ลูกออกไปข้างนอก เรียนรู้โลกกว้าง แล้วดียังไง?
GOOD 1: หนูฉลาดสมวัย
โลกข้างนอกบ้านนั้นกว้างใหญ่ พอได้เห็น สัมผัส เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวพวกหนูเอง มันน่าสนใจและสนุกกว่าที่คิด จากที่เคยฟังคุณแม่เคยเล่า หรืออ่านจากหนังสือ พอได้รู้ด้วยตัวเองแบบนี้ดีกว่าเดิมซะอีก
โอ้โห เป็นแบบนี้นี่เอง แล้วนั้นคืออะไร นี่ล่ะไว้ใช้ทำอะไรนะ น่าสงสัยจัง? พอมีคุณแม่คอยบอก คอยสอนอยู่ข้างๆ ก็เยี่ยมสุดๆ ไปเลย!
- ได้สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รอบตัวด้วยตัวเอง
- กลายเป็นเด็กช่างสังเกต ช่างคิด ชอบตั้งคำถามและหาคำตอบ
- กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาสมอง
GOOD 2: หนูอารมณ์แจ่มใส สมองปลอดโปร่ง
ได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วยตัวเอง ทำให้หนูอารมณ์ดีขึ้นเยอะเลย
- ได้สูดอากาศบริสุทธิ์
- ได้พบประสบการณ์ใหม่ๆ น่าตื่นตาตื่นใจ พาอารมณ์ดี
GOOD 3: กล้ามเนื้อของหนูได้ออกกำลัง ร่างกายก็แข็งแรง
ถ้านั่งๆ นอนๆ อยู่ที่บ้าน อ่านหนังสือ ดูการ์ตูนเฉยๆ กล้ามเนื้อของพวกหนูก็ไม่ได้ยืดหยุ่น จากนั้นก็จะอ่อนแอ ไร้กำลัง แถมน่าเบื่ออีกต่างหาก! แต่ถ้าได้ออกไปปีนป่าย โหนบาร์ วิ่งเล่นข้างนอก กล้ามเนื้อของหนูก็จะแข็งแรงขึ้น พอกล้ามเนื้อได้ออกกำลัง ร่างกายก็แข็งแรงมากขึ้น หนูก็จะมีภูมิต้านทานโรค ภูมิแพ้ คัดจมูกน่ะ…อย่ามาแหยม ไม่กลัวหรอกเจ้าฝุ่น!
- กล้ามเนื้อได้รับการยืดหยุ่น ร่างกายแข็งแรง เติบโตสมวัย
- มีภูมิต้านทานโรค
GOOD 4: สังเคราะห์วิตามิน D เพียงพอต่อร่างกาย ฟันผุไม่มีสักซี่ กระดูกแข็งแรง
การที่ร่างกายได้รับแสงอ่อนๆ ยามเช้าในช่วง 7.00-9.00 น. จะทำให้ร่างกายกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามิน D และกระตุ้นการผลิตโปรตีนในสมองที่ชื่อ Period 2 ทำให้ร่างกายลูกน้อย
- ฟันไม่ผุ
- กระดูกแข็งแรง
- หัวใจเผาผลาญพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ได้รับออกซิเจนมากขึ้น
- เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจวายน้อยลง
GOOD 5: หนูมีเพื่อนๆ มากมาย ร่วมสนุกเฮฮา
พอออกไปข้างนอกบ้าน หนูได้เจอคนแปลกหน้ามากมาย ได้รู้จักคนอื่นๆ นอกจากคุณพ่อคุณแม่ และคนในครอบครัวของเรา ข้างนอกนั่นยังมีทั้งคุณตา คุณยาย พี่ชาย พี่สาว น้องๆ เต็มไปหมดเลย ทุกคนเล่นสนุกไปกับหนู บางคนจากที่เป็นคนแปลกหน้า เราก็กลายเป็นเพื่อนที่แสนดีต่อกัน
- เจอสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ผู้คนมากมายแปลกตา
- ได้เพื่อนใหม่ รู้จักการผูกมิตร มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น
พร้อมจะพาเจ้าหนูน้อยออกไปซนแล้ว!…แต่ผิวอ่อนๆ ของเขาพร้อมแล้วหรือยัง? >>
พร้อมจะพาเจ้าหนูน้อยออกไปซนแล้ว!…แต่ผิวอ่อนๆ ของเขาพร้อมแล้วหรือยัง?
เมื่อแสงแดดช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้หลายด้านแบบนี้แล้ว เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงอยากจะพาเจ้าตัวเล็กออกไปเล่นข้างนอกบ้านใช่ไหม? แต่เดี๋ยวก่อน…แม้ยูวีในแสงแดดจะช่วยกระตุ้นการสร้างวิตามิน D แต่ยูวีปริมาณมหาศาลที่เต็มไปด้วยรังสี UVA UVA1 และ UVB ก็ทำร้ายผิวของลูกน้อยให้เสียหายอย่างถาวรได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสี UVA1 ที่สามารถส่องทะลุลึกได้ถึงผิวชั้นที่สอง ซึ่งสามารถทำลายคอลลาเจนและโครงสร้าง DNA ของผิวได้เลยทีเดียว ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังนึกภาพไม่ออกว่าแสงแดดทำร้ายผิวอย่างไร ลองดูวิดีโอที่ถ่ายด้วย UV Camera กล้องที่ถูกคิดค้นโดยศิลปินชาวอังกฤษ-อเมริกัน Thomas Leveritt ที่จะทำให้เห็นว่าแสงแดดอันตรายขนาดไหน
คุณรู้ไหมว่า?
- ผิวเด็กบางกว่าผิวผู้ใหญ่ 5 เท่า และมีกลไกการป้องกันแสงแดดที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่
- ชั้นที่สอง (Dermis) คือผิวชั้นต่อจากหนังกำพร้า เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่สำคัญต่างๆ มีความหนาถึง 90% ของโครงสร้างผิว
วิธีเลือก “เกราะกันผิว” ที่ดีที่สุดสำหรับลูก >>
วิธีเลือก “เกราะกันผิว” ที่ดีที่สุดสำหรับลูก
- เสื้อผ้า
- แขนยาวและขายาวจะช่วยให้ผิวของลูกไม่สัมผัสกันแดดโดยตรง
- เสื้อผ้าสีเข้มจะกันรังสียูวีได้ดีกว่าผ้าสีอ่อน
- สีที่กันรังสียูวีได้ดีที่สุด คือสีกรมท่า
- ยิ่งลายผ้าทอแน่นเท่าไหร่ ก็จะกันรังสียูวีได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
- หมวก
- ศีรษะของเด็กอ่อนที่ยังไม่มีผมขึ้นเต็ม ควรสวมหมวกให้ทุกครั้ง
- เลือกหมวกมีปีกจะช่วยบังแสงให้ใบหน้าและดวงตาได้อีกด้วย
- ครีมกันแดด
- ต้องกันได้ทั้งรังสี UVA, UVA1 และ UVB
- ครีมแดดชนิด Physical จะมีโอกาสการแพ้น้อยกว่ากันแดดแบบ Chemical มาก โดยสังเกตจากส่วนผสมว่ามี Zinc Oxide เป็นส่วนประกอบหรือไม่
- ถ้าจำเป็นต้องใช้แบบ Chemical เลือกกันแดดที่มีส่วนผสมของ Avobenzone หรือ Mexoryl จะปลอดภัยกว่า
- เพื่อความแน่ใจ ลองป้ายครีมกันแดดที่ข้อพับของลูกประมาณ 30 นาที
- อ่านฉลากครีมกันแดดก่อนว่าควรทาก่อนแดดกี่นาที หรือสามารถออกแดดได้ทันที
- อย่าลืมทาครีมกันแดดซ้ำตามเวลาที่ระบุไว้ข้างขวด
คุณรู้ไหมว่า?
ครีมกันแดดแบบ Physical และ Chemical คืออะไร?
- Physical: ใช้หลักการสะท้อนยูวีออกจากผิว มักมีสารสำคัญคือ Zinc Oxide และ Titanium Dioxide ทำหน้าที่ “เคลือบผิว” อยู่ด้านนอก สามารถปกป้องได้ทั้ง UVA และ UVB แต่มักเหนียวเหนอะหนะและขาววอก
- Chemical: ใช้หลักการดูดซับยูวีแล้วจึงสลายออกเป็นความร้อน ผิวหนังต้อง “ซึมซับ” สารกันแดดก่อนถึงจะป้องกันยูวีได้ จึงมีโอกาสแพ้มากกว่า ส่วนมากมักป้องกันได้แต่ UVB ข้อดีคือ เนื้อครีมบางเบา ไม่ทิ้งคราบขาว