เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลฯ กันอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากกระแสของการ “ย้ายประเทศ กันเถอะ” ซึ่งก็มีทั้งคนที่เห็นด้วย และต่อต้านต่างๆ นาๆ จนกลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ จนเกิดการตั้งกลุ่มปิดบน FB ่ที่ว่าด้วยเรื่องของการ ย้ายประเทศ ซึ่งก็มีผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ มาแนะนำ กันอย่างเนืองแน่น
อย่างไรก็ตาม การ ย้ายประเทศ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย เพราะตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา มีคนไทยที่ได้ไปขายแรงงาน และใช้ชีวิตในต่างประเทศจำนวนมาก การตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย เพื่อไปทำงาน เรียนต่อ ใช้ชีวิต หรือมีชีวิตคู่ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องส่วนบุคคล และเราคงไม่สามารถเหนี่ยวรั้งให้ใครอยู่ในประเทศต่อไปได้ หากเขาคนนั้นมีความตั้งใจจะย้ายประเทศจริงๆ
แต่หากเราลองมองให้ลึกลงไปมากกว่าเรื่องของปัจเจก เราจะพบว่ามี “ปัญหาทางสังคม” มากมายที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนตัดสินใจทิ้งบ้านเกิดเมืองนอน ไปเสาะแสวงหา “ชีวิตที่ดีกว่า” ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังเผชิญหน้ากับความบีบคั้นทางสังคมที่รุนแรงในปัจจุบัน
#ย้ายประเทศกันเถอะ จึงเป็นอีกแฮทแท็กร้อนบนโลกโซเชียลในขณะนี้
ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เขียนหนังสือเรื่อง “สงครามเย็น (ใน) ระหว่างโบว์ขาว” ตั้งข้อสังเกตว่า ความต้องการย้ายประเทศของคนรุ่นใหม่กำลังสะท้อน 3 เรื่องด้วยกัน นั่นคือ การออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศเป็นไปได้จริง ความรู้สึกสิ้นหวังและมองไม่เห็นโอกาสว่าประเทศไทยจะปรับตัวได้ต่อโลกที่ยากขึ้น และปัญหาเฉพาะหน้าที่คนรุ่นใหม่ต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
“ปัญหาเศรษฐกิจของโควิด-19 รอบที่ 3 ซึ่งครั้งนี้เป็นการบอกจริง ๆ ว่าความหวังของเศรษฐกิจไทยที่จะโงหัวขึ้น ที่คิดภาพกันไว้ มันเป็นไปไม่ได้ ความหวังที่ว่าหลายอย่างจะดีขึ้น หรือรัฐบาลจะทำได้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด-19 แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในช่วง 1-2 ปีนี้ แล้วยังซ้ำเติมด้วยอีก 2 เรื่อง ก็คือมาตรการแก้ปัญหาโควิด-19 และเรื่องวัคซีน เหล่านี้คือปัจจัยเฉพาะหน้าที่ทำให้เขาตกใจมากว่าไม่มีความหวังแล้ว” ผศ.ดร.กนกรัตน์กล่าว
สอดคล้องกับอาจารย์ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มองว่าปัจจัยหลักที่ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกสิ้นหวังและอยากย้ายออกจากประเทศคือ ระดับเสรีภาพของสังคมไทย ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และวัคซีนโควิด-19
แม้ในแง่หนึ่ง การย้ายประเทศจะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่คงจะดีไม่น้อยหากสังคมไทยจะตระหนักรู้ถึงปัญหารุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า และหาทางรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นก่อนที่จะสายเกินไป
อย่างไรก็ตามจากกระแสดังกล่าว เรามาดูกันดีกว่าว่า มีประเทศไหนบนในโลกใบนี้ ที่น่าย้ายไปอยู่มากที่สุด กับ 8 ประเทศที่น่าย้ายไปอยู่มากที่สุดในโลก
แคนาดา
ประเทศแคนาดา เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 37.6 ล้านคน มี GDP ประมาณ 15.9 ล้านล้านบาท หรือ เฉลี่ย 1.44 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญ คือ อสังหาริมทรัพย์, ภาคการผลิต, เหมืองแร่โดยเฉพาะเหล็ก, การเงิน และประกัน และภาคก่อสร้าง
ข้อมูลสำคัญ ที่ต้องรู้หากจะย้ายไปอยู่ที่แคนาดา
- ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 45,458 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 5.6 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 84,778 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.4 เท่า)
- มีค่าครองชีพ 56,885 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 2.2 เท่า)
- ส่วนการจ่ายภาษี แคนาดามีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาของเท่ากับ 19 – 44.5% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 5 – 15%
ญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น เป็นประทศที่มีประชากรประมาณ 126 ล้านคน มี GDP ประมาณ 158.5 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 1.25 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญ คือ ภาคการผลิต, ค้าปลีกค้าส่ง, อสังหาริมทรัพย์, การวิจัยและที่ปรึกษา, สาธารณสุข และก่อสร้าง
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่ญี่ปุ่น
- ค่าแรงขั้นต่ำ 39,187 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.8 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 85,608 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.4 เท่า)
- มีค่าครองชีพ 51,005 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 2 เท่า)
- สำหรับการจ่ายภาษี ญี่ปุ่นมีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเท่ากับ 15.1 – 55.9% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 8 – 10%
เยอรมนี
ประเทศเยอรมนี เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 86.1 ล้านคน มี GDP ประมาณ 120.4 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 1.45 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญ คือ ภาคการผลิต, ภาคพลังงาน, ภาคก่อสร้าง, ภาคการค้า และการขนส่ง1.45
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่เยอรมนี
- ค่าแรงขั้นต่ำ 54,382 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 6.7 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 91306.14 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.7 เท่า)
- ค่าครองชีพ 49,448 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 1.9 เท่า)
- สำหรับการจ่ายภาษี เยอรมันมีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเท่ากับ 14 – 47.2% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 19%
สวิตเซอร์แลนด์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 8.57 ล้านคน มี GDP ประมาณ 21.9 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 2.5 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญคือค้าปลีกค้าส่ง, ภาคราชการ, อสังหาริมทรัพย์, สาธารณสุข, ภาคการผลิต, การเงินและประกัน, ภาคก่อสร้าง
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์
- ค่าแรงขั้นต่ำ 136,493 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 16.7 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 197,633 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 10.2 เท่า)
- ค่าครองชีพ 89,471 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 3.4 เท่า)
- ส่วนการจ่ายภาษี สวิตเซอร์แลนด์มีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเท่ากับ 0 – 48.7% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 7.7%
ออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 25.4 ล้านคน มี GDP ประมาณ 43.7 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 1.72 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญคือเหมืองแร่, การเงิน และประกัน, ภาคก่อสร้าง, สาธารณสุข, การวิจัย และที่ปรึกษา, ภาคการผลิต, ภาคการศึกษา และฝึกอบรม, ภาคขนส่ง และการค้าปลีกค้าส่ง
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่ออสเตรเลีย
- ค่าแรงขั้นต่ำ 69,638 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 8.5 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 116,017 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 6 เท่า)
- ค่าครองชีพ 62,263 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 2.4 เท่า)
- สำหรับการจ่ายภาษี ออสเตรเลียมีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเท่ากับ 0 – 45% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 10%
สหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 328 ล้านคน มี GDP ประมาณ 667.7 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 2.03 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญ คือ ภาคกรผลิต, อสังหาริมทรัพย์, การวิจัยและที่ปรึกษา, ภาคราชการ, การเงินและประกัน, สาธารณสุข, ค้าปลีกค้าส่ง, ภาคการศึกษาและฝึกอบรม
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่ออสเตรเลีย
- ค่าแรงขั้นต่ำ 39,218 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.8 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 110,619.13 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 5.7 เท่า)
- มีค่าครองชีพ 62,895 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 2.4 เท่า)
- สำหรับการจ่ายภาษี สหรัฐอเมริกมีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเท่ากับ 10 – 51.6% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 11.7%
นิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีประชากรประมาณ 4.92 ล้านคน มี GDP ประมาณ 6.5 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 1.31 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญคือ การวิจัย และที่ปรึกษา, อสังหาริมทรัพย์, ภาคก่อสร้าง, สาธารณสุข, การเงิน และประกัน, ค้าปลีกค้าส่ง และภาคขนส่ง
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่นิวซีแลนด์
- ค่าแรงขั้นต่ำ 63,055 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 7.7 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 90,204 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.7 เท่า)
- ค่าครองชีพ 57,521 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 2.2 เท่า)
- สำหรับการจ่ายภาษีมี นิวซีแลนด์อัตราภาษีบุคคลธรรมดา 10.5 – 33% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 15%
อังกฤษ
ประเทศอังกฤษ เป็นประทศที่มีประชากรประมาณ 66.8 ล้านคน มี GDP ประมาณ 88.3 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ย 1.32 ล้านบาทต่อคน มีอุตสาหกรรมสำคัญคือภาคราชการ, สาธารณสุข, การศึกษา, ภาคขนส่ง, โรงแรมและร้านอาหาร, ภาคการผลิต,อสังหาริมทรัพย์
ข้อมูลสำคัญที่เราต้องรู้ถ้าจะไปอยู่ที่อังกฤษ
- ค่าแรงขั้นต่ำ 54,163 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 6.6 เท่า)
- ค่าแรงเฉลี่ย 84,395 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทย 4.4 เท่า)
- ค่าครองชีพ 54,781 บาทต่อเดือน (มากกว่าไทยเพียง 2.1 เท่า)
- สำหรับการจ่ายภาษี อังกฤษมีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาเท่ากับ 0 – 47% และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่ที่ 20%
ที่มา : (sanook) (moneybuffalo)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ย้ายประเทศกันไหม ! สิทธิแม่และเด็กในต่างแดน มีอะไรบ้าง ประเทศไหนน่าสนใจ
ชวนสาวๆ ย้ายประเทศ!!! สาวอิตาลีอาจมีเฮ ได้หยุดเดือนละ 3 เพราะปวดท้อง ปจด.
7 ประเทศน่าอยู่ ย้ายไปประเทศไหนดี และมีข้อดีต่างกันอย่างไร