วิธีโบราณใช้บอระเพ็ด เลิกให้ลูกดูดเต้า ที่แม่กระแตใช้กับน้องเจ้าขาได้สำเร็จ!

เป็นอีกหนึ่งคุณแม่ดารา สำหรับกระแต ศุภักษร ที่ให้ “น้องเจ้าขา” ลูกสาวสุดที่รักได้กินนมแม่มาตั้งแต่เกิด จนตอนนี้น้องเจ้าขาใกล้จะสองขวบแล้ว ในที่สุดแม่กระแตก็หาวิธี เลิกให้ลูกดูดเต้า ได้สำเร็จ!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นับว่าเป็นช่วงลำบากใจไม่น้อยสำหรับคุณแม่ที่จำเป็นหรือมีความคิด เลิกให้ลูกดูดเต้า ไม่ต่างกับคุณแม่ดาราสาว กระแต ศุภักษร ที่เคยได้ออกมาโพสต์ขอคำแนะนำวิธีหย่านมจากบรรดาคุณแม่ทั้งหลายผ่านทางไอจีเมื่อหลายเดือนก่อน “ปรึกษาค่ะแม่แม่ เลิกให้นมตอนนี้ยากมั้ย มีวิธียังไงกันบ้าง แงแง อิแม่ทำใจไม่ได้”

www.instagram.com/p/BWAQIIDBtgi/?taken-by=iamkratae

ผ่านไปเกือบสามเดือน แม่กระแตหาวิธีงดเต้าน้องเจ้าขาได้แล้ว ด้วยวิธีนี้ได้ แต่ก็เล่นเอาน้องเจ้าขาออกอาการเหมือนกัน “งดเต้าวันแรกเมื่อ 4-5 วันก่อน ตาจะฉ่ำ ๆ หน่อยค่ะง่วงแต่นอนเองไม่เคยเป็น เพราะปกติแล้วจะต้องจุ๊บก่อนนอน บ่าย 3 โมงไม่ยอมนอนทำทุกวิถีทาง ก็ไม่ยอมนอนจนสุดท้ายไปนั่งรถเล่นถึงจะนอนตามระเบียบ 1 ขวบจะ 6 เดือนแล้ว หนูโตแล้วต้องกินนมกล่องดื่มนมกล่อง งดเต้าเป็นเรื่องง่ายที่ลูกต้องปรับตัวแต่เป็นเรื่องยากสำหรับคนเป็นแม่ที่จะทำใจ ตัดใจอยู่นานมากกกกกับบอระเพ็ดซึ่งเอาเข้าจริง ๆ แล้วได้ใช้ครั้งเดียวเจ้าขาก็เข็ดทันที ไม่เอาอีกเลย ไม่งอแงเท่าไหร่ มีบ้างวันละครั้งตอนดึก ๆ แต่ตอนนี้เข้าที่แล้ว เจ้าขานอนยาวแล้วมามี๊ดีใจที่สุด  #เจ้าขาดุ๊กดิ๊ก #jaokajaokha”

www.instagram.com/p/Ba1BmcGBBoQ/?taken-by=iamkratae

ใช้บอระเพ็ด เลิกให้ลูกดูดเต้า

วิธีที่คนสมัยก่อนส่วนใหญ่หรือที่เราได้ยินคุณแม่หลาย ๆ คนแนะนำกันว่า ใช้บอระเพ็ดท่าบริเวณหัวนมนั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้คุณแม่หย่านมได้สำเร็จ เพราะรสขมจากบอระเพ็ดเมื่อลูกดูดเข้าไปจะติดปาก ทำให้เจ้าตัวน้อยเข็ดจนไม่อยากมาดูดเต้าอีก แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้ทาบอระเพ็ดที่เต้านมแม่กับเด็กที่ยังเล็กเกินไป ควรใช้กับลูกที่มีอายุตั้งแต่ 1  ขวบหรืออายุมากกว่านั้นจะดีที่สุด เพราะบอระเพ็ดนั้นขึ้นชื่อว่า “ขม” สุด ๆ อยู่แล้ว แค่กินเข้าไปทีเดียวรสขมก็ติดปากหลายชั่วโมง การต้องการให้ลูกหย่านมด้วยวิธีนี้หรือวิธีใดก็ตาม คุณแม่ต้องใจแข็งไว้นะคะ เพราะว่าลูกบางคนอาจร้องนาน งอแง เหมือนที่แม่กระแตกล่าวไว้

งดเต้าเป็นเรื่องง่ายที่ลูกต้องปรับตัว

แต่เป็นเรื่องยากสำหรับคนเป็นแม่ที่จะทำใจ”

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า วิธีหย่านม เทคนิค หย่านมลูก ง่ายๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การ หย่านมลูก ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะลูกเพียงอย่างเดียว แต่กลับมีผลกลับต่อตัวแม่เช่นเดียวกัน  จะมาแนะนำ วิธีหย่านม วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เทคนิค หย่านมลูก ง่ายๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบมาก ทั้งต่อแม่และลูกน้อย

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า เป็นกระบวนการที่ทำให้ลูกน้อยเปลี่ยนจากการดูดนมแม่ไปดูดนมขวด หรือกินอาหารอย่างอื่นแทน หรือที่เรียกว่าการ หย่านมลูก เมื่อเขาถึงช่วงอายุครบ 6 เดือน ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารแข็งได้มากขึ้นแล้ว ฉะนั้นถ้าคุณกำลังคิดจะให้ลูกน้อย หย่านม อยู่ล่ะก็ คู่มือแม่มีเคล็ดลับ และเทคนิคดีๆ ที่เราจะนำมาบอกกล่าวถึง วิธีหย่านม ที่อาจจะช่วยคุณได้

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า หรือ วิธีหย่านม มีปัจจัยหลายๆ อย่างดังนี้

ปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการ หย่านมลูก คือ คุณแม่การกลับไปทำงาน การใช้ยาบางตัวของคุณแม่ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับลูก ความกดดันทางสังคมหรือครอบครัวรู้สึกว่าลูกของคุณ อายุเกินเกณฑ์ที่จะให้นม หรือตั้งครรภ์อีกครั้ง ซึ่งคุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน แต่ก็ยังคง ปั๊มนม และ เลี้ยงลูก ด้วยนมในบางรูปแบบ โดยคุณสามารถอ่านเคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนม หลังจากกลับไปทำงาน และการให้นมบุตร ขณะคุณแม่ป่วย การให้นมขณะตั้งครรภ์ได้ เป็นต้น

การ หย่านม เป็นการตัดสินใจของตัวคุณเองและลูกของคุณ ซึ่ง วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า นั้นคุณจะต้องทำได้โดยไม่มีแรงกดดันหรืออิทธิพลของผู้อื่น โปรดใช้เวลาสักครู่ เพื่อพิจารณาสิ่งที่คุณรู้สึกว่าดีที่สุด สำหรับคุณและลูกของคุณ เมื่อพูดถึงการ หย่านมลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ลดการให้นมแม่ลงทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไปแล้วทดแทนด้วยนมขวด ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวด หรือแม้แต่อาหารแข็งบางอย่าง คุณควรให้เวลาลูกน้อยและเต้านมของคุณได้ปรับตัว และถ้าลูกน้อยอายุต่ำกว่าหนึ่งปี ควรเสริมด้วยนมแม่ เนื่องจากนมวัวและนมผง มีสารอาหารไม่เพียงพอ สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน เป็น วิธีหย่านม ที่ดีที่สุด

วิธีให้ลูกเลิกดูดเต้า หรือ หย่านม นั้นควรค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ซึ่งลูกจะค่อยๆ รับรู้ได้เองว่า หมดความต้องการที่จะดูดนมแม่แล้ว และลูกจะค่อยๆ ดูดนมแม่น้อยลง และเลิกไปทีละมื้อเมื่อเขาโตขึ้น จนคุณอาจไม่ทันได้สังเกตว่าลูกกินนมแม่มื้อสุดท้ายเมื่อใด เพราะขบวนการนี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ วิธีการนี้ทำให้ลูก หย่านม ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยลดความต้องการไปทีละน้อย ไม่ร้อง ไม่เสียใจจากการที่ต้องเลิกดื่มนมแม่

หย่านมลูก เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งสำหรับคุณและลูก

ช่วงเวลาของการ หย่านมลูก เป็นช่วงเวลาที่สร้างความหงุดหงิดใจ เสียใจ ให้กับลูกไม่น้อย การเปลี่ยนแปลงการจะพรากสิ่ง ๆ นี้ไปจากลูก ย่อมทำให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกไม่ดีแน่ๆ เพียงจำไว้ว่าลูกของคุณอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวเต็มที่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือลูกของคุณที่กำลัง หย่านม คุณอาจรู้สึกเศร้าหรือสูญเสียความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปกับลูกของคุณ คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความคิดถึง และความโล่งใจ ซึ่งอาจทำให้สับสน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายของคุณเองในระหว่างกระบวนการ หย่านม นั้นเป็นความคิดที่จะจุดประกายการตอบสนองทางอารมณ์ของแม่ แม่เองก็จะมีปัญหาเต้านมคัดตึง หรืออาการเต้านมอักเสบได้

แนะ วิธีให้ลูกเลิกเต้า หย่านมลูก โดยที่ไม่ให้ทำร้ายใจลูก มีเทคนิค หย่านม ดังต่อไปนี้

ควรให้ลูก หย่านม เมื่อพร้อม

คุณแม่ ควรวางแผนการ หย่านมลูก เป็นลำดับขั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการ หย่านม ควรทำเมื่อถึงเวลาที่ทั้งแม่และลูกพร้อม ไม่ควร หย่านมลูก เร็วเกิน ปล่อยให้ลูกมีการปรับตัว พยายามอดทน และเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการหงุดหงิด

ให้สังเกตว่าปกติลูกกินนมเวลาไหนบ้าง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเวลาให้นมลูก

วิธีหย่านม ด้วยวิธีนี้เป็นการหันเหความสนใจ ยืดเวลาให้ลูกปรับตัวไม่กินนมในเวลาเดิมๆ คล้ายๆ กับการทำให้มื้อนมห่างเปลี่ยนไปลูกจะได้เรียนรู้การปรับตัวที่จะเลิกนมได้

นั่งหรือยืนบริเวณอื่นในห้อง ในจุดที่ไม่ใช่จุดให้นมประจำ

หากลูกตื่นกลางดึก หากต้องการ หย่านมลูก และหลีกเลี่ยงการขอกินนม ให้ลองนอนแยกเตียง หรือนอนห้องอื่นดู เพื่อไม่ให้ลูกเห็นแม่แล้วอาจจะไม่ร้องกินนม และจะค่อยๆ เลิกนึกถึงเรื่องการกินนมไปเอง

ดังนั้นการ หย่านมลูก วิธีหย่านม ที่ดีที่สุดคือ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ค่อยๆ ให้ลูกได้ปรับตัว และเมื่อถึงช่วงวัยๆ หนึ่ง พัฒนาการเด็ก ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไป เขาจะรู้สึกคุ้นชินกับพฤติกรรมการเลิกกินนมแม่ไปเอง ซึ่งหากเรารีบร้อนจนเกินไป อาจทำให้เขารู้สึกเครียด และเป็นกังวลเมื่อไม่ได้กินนมแม่ได้นั่นเอง


credit :

instagram @iamkratae

www.maeneptune.com

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“นมชมพู่” น้ำนมเหลืองหลังคลอด ของแม่ชมที่ป้อนให้สายฟ้า-พายุ อยากรู้มั้ย มีดียังไง

นมสต๊อกเหลือเยอะ ลูกไม่กินนมสต๊อก คุณแม่ แอน อลิชา เลยจัดการให้น้องริชากินนมแบบนี้

บทความโดย

Napatsakorn .R