เลิกจุกนมได้เมื่อไหร่ เลือกจุกนมแบบไหน ให้ลูกดูด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่าน คงมีความสับสนกับการเลือกจุกนมให้กับลูกรักไม่ใช่น้อย เดิมทีอาจจะเข้าใจว่าความสำคัญน่าจะอยู่ที่ขวดนมเป็นหลัก แต่คุณรู้หรือไม่ว่า จุกนม นี่แหละ ที่จะมาแทนหัวนมของแม่ ๆ อย่างเรา แล้วเราจะมีวิธี เลือกจุกนมยังไง และลูกจะ เลิกจุกนมได้เมื่อไหร่ กันนะ

 

เลือกจุกนม ให้ลูกดูด ต้องสังเกตเรื่องอะไรบ้าง

 

 

ถ้าลูกรักดูดเต้าแม่มาตั้งแต่แรกเกิด ลูกจะจำสัมผัสนั้นได้เป็นอย่างดี เมื่อต้องเปลี่ยนมาดูดจุก ลูกจะรู้ทันทีว่านี่ไม่ใช่เต้าของแม่นี่นา ดังนั้น การเลือกจุกนมให้ลูกต้องเหมาะสมกับช่วงวัย มากกว่าความแพงของผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ใช่ว่าซื้อตามตลาดนัดถูก ๆ ก็ได้นะคะแม่ ๆ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และเลือกแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน

อย่างแรกที่แม่มือใหม่ต้องเข้าใจ คือแม้ว่าจุกนมหรือขวดนมนั้นจะแพงแค่ไหน ลูกก็ไม่สนใจ จึงต้องเลือกตามอายุของลูก โดยไซส์ของจุกนม มีให้เลือกได้ตามวัยของเด็ก เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด ที่ควรเลือกเป็นขนาดเล็ก ไซส์ s หรือ ss ด้วยรูที่เล็ก ทำให้ทารกดูดได้ง่าย ไม่สำลัก เพราะเด็กยังดูดได้ช้า กล้ามเนื้อในช่องปาก ระบบการกลืนยังไม่แข็งแรง ส่วนชนิดของจุกยางมีดังนี้

  • จุกนมยาง ทำจากยางพารา เป็นสีน้ำตาล นิ่ม ๆ อายุการใช้งานอยู่ราวๆ 3 เดือน ทนความร้อนได้เพียง 100 ˚C ห้ามผ่านความร้อนสูงบ่อย ๆ
  • จุกนมซิลิโคน สีขาวใส เป็นที่นิยมเนื่องจากมีความทนทาน ทนความร้อนได้ถึง 120 ˚C อายุการใช้งาน 6 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเลือกขวดนมสำหรับลูก ขวดนมยี่ห้อไหนดี และปลอดภัยต่อลูกน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จำเป็นต้องเปลี่ยนจุกนมบ่อยแค่ไหน

เมื่อลูกโตขึ้นจึงค่อย ๆ เปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ เหมาะสมกับพัฒนาการของร่างกาย รูกว้าง ๆ ทำให้น้ำนมไหลเร็วขึ้น โดยจุกนมมีอายุการใช้งานประมาณ 2 – 3 เดือน เท่านั้น ถ้าสังเกตเห็นว่าจุกนมเสื่อมสภาพก็เปลี่ยนได้เลย

 

แม่จะสังเกตได้อย่างไรว่าต้องเปลี่ยนจุกนม

ปกติแล้วบนผลิตภัณฑ์จะมีอายุที่เหมาะสมแนะนำไว้ แต่นั่นไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง แม่ต้องดูด้วยว่า ลูกอิ่มน้ำนมหรือไม่ ถ้าลูกเริ่มโตเกินกว่าจุกนมไซส์นั้นแล้ว ลูกจะออกแรงดูดนมมากกว่าปกติ หรือร้องไห้ ไม่ยอมดูดต่อ เด็กบางคนถึงกับเบื่อที่จะต้องออกแรงดูด แล้วนอนหลับ แป๊บ ๆ ก็ตื่นมาร้องใหม่เพราะหิว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีทำความสะอาดจุกนม

พ.ญ.สิทธิ์ธีราห์ ชโรเต้อร์ แนะนำว่า ให้ล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ หรือล้างด้วยน้ำร้อนผสมน้ำยาล้างขวดนม ทุกครั้งหลังใช้งาน แต่ถ้าเพิ่งซื้อมาใหม่ ๆ แนะนำให้ต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม และอุปกรณ์ปั๊มนมในครั้งแรก แล้วผึ่งให้แห้งโดยไม่ให้ใช้ผ้าเช็ด

บทความที่เกี่ยวข้อง : จุกนมหลอก จุกนมปลอม เสี่ยงทำให้ลูกพูดช้า ฟันไม่สวย ฟันเก จริงไหม

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลิกจุกนมได้เมื่อไหร่ ?

นอกจากจะต้องคอยเปลี่ยนไซส์ คอยดูแลจุกนมให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แล้ว เราควรจะต้องเรียนรู้ว่า เมื่อไหร่คือเวลาที่เหมาะสม ที่จะให้ลูกน้อยเลิกจากจุกนม หรือเลิกใช้ขวดนมนั่นเอง

โดยทั่วไปแล้ว เราควรให้เด็กเลิกดูดนมจากขวด หรือเลิกใช้จุกนมทุกประเภท เมื่ออายุครบ 1 ปี – 1 ปีครึ่ง นั่นเป็นเพราะ เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น การที่ให้เด็กใช้จุกนม หรือดื่มจากขวดนม จะทำให้เด็กไม่อยากฝึกฝนกล้ามเนื้อของเขานั่นเอง

ดังนั้นช่วงขวบปี การฝึกให้ลูกได้ดื่มนม หรือดื่มน้ำจากแก้ว นอกจากจะเบี่ยงเบนความสนใจให้ออกจากขวดนม และจุกนมนั่นแล้ว ยังให้เขาสามารถฝึกบริหารกล้ามเนื้อเพื่อการหยิบจับนั่นเอง

โดยปกติคุณพ่อคุณแม่ สามารถฝึกลูกน้อยให้ใช้แก้วควบคู่กับขวดนมได้ เมื่อลูกเข้าสู่วัย 4 – 6 เดือน และเมื่อเข้าสู่อายุ 1 ปี เด็กก็จะสามารถละทิ้งจุกนม และขวดนมได้โดยอัตโนมัติ

แต่ถ้ามีการยืดเยื้อในการใช้งานของขวดนมต่อไปเรื่อย ๆ ความคุ้นเคยดังกล่าว ก็จะกลับกลายเป็นความเคยชิน และทำให้เกิดอาการของเด็กติดขวดนมไปโดยปริยายนั่นเอง

 

การแก้ไขเด็กที่ติดขวดนม ติดจุกนม

พ่อแม่ต้องตั้งใจ และใจแข็ง ฝึกให้เด็กดูดนมมื้อดึกโดยค่อย ๆ ลดปริมาณนมมื้อดึกจนเลิกได้ ในตอนกลางวันไม่ควรให้ถือขวดนมไปด้วย ควรให้กินนมกินน้ำจากแก้วจากกล่องได้ เสริมด้วยการเล่านิทานเรื่องเกี่ยวกับการเลิกขวดนม เช่น เรื่อง บ๊าย บายขวดนม หนูอยาก มีฟันสวย ฯลฯ และอย่าลืมชมเชยเด็กด้วยถ้าเขาเริ่มเลิกขวดนมได้บ้าง ถ้าทำทุกวิธีแล้วดูจะเลิกไม่ได้ก็อาจใช้วิธี “ทันที ทันใด” เก็บอุปกรณ์เกี่ยวกับ การกินนมขวดออกจากบ้าน เด็กอาจร้องไห้งอแงสัก 2 – 3 วันก็สามารถเลิกได้

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

10 เคล็ดลับหย่านมลูก ช่วยลูกเลิกติดเต้าอย่างได้ผล

ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด แก้ไขอย่างไร

จุกนมหลอก จุกนมปลอม เสี่ยงทำให้ลูกพูดช้า ฟันไม่สวย ฟันเก จริงไหม

ที่มา : 1

 

บทความโดย

Tulya