู่ เลขคี่ได้และนับเลขคู่คี่ตามลำดับได้ เช่น การนับเลขคู่ก็ต้องนับว่า 2, 4, 6, 8 และเลขคี่ก็จะนับว่า 3, 5, 7 เป็นต้น เด็กบางคนที่ได้ฝึกฝนเพิ่มเติมมากกว่านี้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านก็ควรสามารถท่องสูตรคูณแม่ 1 ถึง แม่ 5 ได้ เด็กในวัยนี้ควรสามารถบอกเวลาจากนาฬิกาได้และนับเงินได้อย่างคล่องแคล่ว

หากลูกมีพัฒนาการตามลำดับ ลูกก็พร้อมที่จะรับมือกับการเรียนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนได้ แต่ถ้าลูกดูเหมือนว่าจะขาดตกบกพร่องอะไรไปจากที่ระบุไว้ในบทความนี้ก็อย่าได้เศร้าใจไป เพราะในบทความนี้ก็เป็นเพียงแนวทางพัฒนาการ และไม่ใช่เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าถ้าเด็กมีพัฒนาการตามนี้ เด็กจะเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือคุณต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้และสนุกสนานไปกับคณิตศาสตร์เมื่อได้เรียนที่โรงเรียน

 

Source : trueplookpanya

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แจกฟรี!! แบบฝึกหัดลีลามือ เสริมพัฒนาการก่อนเข้าเรียน เตรียมพร้อมก่อนอนุบาล 

ใช้ทักษะ Executive Functions (EF) สอนลูกให้ฉลาดด้วยการพา ไปเที่ยว

พ่อแม่ต้องรู้! วิธี เสริมพัฒนาการเด็ก 3 เดือน เด็กวัยนี้ต้องมีพัฒนาการอะไรบ้าง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khattiya Patsanan