เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร
#1 ผู้ประกันตนหญิง เบิกกรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินอะไรบ้าง
สิทธิที่จะได้รับ
- ค่าคลอดบุตรเหมาจาย 13,000 บาทต่อครั้ง
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (คิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)
- สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
#2 ผู้ประกันตนชายสามารถเปิดค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้หรือไม่
ผู้ประกันตนชายสามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร โดยผู้ประกันตนชายจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท
#3 สามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ภรรยาสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่ กรณีที่สามีเป็นผู้ประกันตนและมีภรรยาเพียงคนเดียว
ได้ โดยในการยื่นคำขอให้ใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส
#4 กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ภรรยาใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรไปแล้ว 2 ครั้ง และกำลังจะคลอดบุตรคนที่ 3 จะมีสิทธิเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้อีกหรือไม่
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
- เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้
- คลอดบุตรที่ใดก็ได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
- สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
- สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
หมายเหตุ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกัน ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก
#5 ผู้ประกันตนหญิงตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ต่อมาแท้งบุตรผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดหรือไม่ถือเป็นกรณีคลอดบุตร
ติดตาม เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ต่อหน้าถัดไป>>
#6 กรณีฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้หรือไม่
สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลใดก็ได้ที่สะดวก โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐาน มายื่นเรื่องเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
#7 ในกรณีคลอดบุตร ทางโรงพยาบาลบริการคลอดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ใน กรณีที่ผู้ประกันตนฝากท้องกับหมอคลีนิคแล้วไปคลอดที่โรงพยาบาลโดยการผ่าตัด กรณีอย่างนี้ผู้ประกันตนต้องชำระค่าคลอดบุตรด้วยหรือไม่
ผู้ประกันตนต้องชำระตามจริง สำนักงานประกันสังคมจะเหมาจ่ายให้ผู้ประกันตน จำนวน 13,000 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
#8 กรณีลูกจ้างคลอดบุตรภายใน 6 เดือน หลังจากออกจากงาน จะใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรได้หรือไม่
จะใช้สิทธิได้หรือไม่ จะต้องตรวจสอบการส่งเงินสมทบย้อนหลังไป 15 เดือนก่อนที่ผู้ประกันตนจะออกจากงาน ว่าผู้ประกันตนมีการนำส่งเงินสมทบครบ 5 เดือนหรือไม่ ถ้าครบตามหลักเกณฑ์ก็ใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรได้
#9 ผู้ประกันตนคลอดบุตรต่อมาเสียชีวิต โดยยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรทายาทมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้หรือไม่
ทายาทของผู้ประกันตนมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร เนื่องจากเป็นสิทธิที่มีอยู่ก่อนที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต