เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก
การเล่นของเด็กนั้น เป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเด็ก ซึ่งการจัดการเล่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความสามารถและทักษะของเด็กในแต่ละวัย ก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นครับ ในแต่ละช่วงนั้น เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ไปติดตามกันเลยครับ
อายุ 1 – 3 เดือน
คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้โดยการสัมผัสพูดคุย ซึ่งลูกน้อยจะยิ้ม และตอบสนองต่อเสียงรอบข้าง และอาจจะใช้โมบายสีสดใส ให้ลูกเล่นเพื่อบำรุงสายตา หรือโมบายแบบที่เขย่ามีเสียงดัง หรือมีเสียงเพลง ก็จะสามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้เช่นกันครับ
อายุ 4 – 5 เดือน
ลูกน้อยเริ่มจำหน้าบุคคลใกล้ชิดได้ คอแข็ง พลิกคว่ำได้ พยายามไขว่คว้าสิ่งของที่ต้องการด้วยตัวเอง และชอบจับของเล่นเข้าปาก
อาจจะให้ลูกเล่นของเล่นที่ใช้มือจับ เขย่าแล้วมีเสียง เมื่อลูกเล่นแล้วจะทำให้เด็กอารมณ์ดี หัวเราะเสียงดัง แต่ต้องระวังเรื่องความปลอดภัย ไม่มีความคม และต้องระวังอันตรายจากการที่ลูกอาจจะเอาของเล่นเข้าปากทำให้เกิดอันตรายได้
อายุ 5 – 6 เดือน
ช่วงนี้ลูกจะเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น สนใจสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น อยากรู้อยากเห็น และชอบหยิบจับของรอบตัว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นที่จับแกว่งแล้วมีเสียงดัง หรือกล่องดนตรี หรืออาจจะให้ลูกเล่นกับเงาในกระจกเพื่อช่วยพัฒนาการได้เช่นกัน
อายุ 6 – 7 เดือน
ช่วงเวลานี้ลูกจะเริ่มนั่งพิงได้ และเริ่มเล่นรุนแรงขึ้น คุณอาจให้ลูกเล่นตุ๊กตาล้มลุก ตุ๊กตาไขลาน ที่มีเพลงดังออกมาเป็นจังหวะ เพื่อให้ลูกขยับร่างกายตามจังหวะเพลง
ติดตามการเล่นของลูกต่อหน้าถัดไปครับ
อายุ 7- 8 เดือน
ลูกจะเริ่มซน และเริ่มคลานได้ เด็กบางคนอาจจะเริ่มปีนป่ายขึ้นเก้าอี้ คลานขึ้นบันได ชอบรื้อของเล่นออกจากกล่องแล้วโยนไปทั่ว บางคนชอบใช้มือปัดเมื่อไม่พอใจ เมื่อถูกแย่งของจะโกรธและร้องไห้ และเริ่มมีฟันขึ้น
พ่อแม่อาจจะให้ลูกของเล่นชนิดเดิมที่มีเสียงต่อไป และช่วงนี้ลูกจะเริ่มสนใจสิ่งของภายในบ้านเช่นไม้ขนไก่ โทรศัพท์ หรือของชิ้นใหญ่ๆที่มีอยู่ในบ้าน
อายุ 8 – 9 เดือน
ลูกจะเริ่มคลานได้คล่องขึ้น เริ่มเข้าใจความหมายของคำพูดต่างๆ และเริ่มเปล่งเสียงได้ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เพื่อให้ลูกมีการตอบสนอง หรืออาจหาของเล่นที่เคาะแล้วมีเสียงดังเช่นกลอง ระนาด เพื่อให้ลูกขยับร่างกายตามจังหวะ
อายุ 9 – 10 เดือน
ลูกจะเริ่มเกาะเดินได้ ลูกจะซนมากขึ้นและไม่อยู่นิ่ง สนใจทุกสิ่งที่มองเห็น และเริ่มเลียบแบบท่าทางของผู้ใหญ่ ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพราะลูกอาจจะไม่สนใจของเล่น และเริ่มหันไปเล่นของใช้ภายในบ้าน เช่น ถ้วยชาม กล่องเครื่องสำอาง หรือปลั๊กไฟ ลูกจะชอบเล่นเพราะอยากสำรวจ อยากรู้อยากเห็น จึงต้องคอยระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการของเด็กได้
อายุ 11 – 12 เดือน
ลูกเริ่มก้าวเดินได้ ไต่ขึ้นบันไดได้ พูดป็นคำได้ แต่เด็กบางคนอาจจะยังไม่พูดแต่ฟังรู้เรื่อง มีความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มขึ้น และชอบออกนอกบ้าน
คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกเชิงสำรวจ เล่นรถลาก พาลูกออกไปสนามเด็กเล่น แกว่งชิงช้า เล่นม้าโยก ม้าหมุน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางการเคลื่อนไหวของลูกน้อย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใด คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิดในระหว่างที่ลูกเล่นของเล่น เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ
ที่มา med.cmu.ac.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
10 วิธีรับมือ ลูกชอบกัดหัวนมแม่ตอนให้นม
ภาวะสมองกระเทือนของลูกน้อยอันตรายกว่าที่คิด