เหลือเชื่อ! คุณแม่ขอคลอดลูกแฝดเองด้วยวิธีการผ่าท้องคลอด

อาจฟังดูแปลก ที่คุณแม่ต้องการคลอดลูกเอง โดยวิธีการผ่าท้อง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากที่ตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ก็พบความผิดปกติเกี่ยวกับทารกในครรภ์ ซึ่งวิธีเดียวที่จะสามารถช่วยชีวิตได้ก็คือ คุณหมอจะต้อง ผ่าคลอด เท่านั้น!

เจอรี่ โวลฟ์ คุณแม่วัย 41 ปี มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะคลอดลูกคนที่ 10 และ 11 ซึ่งเป็นลูกแฝดของเธอด้วยวิธีการแบบธรรมชาติ แต่แล้วสิ่งที่เธอคิดก็ต้องจบลง ด้วยการที่คุณหมอตรวจพบความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับทารกแฝดในครรภ์ของเธอ

แต่ เจอรี่ ก็ไม่ยอมแพ้ และมีความตั้งใจที่จะคลอดลูกแฝดของเธอด้วยตัวเองให้ได้ เธอจึงค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าท้องคลอดด้วยวิธีการธรรมชาติขึ้น ซึ่งเธอก็ได้มาปรึกษาคุณหมอว่า คุณหมอจะยังคงสามารถผ่าท้องคลอดให้เธอได้ แต่เธอจะขอเป็นคนคลอดลูกแฝดเอง ด้วยการเป็นคนเอาทารกออกมาเอง

ซึ่งแม้แต่คุณหมอก็ไม่เคยได้ยินวิธีการนี้มาก่อน แต่ก็อนุญาตให้เธอทำเอง โดยที่คุณหมอจะคอยดูอยู่ใกล้ ๆ ทันทีที่คุณหมอ ผ่าท้องของเธอ คุณหมอก็ส่งสัญญาณให้เธอสามารถหยิบทารกออกจากมดลูกเองได้ เจอรี่ ดึงเอาทารกคนแรกขึ้นมาได้สำเร็จ และแน่นอนทารกคนที่สองด้วยเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาทิลด้า และไวโอเลต ทารกแฝดเพศหญิงคลอดออกมามีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี และใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน คุณหมอก็อนุญาตให้ เจอรี่ นำตัวทารกแฝดกลับไปดูแลต่อที่บ้านได้

“ร่างกายของฉัน ลูกของฉัน ฉันย่อมรู้จักมันดี” เจอรี่กล่าว ไม่แปลกหาก เจอรี่ จะรู้เรื่องเกี่ยวกับการคลอดลูกเป็นอย่างดี เพราะเธอผ่านการมีลูกมาแล้วทั้งหมด 9 คน และนี่คือภาพครอบครัวที่แสนจะอบอุ่นของเธอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สามารถอ่านวิธีการดูแลแผลผ่าคลอดไม่ให้นูนแดงได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

เทคนิคการดูแลแผล ผ่าคลอด ไม่ให้นูนแดง

1. หลังผ่าคลอดใหม่ ๆ คุณหมอจะใช้พลาสเตอร์ปิดแผลกันน้ำ เพื่อรั้งไม่ให้แผลตึง เพิ่มความสะดวกและลดความเจ็บปวดบาดแผลเวลาเคลื่อนไหว แม้ว่าคุณหมอเปิดแผลเอาพลาสเตอร์ออกและตัดไหมเรียบร้อยแล้วก็ตาม  หลังจากนั้นให้คุณแม่ซื้อเทปปิดแผลกันน้ำเช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลติดให้ หรือใกล้เคียงกันโดยปรึกษาเภสัชกรให้ช่วยแนะนำได้ค่ะ  นำมาปิดรั้งแผลไว้ตลอดเวลา เพื่อรั้งผิวหนังรอบ ๆ แผลเอาไว้  ป้องกันไม่ให้แผลยืดตัว โดยใช้ตลอดจนกว่าแผลจะหายสนิท (ระยะเวลาในการปิดแผล ประมาณ  3 เดือนควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ด้วยนะคะ ไม่ใช่ติดแผ่นเดียวตลอดทั้ง 3 เดือน)

2. ในช่วง 3 เดือนหลังคลอดนี้สำคัญนะคะ   หากปฏิบัติตนถูกต้องจะช่วยลดการเกิดแผลเป็นนูนแดงหรือคีลอยด์ได้  ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ระมัดระวังในการลุกจากท่านั่งหรือท่านอน  ไม่ควรใช้กล้ามเนื้อท้องหรือทำสิ่งอื่นใดที่ทำให้แผลเกิดการยืดเหยียดมากจนแผลตึงเกินไป จะทำให้กระตุ้นร่างกายให้สร้างเส้นใยคอลลาเจนหนา ๆ ทำให้แผลเป็นนูนแดงขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ไม่ควรออกกำลังกายหนัก ๆ หรือทำงานที่ใช้แรงมาก ๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังตึงโดยไม่รู้ตัว

4. ดูแลรักษา  ทำความสะอาดแผลผ่าคลอดให้ดีที่สุดที่สำคัญแผลต้องแห้งตลอดวัน ไม่ควรอับชื้น เพราะจะทำให้แผลหายช้ามีโอกาสเกิดรอยแผลนูนแดง คีลอยด์เพิ่มมากขึ้น

5. ห้ามแคะ แกะ เกาแผลเด็ดขาดนะคะ

6. ทาครีมที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์อ่อน ๆ ช่วยลดการเกิดแผลเป็นนูนแดงได้  โดยอนุญาตให้ใช้ครีมทาภายนอกเท่านั้น ห้ามทานยาที่มีส่วผสมของสเตอรอยด์เด็ดขาด  เพราะยาจะถูกดูดซึมไปกับกระแสเลือดจนเล็ดลอดไปกับน้ำนมและมีผลกระทบต่อทารกได้

7. อย่างไรก็ตาม หากเริ่มมีแผลคีลอยด์ขึ้นมานิด ๆ(ขึ้นอยู่กับสภาพผิวหนังของแต่ละคนด้วยค่ะ)  ให้ใช้แผ่นซิลิโคนเจลซีปิดตลอด 24 ชั่วโมง อีกอย่างน้อย 1 เดือน แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นต้องอาศัยการฉีดยาสเตอรอยด์ในแผลเป็นนูนแผลจะยุบลงภายใน 1 ปี แต่อาจทำให้เกิดรอยบุ๋ม ซึ่งแผลรอยบุ๋มนี้จะรักษายาก ที่สำคัญยาฉีดสเตอรอยด์จะมีผลต่อน้ำนมแม่  ดังนั้น  คุณหมอมักจะรอให้หยุดการให้นมเสียก่อนจึงจะทำการรักษาได้

คำถามที่คุณแม่ท้องมักจะสงสัยและเป็นกังวลว่า การผ่าคลอด หรือเรียกว่าอีกอย่างว่า ซีซาร์ แตกต่างจากการคลอดปกติอย่างไร คลอดวิธีไหนดี เราได้รวบรวมความรู้มาให้คุณแม่ได้คลายความสงสัย ดังนี้ค่ะ

การคลอดปกติ เป็นการคลอดเองแบบธรรมชาติที่คุณแม่จะเบ่งลูกน้อยออกมาทางช่องคลอด ส่วนการผ่าตัดคลอดซีซาร์จะเป็นการผ่าตัดนำตัวทารกออกทางหน้าท้อง โดยปกติแพทย์จะทำการผ่าคลอดเมื่อเห็นว่าคุณแม่และลูกน้อยอาจมีความเสี่ยงถ้าคลอดเองโดยธรรมชาติ  หรือคุณแม่บางคนเลือกผ่าคลอดแทนการคลอดธรรมชาติเพราะไม่อยากเจ็บปวดมาก สามารถกำหนดวันที่คลอดได้ สะดวกและรวดเร็วมาก ๆ ค่ะ แต่ในกรณีนี้คุณแม่อาจจะต้องปรึกษากับคู่สมรสและทางแพทย์ผู้ดูแลก่อนด้วยนะคะ
การผ่าคลอดมักจะฉีดยาชาแก้ปวดหรือบล็อกหลัง เพื่อให้คุณแม่มีสติอยู่ตลอดเวลาระหว่างทำคลอดโดยไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดขณะผ่าคลอด แต่ในบางกรณีวิสัญญีแพทย์และสูตินรีแพทย์เลือกใช้ยาสลบทั่วไป โดยจะประเมินตามความเสี่ยงเพราะคุณแม่บางรายอาจมีการแพ้ยาบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายระหว่างการทำคลอด ดังนั้นแพทย์จะถือความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ
ในปัจจุบันนี้การผ่าคลอดมีความปลอดภัยสูงมากเพราะความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากการคลอดบุตรก็ต่ำมากค่ะ คุณแม่ไม่ต้องกังวลใด ๆ เลย แต่ก็ยังคงไม่สามารถเทียบความปลอดภัยได้เท่ากับการคลอดธรรมชาตินะคะ เพราะคุณแม่จะเจ็บแผลผ่าคลอดและใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งแม่และเด็ก ซึ่งโดยปกติแพทย์มักจะกำหนดวันล่วงหน้า หรือในบางกรณีอาจไม่ได้วางแผน แต่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างทำคลอดธรรมชาติทำให้ต้องผ่าคลอดฉุกเฉินได้เช่นกันค่ะ

การผ่าคลอด แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1. แบบวางแผนมาก่อน
2. แบบฉุกเฉิน

1. การผ่าคลอด แบบวางแผนมาก่อน

การผ่าคลอดเป็นทางเลือกที่แพทย์แนะนำเมื่อคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดเองไม่ได้ เช่น ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของคุณแม่หรือเด็ก หรือลักษณะอาการผิดปกติของเด็กที่แพทย์ผู้ดูแลพบจากการอัลตร้าซาวด์และการตรวจอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เห็นเหตุจำเป็นที่ต้องกำหนดวันผ่าคลอด โดยปกติการผ่าคลอดจะมีสาเหตุจากหลายข้อ มีดังนี้
• ทารกอยู่ในภาวะวิกฤต ต้องผ่าคลอดออกมาโดยเร็ว
• คุณแม่มีความเสี่ยงสูง เช่น มดลูกบีบตัวรุนแรง หรือมดลูกลอกตัวเร็ว หรือป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอด เช่น เชื้อไวรัส HIV โรคตับอักเสบ หรือโรคเริมที่อวัยวะเพศ
• คุณแม่สุขภาพไม่ดี ไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติ
• ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น เอาส่วนเท้าออกมา หรือนอนขวางหันด้านข้างออกจนเด็กไม่สามารถหมุนตัวกลับเองได้ ทำให้คลอดธรรมชาติไม่ได้
• เป็นท้องแฝด 3 คนขึ้นไป หรือคุณแม่เคยท้องและคลอดแฝดสองมาก่อนก็จำเป็นจะต้องผ่าคลอดเช่นกันค่ะ
• หากคุณแม่เคยผ่าคลอดมาก่อน หรือเคยผ่าตัดมดลูก การคลอดธรรมชาติอาจเกิดอันตรายได้ค่ะ

2. การผ่าคลอดแบบฉุกเฉิน

คุณแม่บางคนต้องผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนกะทันหัน จำเป็นต้องรีบผ่าคลอดออกมาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับอันตราย ข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องผ่าคลอดฉุกเฉิน มีดังนี้
• ทารกมีอาการไม่ดี เกิดความผิดปกติระหว่างคลอดธรรมชาติ แพทย์จำเป็นต้องผ่าคลอดเร่งด่วน
• คุณแม่มีภาวะวิกฤตระหว่างคลอด เช่น ความดันโลหิตสูงมาก อ่อนเพลียมาก มีอาการเกร็งชักหรือความผิดปกติอื่น ๆ ทำให้คลอดเองตามธรรมชาติไม่สำเร็จ
• มีภาวะแทรกซ้อน เช่น สายสะดือย้อย รกพันคอของทารก หรือมดลูกแตก พบได้น้อยแต่อันตรายมากนะคะ กรณีนี้จะต้องผ่าคลอดเร่งด่วน
• ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ทำให้คลอดแบบธรรมชาติได้ยาก เสี่ยงอันตรายทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยเลยค่ะ
• การคลอดใช้ระยะเวลานานเกินไป มีแนวโน้มจะคลอดเองตามธรรมชาติไม่สำเร็จ
• การใช้ยาเร่งคลอดผิดพลาด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะต้องเจออะไรบ้าง เมื่อผ่าคลอด

หลังจากที่คู่รักได้ตัดสินใจและแจ้งคุณหมอว่าต้องการจะทำการผ่าคลอดแล้ว ต่อไปคือขั้นตอนและสิ่งที่จะต้องเจอสำหรับการผ่าคลอด มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
• ก่อนที่คุณแม่จะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง พยาบาลจะต้องเตรียมการคลอดด้วยการทำความสะอาด โกนขนบริเวณหน้าท้องช่วงล่างของคุณแม่จากนั้นเช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เพื่อให้ทำคลอดได้สะดวกและป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียบนผิวที่อาจส่งผ่านไปสู่ลูกในระหว่างทำคลอดค่ะ
• คุณหมอจะให้ยาสลบ (อาจเป็นยาสลบแบบทั่วไปหรือวิธีบล็อกหลัง) และให้น้ำเกลือผ่านเส้นเลือดเพื่อควบคุมร่างกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยและเหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังใส่สายสวนปัสสาวะชั่วคราว โดยปกติจะถอดสายสวนปัสสาวะได้หลังจากนั้นประมาณ 8 ชั่วโมง กรณีที่ต้องผ่าคลอดเร่งด่วน ขั้นตอนเตรียมคลอดนี้จะใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้นค่ะ
• โดยปกติคุณแม่ที่ผ่าคลอดจะต้องนอนเตรียมตัวในห้องผ่าตัดนานนับชั่วโมง ยกเว้นกรณีผ่าคลอดฉุกเฉินต้องทำทันทีเพื่อรักษาชีวิตทั้งคู่ไว้ ส่วนคุณพ่อแพทย์จะอนุญาตให้เข้าไปกับคุณแม่ในห้องผ่าตัดได้นะคะ แต่ในบางโรงพยาบาล แพทย์จะอนุญาติให้เข้าได้หลังจากที่การผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้วเพื่อถ่ายรูปร่วมกับลูกน้อยที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว และเพื่อความสะดวกในการทำงานของแพทย์พยาบาลในห้องผ่าตัดด้วยค่ะ ทั้งนี้คุณพ่อจะต้องเปลี่ยนใส่ชุดเสื้อกาวน์ของโรงพยาบาลและฟอกมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อโรคให้สะอาด
• คุณหมอจะลงมีดผ่าตัดซึ่งในปัจจุบันจะใช้วิธีการผ่าคลอดแบบแนวนอน เรียกว่า การผ่าแบบบิกินี่ คือการผ่าตามแนวนอนผ่านชั้นผิวหนังตามรอยพับของหน้าท้องลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อของมดลูก จากนั้นคุณหมอจะยกเด็กออกมา โดยยกศีรษะก่อน หลายกรณีใช้คีมหนีบช่วยดึงเด็กออกมาด้วย รีบดูดน้ำคร่ำออกจากจมูกและปากของทารก ก่อนจะอุ้มเด็กออกมาจากท้องคุณแม่ บางรายเด็กหันก้นขึ้นด้านบน คุณหมอก็จะดึงก้นออกก่อนค่ะ
• วิธีการผ่าตัดคลอดค่อนข้างเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น พอนำเด็กออกมาแล้ว คุณหมอจะยกรกออกมาด้วย และฉีดสารออกซิโตซินกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว ลดการเสียเลือดพร้อมกับป้องกันการตกเลือดหลังคลอด คุณหมอจะเย็บปิดแผลที่มดลูก ชั้นกล้ามเนื้อ และผิวหนังบริเวณหน้าท้องตามลำดับค่ะ
• สังเกตได้ว่าเด็กที่ผ่าคลอดส่วนใหญ่จะมีศีรษะกลมและเรียบกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ แต่เด็กผ่าคลอดจะไม่ผ่านกระบวนการบีบตัวของมดลูกที่รีดของเหลวออกจากปอด อาจจะมีของเหลวและเมือกต่าง ๆ ตกค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ ต้องดูดออกมาให้เด็กเริ่มหายใจ แต่ไม่มีปัญหาในระยะยาว
• หลังจากผ่าคลอดเรียบร้อยแล้ว  แพทย์ผดุงครรภ์หรือกุมารแพทย์จะพาลูกน้อยไปให้คุณแม่กอดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรืออาจให้คุณพ่ออุ้มลูกจนกว่าคุณแม่จะพร้อมอุ้มลูกได้ รวมถึงการให้ลูกดูดนมคุณแม่เพื่อเป็นการกระตุ้นกระบวนการสร้างน้ำนมของคุณแม่ แม้ว่าน้ำนมจะยังมีน้อยหรือไม่มีก็ตามแต่ร่างกายจะตอบสนองและเร่งผลิตน้ำนมได้อย่างน่าอัศจรรย์เลยค่ะ
• หลังคลอด ยังมีสายท่อเล็ก ๆ ค้างอยู่ในตัวคุณแม่เพื่อระบายของเหลวออกจากแผล โดยปกติคุณหมอจะกระตุ้นให้คุณแม่ลุกขึ้นเดินเปลี่ยนอิริยาบถหลังคลอดภายใน 8-12 ชั่วโมงเพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็วและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
• อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดนานหลายสัปดาห์ อาการเดียวกับการคลอดธรรมชาติ คุณแม่ไม่ต้องตกใจนะคะ อาการนี้เกิดจากมดลูกบีบตัวขับเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างขึ้นปกป้องทารกตลอดการตั้งครรภ์ให้ออกไปจนหมด
• โดยส่วนใหญ่คุณแม่หลังคลอดยังนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-5 วัน ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนและร่างกายแข็งแรงฟื้นตัวดี อาจกลับบ้านได้เร็วกว่าที่คิดค่ะ
• การผ่าคลอดใช้เวลาฟื้นตัวมากกว่าการคลอดธรรมชาติ คุณหมอส่วนใหญ่แนะนำให้กินยาแก้ปวดช่วง 2-3 วันหลังคลอด และให้นมลูกได้อย่างปลอดภัย คุณแม่ไม่ควรยกของหนักหรือขับรถประมาณ 6 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย รอเวลาประมาณ 3 เดือน ร่างกายถึงจะฟื้นคืนสภาพปกตินะคะ

คุณแม่ลูกอ่อนที่ผ่านประสบการณ์การผ่าคลอดอาจต้องดูแลทารกด้วยตัวเองทั้งวันทั้งคืน ต้องอุ้มบ่อยทั้งยังตึงปวดแผล ง่วงนอนและอ่อนเพลีย อย่างไรแล้วควรทำตามกำลังของคุณแม่นะคะ ลองมองหาคนใกล้ชิดมาช่วยดูแลลูกน้อย หาเวลาพักผ่อนให้มากพอ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว แข็งแรง และพร้อมดูแลลูกได้อย่างเต็มที่ค่ะ

ที่มาจาก : huggies.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สูตรน้ำแกงแม่หลังคลอด หลังคลอดกินซุป แกง อะไรได้บ้าง?

ผ่าคลอดแล้วยังปวดหลังไม่หาย ทำอย่างไรให้อาการบรรเทาหายไป

 

 

บทความโดย

Muninth