เรื่องนี้แม่ต้องรู้ ว่ายน้ำในสระไม่ได้มาตรฐานอาจเสี่ยง ลูกฟันกร่อน

เมื่อพูดถึงเรื่อง "ฟันกร่อน" ของลูกกับ "การว่ายน้ำ" หลายคนอาจจะงงว่ามันเกิดขึ้น และเกี่ยวข้องกันได้ยังไง เราได้คำตอบดีๆจากคุณหมอต๊กตา เพจฟันน้ำนมมาบอกเล่าคุณแม่กันค่ะ เผื่อบ้านไหนเจ้าตัวเล้กชอบว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราจะได้มีทางป้องกันก่อนจะสาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันกร่อนคืออะไร?

ฟันสึกกร่อน (tooth erosion) คือ การสูญเสียเนื้อฟันจากกระบวนการทางเคมีเกิดขึ้นจากกรด ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด หรือเกิดจากฟันสัมผัสกับไอระเหยของกรดในบรรยากาศ หรือเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น กรดในกระเพาะอาหาร หรือกัดกร่อนจากกรดภายนอกที่เข้ามาผ่านการรับประทาน เช่นอาหารที่มีกรดสูง

ทำไมลูกไปว่ายน้ำแล้วถึงฟันกร่อนได้

เรื่องนี้มีคำตอบค่ะ โดยคุณหมอต๊กตา จากเพจ ฟันน้ำนม ได้อธิบายไว้ในเพจ เราขอนำเอาบทความของคุณมอมาบอกต่อแม่ๆกันค่ะ

จากรูปเป็นฟันของเด็กชายอายุ 9 ขวบ น้องเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของโรงเรียน ซ้อมว่ายน้ำทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมงเป็นเวลาเกือบ 2 ปี โดยคุณยายพาน้องมาพบหมอฟันเนื่องจากน้องเสียวฟัน (เห็นฟันน้องแล้วหมอยังเสียวฟันตามไปด้วยเลยค่ะเพราะน้องฟันกร่อนมาก ๆ แทบทุกซี่)

ปัจจุบันพบเด็กฟันกร่อนจากการว่ายน้ำเป็นจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำต้องฝึกซ้อมว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมงทุกวันต่อเนื่องเป็นปี สาเหตุที่ทำให้เด็กฟันกร่อนจากการว่ายน้ำคือคลอรีนในสระว่ายน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานค่ะ ตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครในการจัดตั้งสระว่ายน้ำ พ.ศ. 2530 กำหนดให้ค่ากรดด่างอยู่ในช่วง 7.2 – 8.4 และต้องตรวจวัดทุกวัน เมื่อน้ำมีภาวะความเป็นกรดมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องเติมโซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อปรับสมดุลของน้ำให้เหมาะสม

โดยทั่วไปแล้วเด็กที่ฟันแท้ซี่หน้าเพิ่งขึ้น (วัย 7-8 ขวบ) จะมีความเสี่ยงทำให้ฟันกร่อนจากการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่มีความเป็นกรดมากเกินมาตรฐาน เพราะฟันแท้ที่เพิ่งขึ้นมาในช่องปากจะยังไม่แข็งแรง

ฟันกร่อนจากการว่ายน้ำป้องกันได้

1. เลือกใช้บริการสระว่ายน้ำที่ได้มาตรฐาน มีการควบคุมค่ากรดด่างในน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (สระน้ำเกลือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ)
2. หากต้องฝึกซ้อมว่ายน้ำเป็นประจำ (นักกีฬาว่ายน้ำ) ควรพบทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการทำเฝือกยางครอบฟันตอนว่ายน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสัมผัสกับน้ำมากนัก
3. ปรึกษาทันตแพทย์ในการใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ โดยควรอมน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์หลังว่ายน้ำเสร็จและงดน้ำงดอาหารครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
4. ห้าม!!! แปรงฟัน เคี้ยวอาหารกรอบแข็ง หรือดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรด (เช่นน้ำอัดลม น้ำส้ม) ทันทีหลังจากว่ายน้ำเสร็จ เพราะจะยิ่งขัดถูให้ฟันสึกกร่อนมากขึ้น ควรทิ้งระยะประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังว่ายน้ำ
5. พบหมอฟันเพื่อตรวจฟันเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
6. หากมีอาการเสียวฟันแล้วควรพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษา (ทันตแพทย์อาจเคลือบฟลูออไรด์ ทำเฝือกยางครอบฟันเพื่อช่วยลดอาการเสียวฟัน ลดความรุนแรงของฟันกร่อน ส่วนฟันที่กร่อนไปแล้วนั้นอาจทำวีเนียร์หรือครอบฟันในอนาคตค่ะ)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องสุขภาพฟันของลูกนั้นสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆเลยนะคะ ในเคสที่เรานำมาเสนอจะเป็นเรื่องของฟันกร่อนในเด็กที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้น แต่ถึงแม้จะเป็นภาวะฟันกร่อนในฟันน้ำนมก็สำคัญไม่แพ้ฟันแท้ เพราะภาวะฟันกร่อนนั่นนอกจากจะทำให้สุขภาพช่องปากโดยรวมของลูกเสียไปแล้ว ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย การรับประทานอาหาร และความมั่นใจอีกด้วย

ที่มา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพจฟันน้ำนม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

daawchonlada